วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 9.00 น. ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก นพ. โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ. สุพรรณ ศรีธรรมมาอธิบดีกรมการแพทย์ นพ. ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2 เปิดการรณรงค์คัดกรองไปและมอบสื่อประชาสัมพันธ์ต้นแบบ 5 ข้อปฏิบัติชะลอไตเสื่อมให้กับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 2 ณ.ห้องพลับพลึง โรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล กล่าวว่าคนไทยเกิดภาวะแทรกซ้อนไตเรื้อรังประมาณ 7.6 ล้านคนซึ่งมีสาเหตุจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจำนวนนี้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายกว่า 70,000 คนต้องฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้องสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยรัฐบาลรับผิดชอบค่ารักษาปีกว่า 10 ล้านบาทกระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นความสำคัญมีนโยบายให้โรงพยาบาลทุกแห่งจัดตั้งคลินิกไตเสื่อมดูแลผู้ป่วยตายแบบครบวงจรตั้งทีมสหวิชาชีพ ช่วยยืดเวลาการเสื่อมของปลายด้วยการคัดกรองประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไปเพื่อค้นหาผู้ป่วยและผู้ที่มีความเสี่ยงของการพบเร็ว รักษาเร็วจะลดการป่วยและเสียชีวิตเพราะมี 5 ข้อปฏิบัติชะลอไตเสื่อมคือ 1 .เดิมน้ำมากๆ 2 .หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวดเป็นเวลานาน 3. งดเหล้าบุหรี่ 4.หลีกเลี่ยงรสเค็มและ 5. หลีกเลี่ยงยาและอาหารเสริมที่ไม่มีทะเบียน
สำหรับเขตสุขภาพที่ 2 ประกอบด้วย 5 จังหวัดได้แก่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัยและอุตรดิตถ์มีกลุ่มเป้าหมายอายุ 40 ปีขึ้นไปกว่า 1 ล้านคนคาดว่าจะตรวจคัดกรองครบ 100 % ภายในเดือนพฤษภาคมนี้หากพบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงจะตรวจเลือดและโปรตีนในปัสสาวะเพื่อให้ทราบระยะของการป่วยและเตรียมบุคลากรในการดูแลรักษาทันทีเป็นการรักษาทุกจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้นส่งผลดีต่อผู้ป่วยโดยผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในระยะที่ 1-2 จะเน้นดูแลใกล้บ้าน
ด้วยทีมหมอครอบครัวจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหากเป็นระยะที่ 3 ขึ้นไปจะเข้าการรักษาโดยคลินิคชะลอไตเสื่อมที่โรงพยาบาลชุมชนเขตสุขภาพที่ 2 มีคลินิกชะลอไตเสื่อมควบคุมเต็มพื้นที่แล้วทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการไม่ต้องเดินทางไปรักษาโรงพยาบาลในเมือง
…………………………………………………………………………………………………………………………
รายงานโดย…..น.ส.นิโลบล คำชนแดน นิสิตชั้นปี 4 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร / นศ.ฝึกงานพิษณุโลกฮอตนิวส์