ชาวนาปรับตัวรับภัยแล้งเขื่อนแควน้อยเก็บน้ำได้ต่ำสุด

0003นับเป็นฤดูฝนแรกที่เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก กักเก็บน้ำได้ในปริมาณที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติถึงหนึ่งเท่าตัว เป็นปรากฏการณ์ที่เหมือนกับเขื่อนหลักในภาคเหนือ สาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ปริมาณที่ตกลงมาต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ตกน้อย และไม่ต่อเนื่องทำให้น้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำไม่เข้าเป้า จากปีปกติที่ปลายตุลาคมเมื่อหมดฝน เขื่อนแควน้อยจะสามารถเก็บน้ำได้เฉลี่ย 70—80 % หรือคิดเป็นปริมาณน้ำประมาณ 700-800 ล้านลูกบาศก์เมตร ( ล้านลบ.ม. ) แต่ฤดูฝนปีนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2558 เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนเก็บน้ำอยู่ที่ 396 ล้านลบ.ม. มีน้ำใช้การได้ 353 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 39 % ของขีดความสามารถในการเก็บน้ำที่ 939 ล้านลบ.ม.0016

แน่นอนว่า นับจากนี้ไปอีก 7 เดือน พฤศจิกายน2558-พฤษภาคม 2559 พื้นที่ชลประทานของเขื่อนแควน้อย 1.5 แสนไร่ ต้องเผชิญวิกฤติภัยแล้ง ขณะที่รัฐบาล กรมชลประทาน ได้ออกประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา รวมถึงพื้นที่ชลประทานต่าง ๆ การใช้น้ำเพื่อการเกษตรนับจากนี้เป็นไปไม่ได้แล้ว ภาครัฐได้ออกมาตรการเตรียมการรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง ให้เกษตรกรชาวนาในพื้นที่ ได้ปรับตัว เปลี่ยนการปลูกพืชใช้น้ำน้อย หาอาชีพเสริม รวมถึงอัดเม็ดเงินลงสู่ภาคเกษตรในช่วงที่อาจจะต้องว่างเว้นในการทำนา มาทำงานรับจ้างดูแลพัฒนาระบบส่งน้ำในพื้นที่0005

ที่ตำบลบ้านป่า อ.เมือง จ.พิษณุโลก หนึ่งในพื้นที่ชลประทานเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนในเนื้อที่รวม 1.5 แสนไร่ เกษตรกรในพื้นที่ต่างรับทราบสถานการณ์ของน้ำในเขื่อนแควน้อยมาอย่างดี จากการรับข้อมูลข่าวสารของสื่อกระแสหลักต่าง ๆ รวมถึงการลงพื้นที่เข้าชี้แจงของภาครัฐ ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ ได้แจ้งประชาสัมพันธ์ว่าภาครัฐจะไม่สามารถส่งน้ำเพื่อการเกษตรให้ได้แล้ว น้ำจากเขื่อนแควน้อยที่ระบายออกมา เพื่อรักษาระบบนิเวศน์และเพื่อการอุปโภค-บริโภคผลิตน้ำประปาเท่านั้นนายสมทรง  จันทร์อ่วม

นายสมทรง  จันทร์อ่วม 44 ปี 164/1 หมู่ 10 ต.บ้านป่า อ.เมือง เปิดเผยว่า ชาวบ้านตำบลบ้านป่าส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา โดยเฉลี่ยแล้วทุกปี จะสามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง และนับแต่เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนเริ่มกักเก็บน้ำ สร้างระบบคลองส่งน้ำเข้าพื้นที่ ชาวนาในตำบลบ้านป่าก็ได้ใช้น้ำจากเขื่อนแควน้อยมาตลอด แต่ปีนี้ฝนตกมาน้อยและน้ำในเขื่อนก็น้อยมากจริง ๆ สถานการณ์ปีนี้คล้ายกับปี 2557 ที่น้ำเขื่อนแควน้อยมีไม่มาก และมีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในพื้นที่ได้งดการทำนาปรังรอบแรกออกไป แต่ปีนี้การเตรียมการรับมือดีกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากมีการออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่หลายด้าน

นายสมทรง เผยต่อว่า ชาวบ้านต่างรับรู้สถานการณ์น้ำดี จากการประกาศเสียงตามสายของผู้ใหญ่บ้านและการลงพื้นที่ชี้แจงของหน่วยงานเกษตร และปีนี้พวกเราก็ต้องปรับตัวกันพอสมควร ถ้าให้หยุดทำนาไปเลย ชาวบ้านก็จะขาดรายได้ ขณะนี้ในพื้นที่ตำบลบ้านป่า ตนกำลังออกรับสมัครเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อร่วมโครงการรับจ้างซ่อมแซมระบบส่งน้ำของเขื่อนแควน้อย ปีนี้ดีหน่อยได้หมู่บ้านละ 3 คน ได้ค่าแรงวันละ 300 บาท ระยะเวลาจ้างงานประมาณ 1 เดือนครึ่ง แต่ก็มีข้อเสียบ้างกับแนวทางการช่วยเหลือรอบนี้ เพราะกำหนดเงื่อนไขต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 60 ปี ทำให้ชาวนาหลายคนเสียโอกาส บางครอบครัวก็ไม่มีลูกหลานสืบสานทำนาต่อ ไปรับจ้างทำงานที่อื่นหมด แต่อายุก็เกิน 60 ปี จึงไม่สามารถเข้าร่วมโครงการจ้างงานได้0013

ขณะที่ทางเลือกในการประกอบอาชีพหลักจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปีรอบนี้ ( เก็บเกี่ยวข้าวประมาณเดือนพฤศจิกายน2558 ) เสร็จแล้ว สมทรงบอกว่า ภาครัฐก็มีมาตรการมาช่วยเหลือหลายอย่าง ทั้งให้เมล็ดพันธุ์สำหรับปลูกพืชใช้น้ำน้อย ข้าวโพด ถั่วเหลือง ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไก่ เพาะเห็ดฟาง จากการสอบถามเพื่อนบ้านในตำบลบ้านป่า ส่วนใหญ่จะเลือกปลูกข้าวโพดมากกว่า บางคนก็หันไปรับจ้างขายแรงงานในตัวเมือง สำหรับตนมีพื้นที่ทำนา 40 ไร่ ก็จะมาปลูกข้าวโพดส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มก็ปล่อยเป็นพื้นที่ทิ้งไว้ รอการทำนาปีฤดูกาลหน้านางสมภาร เชื้อปู่คง

0006

นางสมภาร เชื้อปู่คง 64 ปี  บ้านเลขที่ 6 หมู่ 2 ต.บ้านป่า กล่าวว่า เพิ่งเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ และกำลังเตรียมตากเมล็ดพันธุ์ไว้สำหรับทำนาในต้นฤดูฝนหน้า นาปรังปีนี้คงไม่ทำแล้ว เพราะน้ำมีน้อย และจะทำไร่ข้าวโพดบ้าง ยังมีน้ำจากคลองธรรมชาติที่ยังกักเก็บน้ำในช่วงหน้าฝนไว้ได้บ้าง

นายไหม  อินทับขณะที่นายไหม  อินทับ 53 ปี 22/1 หมู่ 4 ต.บ้านป่า อ.เมืองพิษณุโลก ที่มีที่นาทำร่วมกับน้องจำนวน 40 ไร่ นับเป็นเกษตรกรที่มีต้นทุนแหล่งน้ำของตนเอง ด้านหลังแปลงนาของนายไหม เป็นแนวคันคลองส่งน้ำของเขื่อนแควน้อย ขณะที่กลางแปลงนา นายไหมได้ขุดสระน้ำในพื้นที่จำนวน 6 ไร่ ในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมาที่เขื่อนแควน้อยยังส่งน้ำผ่านระบบชลประทาน นายไหมก็จะเปิดท่อส่งน้ำจากคันคลองชลประทานลงมาเติมในสระน้ำของตนเองอยู่เรื่อย ๆ จนถึงขณะนี้เขื่อนเริ่มหยุดการส่งน้ำแล้ว น้ำในสระของนายไหม ก็เพียงพอต่อการหล่อเลี้ยงข้าวที่กำลังตั้งท้อง และคาดว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ในเดือนพฤศจิกายนนี้0012

ส่วนหลังจากนี้ นายไหม เปิดเผยว่า แม้จะมีน้ำสำรองเก็บไว้ในสระ แต่ก็ไม่กล้าเสี่ยงที่จะทำนาปรังต่อทั้งหมด โดยวางแผนไว้ว่า จะใช้พื้นที่ประมาณ 20 ไร่ ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยังสามารถสูงน้ำจากสระมารดแปลงข้าวโพดได้ และอีกส่วนหนึ่งก็จะทำนา ที่คาดการณ์ว่าน่าจะเพียงพอ และยาวไปจนถึงฤดูฝนปีหน้า0010

นายนันทชัย  ตรีรุจิราภาพงศ์ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำที่ 1 โครงการส่งน้ำแควน้อยบำรุงแดน เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ได้สิ้นสุดการส่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่โครงการชลประทานจำนวน 150,000 ไร่แล้ว ที่ขณะนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ได้เก็บเกี่ยวและใกล้เก็บเกี่ยวหมดแล้ว และได้ประสานงานกับท้องถิ่น อำเภอ ออกประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในพื้นที่ได้รับทราบถึงสถานการณ์น้ำของเขื่อนแควน้อย เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งนับจากนี้ไปตลอดถึงฤดูฝนปี 2559 เนื่องจากปีนี้ เขื่อนแควน้อยสามารถเก็บน้ำได้น้อยมาก ประมาณ 40 % ของความจุอ่างเท่านั้น

โดยหลังจากวันที่ 18 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา หลังจากยุติการส่งน้ำในพื้นที่ชลประทานแล้ว เขื่อนแควน้อยฯอาจจะมีแผนในการปรับลดการระบายน้ำลงอีก จากเดิมระบายน้ำออก 6 ลบ.ม. ต่อวินาที หรือ ระบายออกวันละ 500,000 ลบ.ม. จะปรับลดการระบายน้ำเหลือ 2 ลบ.ม. ต่อวินาที หรือ วันละ 200,000 ลบ.ม. เพื่อการบริหารจัดการน้ำในอีก 7 เดือนข้างหน้าDSC08367

โดยเป้าหมายและแผนของกรมชลประทาน เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เป็น 1 ใน 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ต้องบริหารจัดการน้ำร่วมกัน และเนื่องจากภาพรวมของปี 2558 มีต้นทุนน้ำที่ค่อนข้างต่ำ จึงมีแนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค  รักษาระบบนิเวศน์เป็นประการแรก ส่วนน้ำเพื่อการเกษตรนั้นมีไม่เพียงพอ ขณะนี้ นอกจากออกประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในพื้นที่ชลประทานทราบถึงสถานการณ์น้ำเพื่องดการทำนาปรังแล้ว ยังร่วมกับหลายหน่วยงานในการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนการทำนาปรัง การทำอาชีพเสริมอื่น ๆ การพักชำระหนี้ของธกส. เป็นต้น

เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ เป็นเขื่อนหินทิ้งขนาดกลาง ปิดกั้นลำน้ำแควน้อย วัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยของจังหวัดพิษณุโลก และเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้กับ 4 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก การดำเนินการก่อสร้างตลอดระยะเวลา 9 ปี โครงสร้างหลัก ๆ ของเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนฯ ได้เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งานในปี 2554 ประกอบด้วยตัวเขื่อนหลัก 3 เขื่อนที่ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ ได้แก่ เขื่อนปิดช่องเขาขาด ลักษณะเป็นเขื่อนดินสูง 16 เมตร ยาว 640 เมตร เขื่อนแควน้อย เป็นเขื่อนหินทิ้งดาดหน้าคอนกรีตสูงจากพื้น 75 เมตร ยาว 681 เมตร และเขื่อนสันตะเคียน ลักษณะเป็นเขื่อนหินทิ้ง แกนดินเหนียวสูง 80 เมตรยาว 1,270 เมตร  สามารถกักเก็บสูงสุด 939  ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนทดน้ำฝายพญาแมน ต.บ้านยาง อ.วัดโบสถ์ อยู่ด้านล่างเขื่อนแควน้อยประมาณ 40 กม. ทำหน้าที่ทดน้ำแควน้อย ส่งน้ำเข้าสู่ระบบคลองชลประทาน ให้กับพื้นที่การเกษตร 155,166 ไร่ ในพื้นที่ 25 ตำบล 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิรามImage39

โครงการเขื่อนแควน้อย บำรุงแดน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อจากเดิม ชื่อโครงการเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มาเป็นชื่อ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ซึ่งหมายถึง เขื่อนแควน้อยที่ทำให้มีความเจริญขึ้นในเขตพื้นที่Image36

เมื่อปีมหาอุทกภัย พ.ศ.2554 เขื่อนแควน้อยฯได้ทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ที่พระองค์ท่านวางแนวทางพระราชดำริไว้ โดยเฉพาะการบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เขื่อนแควน้อยฯ รับน้ำจากลำน้ำแควน้อย และลำน้ำภาค จากอ.นครไทยและอ.ชาติตระการ ที่ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำท่าสูงสุดอยู่ที่ปีละ 1,691 ล้านลูกบาศก์เมตร ( ลบ.ม. ) แต่ปี 2554 ที่ผ่านมา มีน้ำเข้าเขื่อนแควน้อยถึง 2,909 ล้านลบ.ม. เขื่อนแควน้อยได้กักเก็บน้ำสูงสุดในวันที่ 16 กันยายน 2554 ปริมาณน้ำขณะนั้น 959.91 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 102.2 % ของปริมาณกักเก็บสูงสุดที่กำหนดไว้ที่ 939 ล้านลบ.ม.Image24

ขณะที่ปี 2558 หากไม่มีเขื่อนแควน้อยกั้นลำน้ำแควน้อย สภาพลำน้ำแควน้อยนับจากอ.วัดโบสถ์ลงมาถึงอ.เมืองพิษณุโลกก็อาจจะอยู่ในสภาพเกือบแห้งขอด ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงลำน้ำ เนื่องจากน้ำจากต้นน้ำมาเท่าไหร่ ก็ไหลลงสู่พื้นที่ท้ายน้ำหมด ส่วนปี 2559 ยังคงต้องลุ้นสภาพอากาศต่อไปว่าจะเป็นเช่นไร การทำฝายชะลอน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำมาอย่างต่อเนื่องในปีนี้ อาจจะเป็นปัจจัยบวกสำหรับสถานการณ์น้ำปีหน้า  บริเวณเทือกเขามีความชื้นสูง การรวมตัวก้อนเมฆ กลุ่มฝน หรือ การทำฝนหลวง อาจจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แสดงความคิดเห็น