มน.เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสตอเบอรี่พันธุ์ 80 ไร้ไวรัสสำเร็จแห่งแรก

 

hd

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พีระศักดิ์ ฉายประสาท ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า หลังจากได้ทำการวิจัยสตอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80 ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มานานกว่า 2 ปี  เพื่อทำการคัดเลือกต้นพันธุ์สตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80 ให้มีมาตรฐานและ ปราศจากไวรัส สามารถนำมาปลูกในพื้นที่ราบ ขยายผลผลิตที่มีคุณภาพ ของเกษตรกรได้เป็นผลสำเร็จ

605558

gggg

605560

โดยทางคณะวิจัย ได้นำต้นพันธุ์ที่มีลักษณะลำต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ให้ผลผลิตปริมาณมาก และ ปราศจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง จากนั้นทำการตัดบริเวณปลายยอดของไหลขนาด 2-3 เซนติเมตร พร้อมกับตัดแต่งใบขนาดเล็กบริเวณปลายยอดออก แล้วนำมาล้างด้วยน้ำประปาแบบไหลผ่านเป็นเวลา 45 นาที จากนั้นนำปลายยอดไปจุ่มลงในสารละลายฆ่าเชื้อโซเดียมไฮโปคลอไรท์  ที่ความเข้มข้น 2% เป็นเวลา 10 นาที แล้วนำไปล้างด้วยน้ำกลั่นทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งละ 5 นาที ซึ่งทำภายในตู้ปลอดเชื้อ จากนั้นทำการตัดแต่งปลายยอดอีกครั้ง พร้อมกับตัดส่วนเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ  จากนั้นนำชิ้นส่วนปลายยอดขนาด 0.2 cm ที่ได้จาการตัดภายใต้กล้องจุลทรรศน์ วางลงบนสูตรอาหาร ประกอบไปด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโต เช่น  ไซโตไคนินและ ออกซิน   น้ำตาลปริมาณ และ ผงวุ้น จากนั้นทำการปรับสูตรอาหาร แล้วนำไปผ่านการฆ่าเชื้อด้วย  จากนั้นนำพืชไปเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 25-27 องศาเซลเซียส  จากนั้นนำต้นพันธุ์ที่ได้มาทำการปรับสภาพภายในโรงเรือน

gs


ggggg

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พีระศักดิ์ ฉายประสาท ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวอีกว่า ผลการทดลองพบว่าสตรอเบอรี่สามารถมีอัตราการอยู่รอดสูงที่สุด และสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหญ่ และให้ผลผลิตที่สูงต่อไป ถือว่าเป็นพืชผลไม้ที่กำลังเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ มักมีประชาชนโดยเฉพาะบนพื้นที่สูงนำไปปลูก ส่งขายสร้างรายได้ถึงกิโลกรัมละ 400-500 บาท  โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว กำลังออกผลผลิตกันหลายพื้นที่ ซึ่งหลังจากการวิจัยครั้งนี้ต้นที่ผ่านการวิจัย ถือว่าเป็นต้นที่ทนต่อโรค ให้ผลผลิตที่ดี สามารถนำมาปลูกพื้นที่ราบได้ นอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถนำไปปลูกในแปลงไฮโดรโปนิกส์ ได้อีกด้วย ถือว่าเป็นการพัฒนาสายพันธุ์สตอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80 ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แบบไร้ไวรัส เป็นผลสำเร็จเรียกว่าที่เดียวของประเทศไทย ซึ่งเกษตรกรสนใจสามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประจำทุกวัน เวลาราชการ

//////////

แสดงความคิดเห็น