เร่งทำฝนหลวงก่อนหมดความชื้นหน้าฝน

20150922_1100553เมื่อเวลา 11.30 น.วันที่ 22 กันยายน 2558 ที่บริเวณศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จ.พิษณุโลก นายวราวุธ ขันติยานันท์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร นำคณะได้เดินทางมาสำรวจสถานการณ์น้ำในเขื่อนบริเวณพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ประกอบด้วยเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนแควน้อย เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ และติดตามความคืบหน้าภารกิจแก้ปัญหาภัยแล้ง ของหน่วยปฏิบัติ การฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลก เพื่อร่วมหารือแนวทางการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่20150922_105804

นายวราวุธ ขันติยานันท์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า จากที่สถานการณ์น้ำต้นทุนในเขื่อนหลักของประเทศ ส่วนใหญ่ยังมีปริมาณกักเก็บอยู่ในระดับน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จึงขานรับนโยบายของรัฐบาล ที่หวังจะเติมน้ำในเขื่อนหลักทั่วประเทศ เพื่อเป็นน้ำต้นทุนในปีหน้า สำหรับการสำรวจสถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์20150922_1100551

ขณะที่การพบปะเกษตรกรในครั้งนี้จะได้นำข้อมูลมาใช้ในการวางแนวการปฏิบัติการฝนหลวงหากเกิดประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มปริมาณน้ำฝนในเขื่อน โดยมีศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงเชียงใหม่ รับผิดชอบการเติมน้ำให้พื้นที่ลุ่มรับน้ำของเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ส่วนหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงพิษณุโลกรับผิดขอบการเติมน้ำให้กับเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงนครสวรรค์รับผิดชอบการเติมน้ำให้กับเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์การปฏิบัติการฝนหลวงของทุกหน่วยจะยังคงปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องต่อไปจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม หรือจนต้นเดือนพฤศจิกายน 2558 หรือเมื่อมีความชื้นไม่เพียงพ่อที่จะทำฝนได้เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน20150922_110055

โดยเฉพาะช่วง 3-4 สัปดาห์นี้นับได้ว่าเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของฤดูฝน ต้องเร่งเพิ่มมาตรการ ปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ระดมเครื่องบินทั้งหมดจำนวน 18 ลำ มาที่ศูนย์ปฏิบัติการทั้งหมด 9 ศูนย์ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อเร่งเติมน้ำในเขื่อนให้ได้มากที่สุดก่อนที่จะหมดฤดูฝน ส่วนมาตรการแผนพัฒนา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป จะมีการขยายหน่วยเพิ่มเป็น 13 หน่วย ซึ่งตอนนี้ในพื้นที่ภาคเหนือมี 3 หน่วยคือที่ จ.เชียงใหม่ จ.พิษณุโลก และมีแผนที่จะเพิ่มที่ จ.ตากอีก 1 หน่วยปฎิบัติการ /ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 2 หน่วย ที่ จ.ขอนแก่น จ.นครราชสีมา มีแผนจะเพิ่มอีก 2 หน่วยคือที่ จ.อุบลราชธานี และจ.ร้อยเอ็ด / ภาคตะวันออก มี 2 หน่วย คือที่ จ.ระยอง และ จ.สระแก้ว คาดว่ามีเพียงพอ และภาคกลางมีอยู่ 2 หน่วย คือ จ.นครสวรรค์ และ จ.กาญจนบุรี คาดว่ามีเพียงพอเช่นเดียวกัน / ภาคใต้ ซึ่งมีอยู่ 2 หน่วย คือที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดสุราษฏร์ธานี มีแผนจะเพิ่มอีก 1 หน่วย อยู่ในระหว่างการวิเคราะห์ว่าจะเพิ่มที่จังหวัดไหนให้เกิดประโยชน์สูงสุดS__2310150

ส่วนมาตรการเร่งด่วนในขณะที่ที่ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเร่งประชาสัมพันธ์ให้กับพี่น้องประชาชน คือในช่วง 3-4 สัปดาห์ช่วงโค้งสุดท้ายของหน้าฝนนี้ คือจะขอให้ประชาชนช่วยกันถนอมน้ำฝน ให้มากที่สุด หากมีตุ่ม อ่าง บ่อให้กักเก็บน้ำไว้ใช้ให้มากที่สุด และทางกระทรวงฯ จะมีการปรับเปลี่ยนพืชที่จะใช้ในการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งหน้า ให้เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย รณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ระดมหน่วยงานที่มีอุปกรณ์ที่สามารถจะช่วยเหลือในเรื่องของการขุดบ่อ ลอกคลอง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ส่วนด้านกระทรวงเกษตรฯเองก็จะเร่งนำน้ำจากท้องฟ้าลงมาในเขื่อนให้มากที่สุดS__2310154..

แสดงความคิดเห็น