วันที่ 14 ม.ค.2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสถานการณ์ภัยแล้งยังคุกคามต่อเนื่อง เนื่องจากน้ำในหลายพื้นที่ไม่มีทำนา ต้องว่างเว้นทำนาในช่วงนี้ ทำให้ชาวนาในหลายพื้นที่ต้องพลิกวิกฤติตัวเองหันไปปลูกพืชชนิดอื่น แทน นางพัชรกมล เหลืองทอง อายุ 45 ปี เกษตรกรบ้านทุ่งใหญ่ ต.นิคมพัฒนา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ที่เคยทำนากว่า 30 ไร่ แต่เนื่องภาวะภัยแล้ง จึงหันไปทำปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง หมุนเวียนสลับกันไป จนกลายเป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงต้นแบบบ้านทุ่งใหญ่ มีสมาชิกมาเรียนรู้ไม่ต่ำกว่า 30 ราย แล้ว
นางพัชรกมล กล่าวว่า ในพื้นที่ อ.บางระกำ ทุกๆปี ประสบปัญหาภัยแล้งเป็นอย่างมาก ทำให้ตนทดลองค้นในอินเตอร์เน็ต ว่าจะปลูกพืชชนิดใดใช้น้ำน้อย และขายมีรายได้ดี จึงได้ทดลองปลูกพืชผักหลายชนิด ไม่ว่า มะม่วง ขนุน สตอเบอรี่พันธุ์ 80 มะเดื่อฝรั่ง เมล่อน โดยเฉพาะเมล่อน ที่เป็นพืชใช้น้ำน้อยและได้ผลผลิตดีในช่วงสภาพอากาศร้อน จึงได้ทำการทดลองปลูกมาตั้งแต่รัฐบาลสั่งหยุดการปล่อยน้ำ โดยได้ทดลองลูกเพียง 80 ต้นก่อน จนถึงขณะนี้ผลเมล่อนใหญ่ สามารถขายได้แล้ว จึงได้ประกาศขายทางเฟชบุ๊คดู เพียงวันเดียวเท่านั้น มีผู้สั่งจองหมด ทั้ง 80ต้น 80 ผล แล้ว ซึ่งถือว่าประสบผลสำเร็จในช่วงนี้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ในพื้นที่ก็มีมะเดื่อฝรั่ง ที่ขณะนี้กำลังออกผลผลิต คาดว่าอีกภายในอีก 1 เดือน ก็จะออกผลใหญ่ขายได้ สลับกับเมล่อน อีกด้วย ซึ่งถือว่าจะสร้างรายได้ให้ตนและครอบครัวตลอดฤดูกาลทีเดียว
จากการปลูกพืชหมุนเวียน ในช่วงแล้งไม่มีน้ำทำนา ทำให้เพื่อนบ้าน จำนวนกว่า 30 คน ให้ความสนใจจะพลิกผืนนาปลูกเมล่อน จำนวนกว่า 100 ไร่ เพื่อหารายได้เพิ่มที่ว่างเว้นจากการทำนา ซึ่งหากผู้ใดสนใจต้องการไปศึกษาการปลูกพืชผักหมุนเวียน ที่ศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงต้นแบบบ้านทุ่งใหญ่ แห่งนี้ก็สามารถติดต่อสอบถามได้ที่086-1719801
//////////////