ชาวบ้านรวมตัวทวงคืนที่ดินให้วัดหลังมีคนนำไปออกโฉนด

DSC_0945 เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 58 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า มีชาวบ้านจำนวนมากได้รวมตัวกัน ที่บริเวณศาลาการเปรียญ วัดไผ่ขอน้ำ ม.3 ต.มะตูม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เพื่อเรียกร้องทวงคืนที่ดินให้กับทางวัด หลังจากก่อนหน้ามีการนำที่ดินของวัดไปออกโฉนดเป็นของตัวเอง  จึงได้เดินทางไปที่วัดดังกล่าว พบว่าบนศาลาการเปรียญวัดไผ่ขอน้ำมีชาวบ้านจำนวนหนึ่งมานั่งประชุมหารือกัน โดยมีตัวแทนชาวบ้านพูดผ่านเครื่องขยายเสียง ให้ทุกคนมารวมตัวกัน เพื่อร่วมทำการตรวจรังวัดกับเจ้าหน้าที่ที่ดินจากสำนักงานที่ดินจังหวัดพิษณุโลก สาขาพรหมพิรามDSC_0961ต่อชาวบ้านทั้งหมดได้พาเจ้าหน้าที่ที่ดินเดินสำรวจ พร้อมให้ผู้เฒ่าคนเก่าคนแก่จำนวนหลายคนที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ชี้เขตแนววัดที่ยังพอจะหลักฐานหลงเหลืออยู่บ้าง โดยเฉพาะที่เนินดิน ซึ่งชาวบ้านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นสุดแนวเขตวัด เรียกกันว่าต้นโพธิ์ล้อมขนาดใหญ่  แต่ปัจจุบันไม่มีต้นโพธิ์ให้เห็นแล้ว  จึงมีการใช้ไม้ไผ่ผูกผ้าเหลืองจีวรพระปลักเอาไว้  นอกจากนั้นยังปักตามจุดที่เป็นแนววัดทั้งหมด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบรังวัดอีกครั้งDSC_0971จากการสอบถามนายสำรวย อิงบุญ อายุ 87 ปี อยู่บ้านเลขที่ 24 ม.3 ต.มะตูม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก กล่าว ตั้งแต่ตนอายุได้ 13-14 ปี ก็เห็นวัดไผ่ขอน้ำมาตั้งแต่เกิด โดยบริเวณต้นโพธิ์ล้อมจะเป็นเขตพื้นที่ของวัด ซึ่งเป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่มีการนำหินมาล้อมต้นโพธิ์เอาไว้ ชาวบ้านเรียกว่าโพธิ์ล้อม ติดกับทางเดินในสมัยนั้น คนเก่าแก่ที่ยังมีชีวิตอยู่หลายคนยืนยันได้ว่าเป็นพื้นที่ของวัด แต่ภายหลังมีบางคนนำที่ดินของวัดไปออกโฉนดเป็นของตัวเอง ทางวัดและชาวบ้านส่วนใหญ่จึงขอคืน ซึ่งมีหลายรายคืนที่ดินให้กับทางวัดเรียบร้อยแล้ว แต่ยังมีบางรายไม่สามารถตกลงกันได้DSC_0982นายเอี่ยม โพธ์เอี่ยม อายุ 85 ปี กล่าวว่า ตนมีบ้านอยู่ข้างวัดรู้ดีว่าตรงไหนเป็นเขตของวัดมาก่อน จุดใหญ่ๆที่ยังสามารถชี้บอกได้คือ บริเวณโพธิ์ล้อม เพราะเป็นพื้นที่อยู่ภายในเขตวัดตั้งแต่สมัยเก่าแก่มาแล้ว  แต่ช่วงหลังมีชาวบ้านบางคนมาใช้พื้นที่วัดทำกิน กระทั่งมาออกโฉนดเป็นของตัวเอง จนทางวัดและชาวบ้านออกมาทวงคืนดังกล่าวDSC_0986จากการตรวจสอบหลักฐาน พบว่าพื้นที่ของวัดไผ่ขอน้ำ จากหลักฐานเก่าแก่ที่ระบุเอาไว้ พบว่าวัดไผ่ขอน้ำ มีที่ดินทั้งหมดประมาณ  44 ไร่  ต่อมามีชาวบ้านบางคนยึดครองที่ดินวัดกว่า 10 ไร่ และมีการออกโฉนดที่ดินไปแล้วจำหนึ่งหนึ่ง  ช่วงหลังทางวัดไปตรวจสอบออกโฉนด ปรากฏว่าเนื้อที่ของวัดเหลือเพียง 32 ไร่เท่านั้น ต่อมาทางวัดและชาวบ้านส่วนมากได้ขอคืนที่ดินของวัดทั้งหมด  แต่มีบางคนที่ออกโฉนดเป็นของตัวเองไม่ยินยอม เนื่องจากอ้างว่าเป็นที่ทำกินมานานหลายสิบปี  กระทั่งมีการฟ้องร้องต่อศาล  และศาลให้มีการไกล่เกลี่ย แต่ไม่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ กระทั่งศาลมีคำสั่งให้สำนักงานที่ดินจังหวัดพิษณุโลก สาขาพรหมพิราม ตรวจสอบรังวัดพื้นที่วัดอีกครั้ง  เพื่อทำการตรวจสอบตามขั้นตอนหลักฐานต่อไปDSC_0984

แสดงความคิดเห็น