”หลามไก่”ชาวบ้านต.นครชุมอนุรักษ์การใช้ไม้ไผ่ทำอาหาร

IMG_1827ชาวบ้าน ต.นครชุม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ยังคงอนุรักษ์การใช้ไม้ไผ่ในการดำรงชีวิตแบบท้องถิ่น โดยชาวบ้านจะไผตัดไม้ไผ่ที่มีอยู่จำนวนมากในพื้นที่นำมาใช้เป็นอาหารคาว อาทิ หลามไก่ และอาหารหวาน นำเป็นจุดเด่นที่หาดูได้ยากและใช้ได้จริงหากไม่มีภาชนะในการปรุงอาหารกรณีเข้าไปหาป่าหลายวัน

IMG_1829

ผู้สื่อข่าวได้ไปเรียนรู้วิถีชาวบ้าน นครชุม บ้านหมู่ที่ 5   บ้านนาขุมคัน  ตำบลนครชุม  อำเภอนครไทย  จังหวัดพิษณุโลก  ผ่านการทำอาหารซึ่งใช่ไม้ไผ่เป็นส่วนหนึ่งในการประกอบอาหาร นั้นก็คือการทำ  “หลามไก่” นับเป็นอีกหนึ่งวิธีทำกินแบบชาวบ้านๆ  นับเป็นวิธีการประกอบอาหารแบบโบราณดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ไม่มีขั้นตอนยุ่งยากIMG_1816

IMG_2518

นายผ่องแผ้ว  ดีธงทอง  ผช.ผญบ.บ้านนาขุนคัน กล่าวว่า  “หลามไก่”เป็นอาหารท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ จนถึงรุ่นลูกหลานในปัจจุบัน  โดยกรรมวิธรการทำไม่ได้ยุ่งยาก เพียงนำเนื้อไก่ที่จะทำการ”หลาม” นำมาสับหั่นเป็นชิ้นเล็กๆพอคำ จากนั้น นำมาคลุกเคล้ากับส่วนผสมของเครื่องปรุงรสที่เป็นเครื่องสมุนไพร ที่มีตามบ้านเรือน คือ   ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า หอมกระเทียม  ใบผักชีไทย  มะขามเปียก  พริก  เกลือ เครื่องปรุงรสตามชอบ  สามารถเพิ่มผักทั้งมะเขือ ถั่วฝักยาว ผสมลงไปได้  นำทั้งหมดที่คลุกเคล้ากันแล้วนำมากรอกลงใส่กระบอกไม้ไผ่ที่ล้างสะอาด และนำมะขามเปียกใส่ไป 1 ก้อนเล็กๆ  ก่อนนำกระบอกไม้ไผ่ที่บรรจุไปด้วยเครื่องหลามไก่ ไปเผาIMG_2517ลักษณะคล้ายกับการเผา ข้าวหลาม ประมาณ 1 ชั่วโมง พอสุกได้ที่แล้ว ก็เทไก่ที่อยู่ในกระบอกไม้ไผ่ รับประทานได้เลย  “หลามไก่”  ซึ่งวิธีนี้ เป็นวิธีง่ายๆ ในการเดินไปทำงานในป่า ส่วนใหญ่ ชาวบ้านพื้นถิ่นนี้ จะทำแบบนี้เหมือนกันหมด ไม่เฉพาะต้องเป็นไก่เท่านั้น เป็นอะไรก็ได้ ที่ต้องการจะหารับประทาน อร่อยแบบวิถีชาวบ้านIMG_2518

IMG_2521

เช่นเดียวกับข้าวหลาม เป็นอาหารอีกอย่างที่ชาวบ้านนิยม เนื่องจากเป็นทั้งขนมและอาหารว่างที่ชาวบ้านไว้กินเล่นยามหิวได้  โดยนายประทวน  อ่อนคำมา  ส.อบต.นครชุม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก  กล่าวว่า ข้าวหลาม เป็นอีกสิ่งที่ชาวบ้านทำไว้กินในครัวเรือน เป้นขนม และเป็นอาหารใช้กินได้ตลอดทั้งวัน ส่วนผสมไม่มีเพียง ข้าวเหนียวที่ปลูกเองเป็นข้าวใหม่ล้างน้ำและแช่ข้ามคืนทิ้งไว้ ก่อนนำมาผสมกันกะทิ เกลือและน้ำตาล จากนั้นกรอกใส่กระบอกไม้ไผ่ นำมาวางตั้งตามแนวดินที่ขุดเตรียมไว้ จากนั้นนำแกนข้าวโพดเป็นเชื้อเพลิง ค่อนๆเผา นานประมาณ  4-5 ชั่วโมง  ก็จะได้ข้าวเหนียวที่อ่อนนิ่ม มีรสเค็มหวาน กลมกล่อม ซึ่งข้าวหลามที่ชาวบ้านทำสามารถเก็บไว้ได้ 2-3  วัน  ไม่เสียง่าย เนื่องจากสภาพอากาศในหมู่บ้านที่ตั้งบนยอดเขานั้นเย็นกว่าพื้นล่างมากIMG_2524

IMG_2519

IMG_1767

แสดงความคิดเห็น