ชาวอ.เนินมะปรางเปิดเวทีแสดงจุดยืนคัดค้านสัมปทานเหมืองทอง

324024วันที่ 10 ต.ค.58 ที่ ศาลาการเปรียญ วัดเขาเขียว ต.วังโพรง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก นางรจนิล  นันทกิจ แกนนำกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเนินมะปราง ได้จัดเวทีเสวนากำหนดอนาคตเนินมะปราง เพื่อแสดงออกในการคัดค้านการให้สัมปทานทำเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็น 1 ใน 12 จังหวัด ที่ภาครัฐกำหนดนโยบายเตรียมให้เปิดทำเหมืองแร่ทองคำขึ้น โดยมีกลุ่มชาวบ้านจากตำบลต่าง ๆ ในเขต อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ที่จะได้รับผลกระทบ มาเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 500 คน โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารจากกองทัพภาคที่ 3 เข้าไปดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย ในการจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้323969

324005ทั้งนี้การจัดกิจกรรมดังกล่าว ต้องการทำให้เป็นเวทีคู่ขนาน เนื่องจากต้องการเรียกร้องให้ นางอรรชญกา ศรีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม ซึ่งกำลังลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นประชาชน บริเวณเหมืองแร่ทองคำในเขต จ.พิจิตร ที่ห่างออกไปจากเวทีเสวนาไม่กี่กิโลเมตร โดยทางกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเนินมะปราง ได้ส่งตัวแทนของกลุ่ม ฯ ไปเจรจา ให้เดินทางไปแวะเยี่ยมและรับฟังความคิดเห็นจากคนในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ แต่ปรากฏว่าเนื่องจากไม่ได้อยู่ในกำหนดการ ทางคณะของ รมว.อุตสาหกรรม จึงไม่ได้เดินทางมาพบแต่อย่างใด ในครั้งแรกทางแกนนำของกลุ่ม ฯ จะนำกลุ่มชาวบ้านทั้งหมดไป แต่ทางทหารและตำรวจได้ร้องขอให้อยู่ในพื้นที่ เนื่องจากเกรงว่าอาจมีมือที่ 3 สร้างสถานการณ์ จนทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นมาได้323968

ในที่สุดทาง กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเนินมะปราง จึงทำได้เพียงแค่เชิญแกนนำและบุคคลต่าง ๆ ขึ้นมาพูดให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่กลุ่มชาวบ้านที่มาร่วมรับฟัง พร้อมประกาศแถลงการณ์ในนาม ประชาชนคนไทย ณ แผ่นดินทองคำบนดินเนินมะปราง สรุปได้ว่า ให้ยกเลิกกระบวนการรับฟังความคิดเห็นกับนโยบายเหมืองแร่ทั้งหมด แล้วให้ชุมชนกำหนดแผนพัฒนาด้วยตัวเอง หยุดการให้สัมปทานเหมืองแร่ทุกชนิดโดยทันที ให้รัฐบาลไทยยืนยันและสื่อสารถึงกลุ่มทุนหรือรัฐบาลทั้งในและต่างประเทศว่า รัฐบาลไทยจะคำนึงถึงผลประโยชน์คนไทยและทรัพยากรของชาติ สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ด้วยวิธีเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง แทนการให้สัมปทานที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติในทันที323967

สำหรับพื้นที่ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก เป็นแหล่งปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกรายใหญ่ จากข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก มีการปลูกมะม่วง 65,881 ไร่ ทำรายได้มากถึง 3,248 ล้านบาทต่อปี ยังไม่รวมถึงผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ รวมแล้วมากกว่า 5,000 ล้านบาท ในขณะที่คาดการณ์ว่าหากมีการเปิดให้ทำเหมืองแร่ทองคำ ภาครัฐจะเก็บค่าภาคหลวงได้เพียงปีละ 500 ล้านบาท แต่ต้องแลกกับมลพิษและสิ่งแวดล้อม ที่ต้องเสียไปจากการทำเหมือง จึงเป็นเหตุให้ประชาชนในพื้นที่ลุกขึ้นมาต่อต้านดังกล่าว324022

324023

แสดงความคิดเห็น