นร.เรียนการแทงหยวกแบบโบราณจากปราชญ์ชาวบ้านนครไทย

received_1081506651881791 สืบสานงานศิลปะพื้นบ้าน เรียนการแทงหยวกแบบโบราณ
ปราชญ์ชาวบ้านนครไทย สอนนักเรียนแทงหยวกประดับแลแห่นาค หวั่นศิลปะประเพณีอันดีงามของไทยสูญหาย received_1081506585215131
ที่โรงเรียนนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก คุณสิทธิศักดิ์ วิเชียรสรรค์ หรือน้าเดียร์ ได้มาความรู้แก่เด็กนักเรียนของโรงเรียนนครไทย ในการสอนการแทงหยวกประดับแลแห่นาค ที่การสลักหยวกหรือการแทงหยวก เป็นงานฝีมือช่างประเภทหนึ่ง ที่จัดอยู่ในงานช่างสิบหมู่ประเภทช่างสลักของอ่อน ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่อดีต โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายก็คือ ต้นกล้วย นำมาสร้างเป็นงานฝีมือ ซึ่งมักใช้กันในงานตกแต่งประดับประดา งานบวช งานกฐิน เมรุเผาศพ และงานตกแต่งอื่น ๆ โดยสืบทอดกันมาหลายร้อยปีแล้ว และผู้ที่สืบทอดงานศิลปการแทงหยวกกล้วยที่ปัจจุบันนี้หาชมได้ยากแล้ว ก็คือ คุณสิทธิศักดิ์ วิเชียรสรรค์ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สืบทอดฝีมือและเอกลัษณ์งานแทงหยวกกล้วย มาตั้งแต่ปี 2517 และเป็นวิทยากรสอนการแทงหยวกกล้วยให้แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ อีกมาก ที่เด็ก ๆ นักเรียนเรียกว่า น้าเดียร์ ปราชญ์ชาวบ้าน received_1081506685215121
นายสิทธิศักดิ์ วิเชียรสรรค์ หรือ น้าเดียร์ บอกว่า “การแทงหยวกประกอบแลแห่นาคของชาวนครไทย ตนเองได้เริ่มทำมาตั้งแต่ รุ่นอายุ 16 ปี มาเริ่มทำจริง ๆ ตั้งแต่ปี 2517 อยากให้การสืบสานงานแทงหยวกประดับแลแห่นาค ที่เป็นประเพณีหนึ่งเดียวในประเทศหรือในโลกนี้ก็ว่าได้ ตนเองยินดีที่สอนให้เด็ก ๆ ได้ทำเป็นและยังทำรายได้ให้แก่ตัวเองด้วย อยากฝากให้คนรุ่นหลังได้สืบสานอนุรักษ์ และยินดีที่ถ่ายทอดให้เด็กรุ่นหลัง เพราะไม่อยากให้ศิลปะอันดีงามของไทยสูญหายไป”received_1081506621881794
ด้าน นายณัฐวุฒิ นิลผาย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เป็นหนึ่งในนักเรียนที่ได้เรียนรู้วิชาการแทงหยวกจากน้าเดียร์ จนสามารถทำได้อย่างคล่องและสวยงาม บอกว่า “ ผมเป็นเด็กนครไทยคนหนึ่งที่มีความสนใจในการแทงหยวก ประเพณีนี้มีมายาวนาน ปัจจุบันไม่ค่อยมีให้เห็น อยากให้คนรุ่นใหม่ได้ช่วยกันสืบสาน หันกลับมาอนุรักษ์ ประเพณีของเราครับ ”
น้าเดียร์ สอนตั้งแต่การเลือกหยวกกล้วยที่เหมาะสม คือ กล้วยตานี เพราะมีความเหนียว เนื้อหยวกละเอียด และมีสีขาวนวลสวยงาน ส่วนกล้วยน้ำว้า หรือ กล้วยไข่ หยวกค่อนข้างหนาและแข็ง ไม่นิยมนำมาใช้  เมื่อจัดหาหยวกกล้วยตานี และมีดสำหรับแทงหยวกครบถ้วนแล้ว  ก่อนที่ลงมือแทงหยวก ช่างอาวุโสในกลุ่มช่างที่มาช่วยงาน ทำพิธีไหว้ครู หรือ ยกครู ชาวอำเภอนครไทย เรียกพิธีกรรมนี้ว่า “การเข้าคาย” มีอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ คือ พานบายศรี ขันนำมนต์ เทียนไขด้ายแดง ด้ายขาว ยาสูบ และเงินจำนวนหนึ่งตามแต่ช่างเป็นผู้กำหนด ช่างจะทำพิธีกรรมกล่าวบทสวดมนต์คาถาที่จดจำมาจากพรรพบุรุษ โดยเชื่อว่า มนต์คาถานี้ ช่วยให้การแทงหยวกครั้งนี้ประสบความสำเร็จ ได้ลวดลายที่สวยงามตามต้องการ received_1081506681881788
นางสุภาพรรณ วงศ์สมบัติ ครูชำนาญการพิเศษ ครูที่ปรึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า “การแทงหยวกกล้วย หรือการแกะสลักหยวกกล้วย เป็นภูมิปัญญา ศิลปะพื้นบ้านของชาวนครไทย ในอดีตการแทงหยวกสำหรับตกแต่งแลแห่นาค นิยมทำลวดลาย ช่างแทงหยวกจะสร้างสรรค์ให้มีลายของตัวเอง”
ในปัจจุบัน การแทงหยวกไม่มีการกำหนดลาย ลวดลายที่ทำ แล้วแต่ช่างเป็นผู้คิดประดิษฐ์ขึ้นตามจินตนาการของตนเอง นอกจากนี้ ยังมีการตกแต่งและประดับด้วยผ้าขาวม้า  (เรียกว่า ผ้าไบ๋) มีดอกไม้ประดิษฐ์ที่ทำเป็นอุบะมาลัย หลังคาจะคาดด้วยผ้าสีต่างๆ เช่น หอก มีด ดาบ ง้าว โดยให้หอกโผล่ออกมาข้างๆ ลักษณะเหมือนที่นั่งบนหลังช้างศึก อาวุธเหล่านี้ถือว่าเป็นเคล็ดสำหรับป้องกันไม่ให้มารมาทำลายพิธีบวช
ปัจจุบัน น้าเดียร์ ถ่ายทอดศิลปะการแทงหยวกให้กับลูกหลานหรือชาวบ้านที่สนใจ ซึ่งต้องมีการครอบครูก่อนจึงฝึกสอนกันได้ โดยในช่วงแรกเป็นการช่วยครูทำสิ่งที่ง่ายๆ ก่อน ต่อมาเมื่อมีความชำนาญหรือมีลักษณะเพิ่มมากขึ้น จึงสามารถรับงานทั่วไปได้ เช่น นายณัฐวุฒิ นิลผาย และนายสุรเชษฐ์ อิ่มชม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เนื่องจากเป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของศิลปะด้านนี้ จึงเปิดโอกาศให้ได้ฝึกปฏิบัติจนสามารถรับงานได้ นับเป็นการจัดการสอนที่ให้เด็กนักเรียนได้ใช้เวลาในช่วงหลังเวลา 14.00 น. สนองนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนต่อไป

แสดงความคิดเห็น