ชี้หลุมยุบที่บ้านมุงไม่อันตรายเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ

94552เมื่อเวลา 10.00 น.ของวันที่ 8 ก.ค.2558  นายอนันต์ พรหมดนตรี ผู้อำนวยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพิษณุโลก พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้เดินทางไปตรวจสอบปรากฎการณ์หลุมยุบที่เกิดกลางไร่ข้าวโพดของนายข้าวโพดของนายทองสุก นรมานิตย์ อายุ 72 ปี หมู่ที่ 1 บ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก โดยหลุมดังกล่าว มีขนาดความกว้างประมาณ 6 เมตร ลึกประมาณ 3 เมตร เกิดขึ้นเมื่อกลางดึกของวันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา สร้างความประหลาดใจแก่ชาวบ้านจำนวนมาก94548

โดยหลังจากการตรวจสอบพบว่า เช้าวันนี้บริเวณหลุมดังกล่าวมีขนาดปากหลุมขยายออกเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยประมาณ 10 ซม. และมีดินสไลด์ลงไปในหลุมเพิ่มเติม นอกจากนี้น้ำภายในหลุมได้ยุบลงประมาณ 50 ซม.เนื่องจากนายอำนวย ผิวงาม อายุ 45 ปี อยู่บ้านเลขที่ 82 หมู่ 1 ต.บ้านมุง ซึ่งเป็นเจ้าของแปลงข้าวโพดติดกัน ได้นำเครื่องสูบน้ำมาดึงออกไปใช้เมื่อค่ำคืนที่ผ่านมา พร้อมทั้งหวั่นว่า หากเกิดมีน้ำมากในหลุมก็จะทำให้หลุมมีขนาดใหญ่ขึ้นอีกด้วย94544

นายอนันต์ พรหมดนตรี ผู้อำนวยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพิษณุโลก กล่าวภายหลังสอบหลุมดังกล่าวว่า ในพื้นที่ อ.เนินมะปรางส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน หากมีปริมาณน้ำฝน หรือน้ำใต้ดินมาก ก็จะทำให้เกิดการกัดเซาะของเขาหินปูน กับผิวดิน ก็จะทำให้เป็นหลุมยุบตัวลงไป ซึ่งถือว่าเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องไสยศาสตร์แต่อย่างใด เบื้องต้นได้ทำความเข้าใจกับชาวบ้านในพื้นที่แล้ว ว่าพื้นที่ด้านล่างเป็นพื้นดินชั้นหินปูน ก็จะมีปรากฎการณ์หินยุบตัวได้ โดยเฉพาะในช่วงนี้เป็นหน้าแล้ง มีการสูบน้ำบาดาลในพื้นที่มาใช้มาก ก็จะทำให้ดินยุบได้ ซึ่งในพื้นที่ใกล้เคียงก็เคยพบหลุมดังกล่าวแล้ว ไม่ว่าจะพื้นที่ จ.พิจิตร จ.กำแพงเพชร เป็นต้น และจะพบลักษณะเช่นนี้พบมากในภาคใต้ของประเทศไทย94547

94546

ผู้อำนวยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ลักษณะของน้ำภายในหลุมนั้นอาจมีสภาพน้ำผุดขึ้นมา ซึ่งเกิดจากฟองอากาศที่ไล่ดินขึ้น ไม่ใช่น้ำเดือดแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามอยากชาวบ้านในระแลกนั้น ควรทำแผงกั้นบริเวณปากขอบหลุม เอาไว้ เพื่อป้องกันบุคคลหรือสัตว์ตกลงไปได้ นอกจากนี้หากมีการเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้วก็ควรนำดินมากลบหลุม ให้สู่สภาพเดิม หากทิ้งไว้หลุมอาจขยายวงกว้างและเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ที่อาจตกลงไปได้94550

นายอนันต์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หลุมยุบ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ดินยุบตัวลงเป็นหลุมลึก และมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1-200 เมตร ลึกตั้งแต่ 1 ถึงมากกว่า 20 เมตร เมื่อแรกเกิดปากหลุมมีลักษณะเกือบกลมและมีน้ำขังอยู่ก้นหลุม ภายหลังน้ำจะกัดเซาะดินก้นหลุมกว้างขึ้น ลักษณะคล้ายลูกน้ำเต้า ทำให้ปากหลุมพังลงมาจนเหมือนกับว่าขนาดของหลุมยุบกว้างขึ้น โดยปรกติหลุมยุบจะเกิดในบริเวณที่ราบใกล้กับภูเขาที่เป็นหินปูน เนื่องจากหินปูนมีคุณสมบัติละลายน้ำที่มีสภาพเป็นกรดอ่อนได้ ประกอบกับภูเขาหินปูนมีรอยเลื่อนและรอยแตกมากมายดังจะสังเกตเห็นได้ว่าภูเขาหินปูนมีหน้าผาชัน หน้าผาเป็นรอยเลื่อนและรอยแตกในหินปูนนั่นเอง บริเวณใดที่รอยแตกของหินปูนตัดกันจะเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดโพรงได้ง่าย โพรงหินปูนถ้าอยู่พ้นผิวดินก็คือถ้ำ ถ้าไม่พ้นเรียกว่าโพรงหินปูนใต้ดิน ซึ่งจำแนกเป็น 2 ระดับ คือ โพรงหินปูนใต้ดินระดับลึก (ลึกจากผิวดินมากกว่า 50 เมตร) และโพรงหินปูนระดับตื้น (ลึกจากผิวดินไม่เกิน 50 เมตร) ส่วนใหญ่หลุมยุบจะเกิดในบริเวณท่มีโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น หลุมยุบเกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กรมทรัพยากรธรณีได้รับแจ้งและเข้าไปตรวจสอบพื้นที่มากกว่า 45 แห่ง โดยพบว่าพื้นที่ที่เกิดหลุมยุบอยู่บนที่ราบใกล้ภูเขาหินปูน ภายหลังการเกิดพิบัติภัยแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 พบว่ามีหลุมยุบเกิดขึ้นมากว่า 19 ครั้ง โดยเกิดใน 4 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากธรณีพิบัติภัยครั้งนี้คือ จังหวัดสตูล พังงา กระบี่ และตรัง ถึง 14 ครั้ง เกิดขึ้นในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 4 ครั้ง และเกิดในภูมิภาคอื่นคือ จังหวัดเลย 1 ครั้ง////////////

แสดงความคิดเห็น