มน.เจ๋งแยกเพศต้นอินทผลัมจากการตรวจDNAเป็นแห่งแรกของไทย

DSC_4439คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ประสบผลสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการจำแนกเพศอินทผลัมไทย พันธุ์แม่โจ้ 36 ผ่านขั้นตอนตรวจสอบดีเอ็นเอ ส่งผลให้เกษตรกรลดเวลา และลดต้นทุนในการผลิต เลือกปลูกต้นเพศเมียได้มากกว่าต้นเพศผู้ จากเดิมที่ต้องสุ่มเสี่ยงปลูกไปก่อน3 ปีจึงจะรู้เพศIMG_4775

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พีระศักดิ์ ฉายประสาท ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า ปัจจุบันอินทผลัม (Date palm) กำลังเป็นที่นิยมของท้องตลาด เนื่องจากผลมีรสชาติที่ รสหอมหวานฉ่ำ รับประทานได้ทั้งผลสดและอบแห้ง ผลสุกมักนิยมนำไปตากแห้ง สามารถเก็บไว้ทานได้หลายปี โดยอินทผลัมมีการแบ่งเพศคล้ายกับมนุษย์ คือ เพศผู้และเพศเมีย เพศเมียทำหน้าที่ผลิตลูก (ผล) แต่เพศผู้ให้ละอองเกสรเพียงอย่างเดียวไม่สามารถติดลูกได้ ต้องใช้เวลานาน 3-5 ปี กว่าจะทราบเพศ ทำให้เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแล การจัดการ ค่าสารเคมี และค่าจ้างแรงงานIMG_4814

sample 1-14ส่งผลให้ทางคณะวิจัย ได้ศึกษาค้นคว้า เพื่อแยกเพศของอินทผลัม ขึ้น เพื่อให้ลดต้นทุน และเวลาการผลิต ของเกษตรกรได้ โดยได้งบประมาณจากโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม(พวอ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) จากการศึกษาค้นคว้า มานานกว่า 3 ปี ก็สามารถแยกเพศ ของอินทผลัม เป็นประสบผลสำเร็จ โดยผ่านขั้นตอนตรวจสอบดีเอ็นเอ ซึ่งในการเก็บตัวอย่าง นั้นทางคณะวิจัย จะนำใบของอินทผลัม สามารถทดสอบและดีเอ็นเอด้วยการบด แล้วนำไปทดสอบในห้องแลป ผ่านกระบวนการทางวิจัย และเครื่องมือตรวจสอบดีเอ็นเอ เหมือนมนุษย์ ก็สามารถแยกเพศได้เป็นผลสำเร็จ คือเพศผู้ปรากฏแถบดีเอ็นเอ 2 แถบ เพศเมียปรากฏแถบดีเอ็นเอ 1 แถบ นอกจากนี้ยังสามารถระบุ DNA ที่ได้มาตรฐาน อีกด้วยIMG_4991

IMG_5012

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พีระศักดิ์ ฉายประสาท ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวอีกว่า จากการวิจัยและค้นคว้าแยกดีเอ็นเอ ทำให้รู้ว่าต้นอินทผลัม เป็นเพศผู้เพศเมียเป็นผลสำเร็จ ถือว่าเป็นผลดีของเกษตรกร ในการลดต้นทุน ลดเวลาในการเพาะปลูก เนื่องจากปัจจุบันเกษตรกรต้องปลูกต้นกล้าอินทผลัมแบบไม่รู้ว่าต้นใดเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย ก็สุ่มปลูกในแปลงก่อน จากนั้นรอเวลาถึง 3- 5 ปี ถึงจะรู้ว่าต้นใดเป็นต้นเพศเมียที่ออกผล และต้นใดเป็นตัวผู้ที่ไว้สำหรับผสมเกสร ซึ่งในแปลงกล้าอินทผลัม นั้นหากจะให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ ควรมีต้นตัวเมียจำนวน 10 ต้น ตัวผู้ 1 ต้นเท่านั้น ส่วนราคาในขณะนี้หากเป็นต้นกล้า ก็จะอยู่ที่ราคา 500-800 บาท ส่วนผลอินทผลัม ราคากิโลกรัมละ 400 บาททีเดียว ปัจจุบันอินทผลัม กำลังเป็นที่นิยมของท้องตลาด นำไปแปรรูปต่างๆมากกมาย เนื่องจากมีเนื้อหอม หวาน อร่อย และกำลังพืชเศรษฐกิจ ที่กำลังนิยมปลูกกันทั่วประเทศ ทำให้ทางคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ยังได้คิดค้นในเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อของอินทผลัม เพื่อขยายต้นกล้าให้เกษตรกร นำไปปลูกเป็นอาชีพทีดีอีกทางหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตามหากเกษตรกรท่านใดสนใจหรือต้องการสอบถาม ก็สามารถสอบถามมาที่คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประจำทุกวันเวลาราชการIMG_5010

IMG_4801

DSC_4444 /////////

 

แสดงความคิดเห็น