หยุดจ่ายน้ำเพื่อการเกษตรมีนาข้าวสุ่มเสี่ยงเสียหาย 1.2 แสนไร่

DSC02891วันที่ 16กรกฏาคม2558 นายบรรดิษฐ์  อินต๊ะ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลก เปิดเผยถึงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทานของจ.พิษณุโลก ว่าการบริหารจัดการน้ำของจ.พิษณุโลกดำเนินการบริการจัดการน้ำในภาพรวมร่วมกับการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ต้องบริหารจัดการน้ำจาก 4 เขื่อนหลัก คือเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนภูมิพล เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับจังหวัดพิษณุโลกคือเขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ที่ขณะนี้สถานการณ์น้ำน่าเป็นห่วงเหลือน้ำใช้การได้เพียง 4.5 % และ 6 % ตามลำดับ ตามแผนการระบายน้ำนั้นกรมชลประทานได้ดำเนินการตามมติครม. ภาพรวมของการระบายน้ำสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาวันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร ( ล.ลบ.ม. ) จะลดลงเหลือวันละ 18 ล้านลบ.ม. มีผลตั้งแต่หลังเที่ยงคืนวันที่ 16กรกฏาคม2558

สำหรับพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกในปี 2558 มีเกษตรกรปลูกข้าวในเขตชลประทานไปแล้วจำนวน 700,000 ไร่ ที่ผ่านมาชลประทานได้จ่ายน้ำเพื่อการเพาะปลูกพื้นที่ส่วนใหญ่ใกล้เก็บเกี่ยวแล้ว บางส่วนจะเก็บเกี่ยวได้ช่วงปลายเดือนกรกฏาคมนี้ แต่หลังจากเที่ยงคืนวันที่ 16กรกฏาคม เป็นต้นไป ชลประทานพิษณุโลกจะหยุดการส่งน้ำเพื่อการเกษตรแล้ว น้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ที่ระบายจะระบายลดลงจากวันละ 17 ล้านลบ.ม.เหลือวันละ 11 ล้านลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จากระบายวันละ 1.7 ล้านลบ.ม.เหลือวันละ 1.3 ล้านลบ.ม.

102151

นายบรรดิษฐ์ เผยต่อว่า ชลประทานได้ประสานฝ่ายปกครอง ทหาร และท้องถิ่น รวมถึงลงประชาสัมพันธ์แจ้งสถานีสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้า ที่สูบน้ำจากแม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อย ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก 70 แห่ง ให้หยุดการสูงน้ำหลังเที่ยงคืนของวันที่ 16กรกฏาคม เป็นต้นไป อาจจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปเฝ้าที่สถานีสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้า เพราะส่งน้ำจากเขื่อนหลักเวลานี้ จะส่งน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภคและรักษาระบบนิเวศน์เท่านั้น ไม่ให้ใช้เพื่อการเกษตรแล้ว แต่ไม่ต้องห่วงเรื่องสถานีสูบน้ำประปาจะยังคงสูบน้ำได้ และจะรักษาระดับน้ำในแม่น้ำน่านที่ไหลผ่านอำเภอเมืองพิษณุโลกให้ไม่ต่ำกว่า 100 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อไม่ให้กระทบกับระบบการผลิตน้ำประปา แต่สำหรับปลากระชังในแม่น้ำน่าน 1,051 กระชัง มีปลาประมาณ 1 ล้านตัวนั้น รวมถึงเรือนแพ 65 หลัง อาจจะส่งผลกระทบ เพราะระดับน้ำในแม่น้ำน่านจะเริ่มลดลงมากDSC02900

 

สำหรับพื้นที่ทางการเกษตรในเขตชลประทานที่ส่วนใหญ่เป็นนาข้าวนั้น ในปีนี้ในบางโครงการได้เริ่มส่งน้ำให้เกษตรกรได้ปลูกเร็วขึ้น เริ่มปลูก 1 เมษายน 2558ภาพรวมปลูกข้าวไปแล้ว 700,000 ไร่ เมื่อหยุดส่งน้ำเพื่อการเกษตร มีพื้นที่สุ่มเสี่ยงนาข้าวจะเสียหายประมาณ 1.2 แสนไร่ แต่ก็อาจจะไม่เสียหายก็ได้ หากช่วงปลายกรกฏาคมถึงสิงหาคมมีฝนตกลงมา และต้องแจ้งถึงเกษตรกรว่า เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ชลประทานจะไม่ส่งน้ำให้อีก ต้องเสี่ยงใช้น้ำจากน้ำฝนกันเอง การบริหารจัดการน้ำต้องระดับน้ำในเขื่อนหลักไว้ให้มากที่สุด เพราะเหลือเวลารับน้ำจากฝนอีกไม่กี่เดือน ถึงเดือนพฤศจิกายนก็ไม่มีฝนแล้ว ฝนจะมามากน้อยเท่าไหร่ก็ยังไม่ทราบ ถ้าตกน้อยปี2559จะประสบปัญหาภัยแล้งหนักมาก ปีนี้พิษณุโลกเองก็ฝนตกน้อยมาก ฝนตั้งแต่ต้นปีถึงกรกฏาคม2558 มีเพียง 283 มิลลิเมตร จากค่าเฉลี่ยของพิษณุโลกที่มีฝนตกปีละประมาณ 1,300 มิลลิเมตรDSC02895

แสดงความคิดเห็น