รมว.วิทย์ฯลงพื้นที่ต.นครป่าหมากต้นแบบบริหารจัดการแก้น้ำท่วมแล้งซ้ำซาก

DSC_0030เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 27 สิงหาคม 2558 ดร.พิเชฐ  ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมด้วยคณะ ฯ เข้าเยี่ยม ชมพื้นที่ดำเนินงานบริหารจัดการน้ำชุมชน ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ณ ชุมชนนครป่าหมาก  ต.นครป่าหมาก  อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก   ซึ่งทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯโดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. ได้สนับสนุนเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น แผนที่ภาพถ่ายจากดาวเทียม GPS สถานีโทรมาตรอัตโนมัติ  พร้อมทั้งทำงานร่วมกับชุมชนแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่จนประสบความสำเร็จ    โดยคณะได้ลงพื้นที่เพื่อดูผลการดำเนินงานฟื้นฟูแหล่งน้ำ และโครงสร้างบังคับน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง  โดยความร่วมมือของมูลนิธิอุทกพัฒน์  ในพระบรมราชูปถัมภ์  สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก.องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือJICA กองทัพบก อบต.นครป่าหมาก และภาคประชาชน   เช่น งานปรับปรุงประตูระบายน้ำสามเรือน  งานขุดลอกบึงสลุ  คลองโกรงเกรง  คลองอินทนินทร์ ฯลฯ สามารถเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำได้กว่า 1.28 ล้านลูกบาศก์เมตร

DSC_0018

ดร.พิเชฐ  กล่าวว่า  ในปี 2555 ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯโดย สสนก.และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือJICA  ได้เริ่มเข้ามาสนับสนุนชุมชน นครป่าหมาก วางแผนรับมือน้ำท่วม โดยนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่นการใช้ GPS เก็บข้อมูลแหล่งน้ำและโครงสร้างของชลศาสตร์  แสดงตำแหน่งบนแผนที่  จัดทำผังน้ำตำบล  ติดตามข้อมูลสภาพอากาศ และระดับน้ำจากสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ  และติดตั้งไม้วัดระดับน้ำ เพื่อประกอบการวางแผนรับมือสถานการณน้ำท่วม  และได้ร่วมกับชุมชนดำเนินการพัฒนาการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่แก้ปัญหาภัยแล้งน้ำท่วมซ้ำซากได้สำเร็จ  และสามารถเป็นต้นแบบขยายผลไปยังพื้นที่ข้างเคียงได้

DSC_0035

นายธนากร  ทองประไพ  ประธานกลุ่มบริหารจัดการน้ำชุมชนนครป่าหมาก  กล่าวว่า เดิมชุมชนนครป่าหมากประสบปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง  ในช่วงฤดูฝน แม่น้ำวังทองคลองโกรงเกรงใหญ่  และคลองโกรงเกรงเล็กที่ไหลผ่านตำบล มีปริมาณน้ำมาก น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในหลายหมู่บ้าน แต่ในช่วงน้ำแล้ง มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร เนื่องจากโครงสร้างสำหรับกักเก็บและระบายน้ำเดิม ไม่สามารถทำได้ แหล่งน้ำเดิมขาดการฟื้นฟู อีกทั้งยังมีการวางแผนบริหารจัดการน้ำ ทำให้ประสบปัญหาเรื่อยมา  จนกระทั่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯและหน่วยงานต่างๆ เข้ามาให้การสนับสนุนทั้งด้านเครื่องมือ องค์ความรู้ และร่วมกันดำเนินการจนสามารถแก้ไขปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมในพื้นที่ได้สำเร็จ

 

จากนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการทำการเกษตรให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ  ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านบางกระน้อย  หมู่ 2 ต.นครป่าหมาก อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก มีการเปลี่ยนแนวคิดจากการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นการทำการเกษตรแบบผสมผสาน และปรับแผนการเกษตรเพาะปลูกให้สอดคล้องกับภาวะน้ำท่วมน้ำแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

DSC_0020

นายสมพงษ์  อ้นชาวนา  ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2  บ้านบางกระน้อย  หมู่ 2 ต.นครป่าหมาก อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก ผู้นำแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาปรับใช้เป็นผลสำเร็จ  ได้กล่าวว่า ตนเริ่มมองวิถีชีวิตของชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้วยการทำไร่ ทำนา เช่นกับชุมชนอื่นๆ   รายได้ส่วนใหญ่จึงมาจากการทำนาเพียงทางเดียว และมักได้รับผลกระทบจากปัญหาค่าปุ๋ย ยาฆ่าแมลงที่แพงขึ้นทุกวัน รวมถึงค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนการขาดวินัยในการใช้จ่ายเงินที่สูงกว่ารายได้ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ประสบปัญหาหนี้สินเป็นจำนวนมาก การปรับเปลี่ยนมาดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในชุมชน  โดยเริ่มที่ครอบครัว  และกลายเป็นแบบอย่างต่อ ชาวบ้านคนอื่นๆอีกกว่า 104 ครัวเรือน   สามารถลดรายจ่ายในการยังชีพได้ อย่างด้วยการ ทำบัญชีรายรับ-จ่ายในครัวเรือน ทำนา  ปลูกผักสวนครัว ทำน้ำปลาไว้บริโภคเอง การขุดบ่อเลี้ยงปลา  เลี้ยงกบ  เลี้ยงเป็ดไว้กินไข่   เลี้ยงวัว ฯลฯ จนสามารถลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนได้

DSC_0007

นอกจากนี้ ในส่วนของปัญหาด้านแหล่งน้ำ  ยังคงมีแหล่งน้ำที่ทางชุมชนร่วมกันบริหารจัดการวางแผนการใช้น้ำร่วมกัน และสามารถดึงน้ำจากใต้ดินขึ้นมาใช้ในช่วงฤดูแล้ง  4 เดือน มีการนำน้ำมาใช้ประโยชน์หมุนเวียนภายในพื้นที่ทำการเกษตรอย่างผสมผสานอย่างคุ้มค่าที่สุด

แสดงความคิดเห็น