เกษตรกรจัดรูปที่ดินท่างามพิษณุโลกชูเทคโนโลยีเสริมวิถีพัฒนาเกษตรยั่งยืน

DSC_0146วันที่  4 กันยายน 2558  ว่าที่ ร.ต.ไพเจน มากสุวรรณ์  รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน และคณะ เดินทางมาติดตามความคืบหน้า   การดำเนินโครงการพัฒนาการเกษตรยั่งยืน และการส่งเสริมการมีส่วนรวมของประชาชน ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินตำบลท่างาม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 2 โดยมีเกษตรกรผู้ใช้น้ำและชาวบ้านร่วมงานจำนวนกว่า 100 คน   จากนั้นได้เยี่ยมชม “พื้นที่เรียนรู้พัฒนาเกษตรยั่งยืน และเทคโนโลยีเกษตรที่ท่างาม”  ก่อนลงพื้นที่แปลงนาเพื่อติดตามผลผลิตจากการจัดรูปที่ดิน  ซึ่งพื้นที่พัฒนาเกษตรยั่งยืน และเทคโนโลยีเกษตรที่ท่างาม  เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การจัดการน้ำ  ที่น่าสนใจ ประกอบด้วย ศูนย์เรียนรู้เครื่องจักรกลการเกษตร  เป็นฐานการถ่ายทอดความรู้เกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดตนทุน    แปลงนาสาธิต  นาดำปลอดสารเคมี  และแปลงนาสาธิต นาหว่านปลอดสารเคมี   DSC_0157

ว่าที่ ร.ต.ไพเจน มากสุวรรณ์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน กล่าวว่า โครงการพัฒนาการเกษตรยั่งยืน และการส่งเสริมการมีส่วนรวมของประชาชน ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรตระหนักถึงคุณค่าของน้ำ ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า เห็นถึงศักยภาพของตนเองและชุมชน ตระหนักถึงความเป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งได้ตามบริบทของตนเอง เช่น การบริหารจัดการน้ำ การบริหารพื้นที่ทางการเกษตร การปลูกพืชใช้น้ำน้อย หรือด้านการตลาด รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้เพื่อลดต้นทุน เป็นต้น อีกทั้งเกิดการรวมตัวกันเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เรียนรู้ และการสร้างเครือข่ายเรียนรู้สู่ชุมชนอื่นๆได้อีกด้วย DSC_0133

ทางด้านนายสิริวิชญ กลิ่นภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง กรมชลประทาน กล่าวว่า โครงการพัฒนาการเกษตรยั่งยืน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในเขตจัดรูปที่ดิน มีกรอบระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี ตั้งแต่ปี 2557 – 2559 จำแนกพื้นที่การทำงานดังนี้ โครงการจัดรูปที่ดินแปลงตัวอย่าง 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดศรีสะเกษ   โครงการนำร่องพัฒนาการเกษตร 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาญจนบุรี โดยพื้นที่เขตโครงการจัดรูปที่ดิน ตำบลท่างาม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านสวน  ในหมู่ที่ 1  จำนวน 765  คน   285 ครัวเรือน และ บ้านหนองปลิง ในหมู่ที่ 2 จำนวน   680  คน   221 ครัวเรือน  พื้นที่ประมาณ 1,530 ไร่  DSC_0117

นายอาทิตย์  สุขแจ่ม  หนึ่งในกลุ่มผู้ใช้น้ำ กล่าวว่า หลังจากที่เข้าร่วมโครงการฯ ทำให้เกิดการพัฒนาเพื่อสร้างเกษตรยั่งยืนด้วยการทำงานแบบบูรณาการกับเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐและกลุ่มต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้ามาร่วมขับเคลื่อนการพัฒนา โดยเอาศักยภาพขององค์กรตนเองมาหนุนเสริมให้เกษตรกรสามารถทะลุข้อจำกัดตนเองไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน  และปัจจุบันมีเครือข่ายหลากหลายในการหนุนเสริมศักยภาพ เช่น เรื่องดินมีพัฒนาที่ดินมาดูแล เรื่องน้ำมีกรมชลประทาน เรื่องการเพาะปลูกมีเกษตรจังหวัด และศูนย์วิจัยข้าว แหล่งทุนมี ธกส. และ อบต. ในอนาคตกำลังเชื่อมกับพาณิชย์จังหวัด ส่วนเครือข่ายกลุ่มในตำบลประกอบด้วย กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ กลุ่มผักปลอดสารพิษ กลุ่มเครื่องจักรกล กลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มแปรรูปกะลา กลุ่มน้ำตาลตะโหนด  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากการใช้ความรู้หนุนเสริมศักยภาพกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้การพัฒนาการเกษตรเกิดความยั่งยืน และมาจากผลพวงของการมีน้ำและบริหารจัดการใช้น้ำได้อย่างคุ้มค่ามีประสิทธิภาพDSC_0160

เป้าหมายการดำเนินโครงการฯในปีที่ 2 ของเขตจัดรูปที่ดินตำบลท่างาม เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ คือ “แผนยุทธศาสตร์ได้รับการขับเคลื่อน เกิดบทเรียนการทำงาน” อาทิ 1. กลุ่มผู้ใช้น้ำเกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษาระบบชลประทาน และพัฒนาพื้นที่จัดรูปที่ดินให้กลายเป็นพื้นที่เรียนรู้ “การพัฒนาเกษตรยั่งยืน ในเขตจัดรูปที่ดิน” ที่แสดงถึงการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า 2. มีวิทยากรกระบวนการเก่งขึ้น มีศักยภาพในการจัดกระบวนการเรียนรู้ สามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาชุมชนได้  3. เกิดองค์ความรู้ต่างๆ ที่สอดคล้องกับการทำงาน และความรู้ที่เป็นประโยชน์กับเกษตรกร จนสามารถพัฒนาเป็นพื้นที่เรียนรู้ของโครงการนำร่องพัฒนาการเกษตรเสร็จสิ้น พร้อมที่จะเผยแพร่ความรู้ให้กับชุมชนอื่นๆต่อไป4. เกษตรกรเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วม อันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ จนเกิด “การระเบิดจากข้างใน” เห็นคุณค่าของตนเอง ชุมชน คุณค่าน้ำ และประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมกันขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ของพื้นที่ของตนDSC_0188

DSC_0028

แสดงความคิดเห็น