เวลา 09.30 น. วันที่ 17กรกฏาคม2558 ที่ท่าอากาศยานพิษณุโลก หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงพิษณุโลก นายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการสำนักพระราชวัง ประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมป์พร้อมคณะ ได้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์จากสนามบินคลองหลวง จ.ปทุมธานี เพื่อตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินการของศูนย์ฝนหลวงพิเศษนครสวรรค์ พิษณุโลก โดยคณะได้บินดูสภาพน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี จากนั้น ได้บินตรวจสภาพน้ำบริเวณเหนือเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก จากนั้นได้มารับฟังบรรยายสรุปการทำฝนหลวงที่ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงจ.พิษณุโลก
นายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังได้ติดตามสถานการณ์ของพื้นที่ประสบภัยแล้งในเขตจังหวัดพิษณุโลก และพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน รวมถึงการขึ้นปฏิบัติการทำฝนหลวงของหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลก ที่รับผิดชอบการทำฝนหลวงในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ที่ขึ้นปฏิบัติการทำฝนหลวงในเขตภาคเหนือตอนล่างทุกวัน โดยที่ผ่านมาประสบปัญหาของกลุ่มเมฆไม่รวมตัวกันตามร่องฝนเหมือนปีที่ผ่านมา ปีนี้ตั้งแต่วันที่ 1-15กรกฏาคม เป็นต้นมา กลุ่มเมฆฝนไปกระจายมากแถบเขาหลวง จ.สุโขทัย และ พื้นที่ป่าในเขตรอยต่อระหว่างจ.พิษณุโลกกับประเทศลาว ทำให้การทำฝนหลวงค่อนข้างลำบาก แต่ก็ได้ดำเนินการขึ้นปฏิบัติการเพื่อให้กลุ่มเมฆรวมตัว
นายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการสำนักพระราชวัง เปิดเผยว่า วันนี้ได้ติดตามการการทำฝนหลวงของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงพิษณุโลก และศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษนครสวรรค์ เป็นการติดตามเพื่อนำความกราบบังคมทูลในสิ่งที่กรมฝนหลวงได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายมาตั้งแต่วันที่ 1-17กรกฏาคม2558 ที่ผ่านมา เป็นการสรุปผลดำเนินการ ขอชื่นชมเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ นักบิน ที่มีส่วนในการปฏิบัติการ เรารวมบูรณาการนำศักยภาพของทุกคนมารวมกัน จากการติดตามการปฏิบัติงานในปีนี้และได้พบเห็น การทำฝนหลวงในปี 2558 นี้ ง่ายกว่าปี 2542มาก เพราะปี 2558ยังพอมีความชื้น ในปี 2542นั้นไม่มีความชื่นเลย ในปีนั้น ในหลวงทรงมีพระราชกระแสให้เก็บเมฆทุกก้อน ลงตรงไหนก็ได้ในประเทศไทย แต่สำหรับปี 2558 ตั้งแต่1-17กรกฏาคม2558สามารถแก้ไขหลาย ๆ พื้นที่ได้เยอะพอสมควร ตอนนี้พื้นที่ที่ประสบปัญหาและน่าห่วงมาก ๆ คือพื้นที่อยู่ในเขตชลประทาน วันนี้จากการบินสำรวจพบว่า พื้นที่นอกเขตชลประทานปลูกข้าวนาน้ำฝนก็ยังเขียวอยู่ ยังถือว่าสถานการณ์ยังไม่รุนแรงเท่าปี 2542 แต่อาจมีปัญหาเรื่องน้ำอุปโภคบริโภค คงต้องใช้เวลาอีกหน่อย
นายดิสธร เผยต่อว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงห่วงใยเรื่องน้ำอุปโภคบริโภคที่กำลังมีปัญหา มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ได้ประสานโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีแหล่งน้ำบาดาล และผลิตน้ำดื่มให้เด็กนักเรียนอยู่แล้ว ในวันนี้ สำหรับราษฏรที่เดือดร้อนเรื่องน้ำอุปโภคบริโภค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานให้มูลนิธิฯประสานโรงเรียนที่เราดูแลอยู่ให้บริการประชาชน ค่าใช้จ่ายของโรงเรียนที่เกิดขึ้นมากกว่าปกติก็จะส่งมาเบิกกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เรามีโรงเรียนในสังกัด53 จังหวัด 100 กว่าแห่ง ทุก ๆ จังหวัดมีโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ทุกจังหวัด เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องน้ำกินน้ำใช้ ส่วนน้ำใช้เรื่องการเกษตร ฝนหลวง ร่วมกับกรมชลประทานและนายกรัฐมนตรีก็ดูแลอยู่แล้ว มูลนิธิฯก็จะดูแลเรื่องน้ำอุปโภคบริโภคเบื้องต้น ขอเรียนให้ประชาชนที่ต้องการขอน้ำพระราชทานในส่วนนี้ให้เตรียมนำพาหนะมาใส่ได้เอง ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ฝากประชาสัมพันธ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้ง 53 จังหวัด จังหวัดหนึ่งก็จะมีโรงเรียนในสังกัด 1 แห่งเป็นอย่างน้อย เมื่อหมดวิกฤติการณ์นี้ก็จะยกเลิก น่าจะถึงต้นเดือนสิงหาคมเมื่อเริ่มมีฝนมาหลังจากตรวจเยี่ยมการดำเนินการของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงพิษณุโลกแล้ง คณะของนายดิสกร ได้เดินทางโดยรถยนต์ไปยังโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 23ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก เพื่อติดตามการผลิตน้ำอุปโภคบริโภคของโรงเรียน ที่จะให้ประชาชนที่ประสบภัยแล้งสามารถนำพาหนะมาใส่น้ำไปอุปโภคบริโภคได้ จากนั้น ได้เดินทางโอยเฮลิคอปเตอร์ไปยังศูนย์ฝนหลวงพิเศษนครสวรรค์