เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 58 ที่คอนเวชั่น โรงแรมท็อปแลนด์ อ.เมืองพิษณุโลก ดร.พิเชษฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เดินหน้างานวิชาการด้านระบบราง และถนนของประเทศไทย วิศวกรภาครัฐภาคเอกชน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ศ.ดร.สุจินต์ จินายน อธิการมหาวิทยาลัยนเรศวร ศ.ดร.วรศักดิ์ กนกนุกูลชัย ประธานสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย Dr.Kihwan Kim President Korea Railroad Research Institute เข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก
ด้วยทางมหาวิทยาลัยนเรศวรครบรอบ 25 ปี ได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2558 (The 2nd Thailand Rail Academy Symposium,2015) ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งภาคการศึกษาและวิจัย ผู้ประกอบการด้านระบบขนส่งทางราง ตลอดทั้งผู้ที่สนใจ ร่วมรับฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง Opportunities and Challenges for Thailand to be ASEAN Railway Hub เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการขนส่งทางบกและระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยในอนาคต ตามกรอบยุทธศาสตร์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งไทย พ.ศ.2558-2565 ประกอบด้วย การลงทุนพัฒนารถไฟรางคู่ และการลงทุนด้านการรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 10 สายทาง เป็นการเชื่อมโยงระหว่างนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้า ในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยได้เชิญสถาบันวิจัยด้านระบบรางจากประเทศเกาหลี Korea Railroad Research Institute (KRRI) และนักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับโลกจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และยุโรป ร่วมเสนองานวิจัย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้วิธีการพัฒนางานวิจัยทั้งไทยและต่างประเทศ นำไปสู่การพัฒนาระบบขนส่งทางรางที่ดี(Good Practices) พร้อมเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีระบบรางแห่งภูมิภาคอาเซียนได้ในอนาคต
ดร.พิเชษฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การประชุมสัมมนาทางวิชาการระบบรางครั้งนี้ เป็นมิติที่ดีที่เราได้กระจายออกมาในภูมิภาคได้มีส่วนร่วม ทั้งนักวิชาการผู้ประกอบการ ร่วมทั้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลมีแนวทางชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับการวางระบบราง ส่วนที่เป็นรถไฟทางคู่ การปรับปรุงเส้นทางต่างๆ ไปจนถึงอนาคตของระบบรางที่มีความทันสมัย และมีความเร็วสูงขึ้น การประชุมครั้งนี้ไม่ได้พูดกรวางแผนระบบราง ส่วนนั้นกระทรวงคมนาคมดูแลรับผิดชอบอยู่ ในส่วนของเราจับมือร่วมผู้ประกอบการเดินรถทั้งหมด ร่วมกับมหาวิทยาลัยกว่า 10 แห่ง ร่วมกับสภาอุตสาหกรรม และผู้ประกอบในภาคอุตสาหกรรม ในโอกาสที่เราจะมีโอกาสลงทุนในระบบรางด้วยเม็ดเงินขนาดใหญ่ เราจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในส่วนเตรียมคนรองรับ ทั้งวิศวกร ช่างเทคนิค ผู้ประกอบการเดินรถ หรือผู้ที่มีส่วนร่วมในการซ่อมบำรุงรถไฟในอนาคต เราได้พูดคุยกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงคมนาคม ร่วมทั้งสภาอุตสาหกรรม ว่ามีชิ้นส่วนไหนในเรื่องของระบบราง ที่ผู้กอบการไทยสามารถที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมได้บ้าง บางส่วนที่ไฮเทคมากต้องให้ผู้รับงานไปทำ การเข้ามามีส่วนร่วมในตอนต้น จะช่วยทำให้พัฒนาการทางด้านอุตสาหกรรม ทางด้านผู้ประกอบการ ร่วมทั้งความเชี่ยวชาญและการถ่ายทอดเทคโนโลยีสามารถจะเกิดขึ้นได้ อย่างน้อยที่สุดถ้าเรามีระบบรางที่ทันสมัยแล้วสามารถผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ ซ่อมแซมบำรุงรักษาของเราเองได้ ร่วมทั้งสร้างขีดความสามารถเพิ่มเติม ทำของเราเองได้เป็นการประหยัดงบประมาณในที่สุด