ประเมินวิทยฐานะเชียวชาญของผู้อำนวยการเขตพื้นที่

 

S__2269214

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 19  มิถุนายน 2558  ดร.บุญรักษ์  ยอดเพชร  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 เข้ารับการประเมินเพื่อเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  โดยคณะกรรมการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสพความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ มีนายเฉลียว  อยู่เสมารักษ์  เป็นประธานคณะกรรมการประเมิน  ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1

 

การประเมินเพื่อขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จะประเมินใน 3 ด้านคือ  ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ  พิจารณาจากการมีวินัย การประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม รักและศรัทธาในวิชาชีพ มีความรับผิดชอบในวิชาชีพ

S__2269213

ด้านความรู้ความสามารถ พิจารณาจากการพัฒนางานในหน้าที่และการพัฒนาตนเอง ว่าเป็นผู้มีความสามารถในการปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบ พัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความรับผิดชอบ พิจารณาจากการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ผลการทดสอบความรู้จากหน่วยงานหรือสถาบันทางวิชาการที่ ก.ค.ศ. ให้การรับรอง

S__2269211

ด้านผลการปฏิบัติงาน  แบ่งพิจารณาเป็น 3 ส่วนคือผลการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานตามหน้าที่ ความรับผิดชอบ  ผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์   และผลงานวิชาการซึ่งเป็นการพัฒนางานตามข้อตกลง  ซึ่งการผ่านการประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องได้คะแนน ในด้านที่ 1 และ2  จากคณะกรรมการรวมเฉลี่ยแต่ละด้านไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 และมีผลการประเมินด้านที่ 3 ส่วนที่ 3 การพัฒนางานตามข้อตกลง ได้รับการประเมินว่าผ่านจากคณะกรรมการแต่ละคน  เมื่อเสร็จสิ้นการประเมิน คณะกรรมการจะส่งผลการประเมินให้ ก.ค.ศ. เป็นผู้อนุมัติการเลื่อนวิทยฐานะ และต้องผ่านการพัฒนาก่อนแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด

 

จากการบริหารงานของ ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 1 ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา ได้ใช้หลักการบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม  โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ  และพลังความร่วมมือจากภายใน  ภายนอกหน่วยงาน  ภายใต้อุดมการณ์ “เราจะสร้างเด็กดีและเด็กเก่งสู่สังคมไทยและสังคมโลก”  พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษาให้อยู่ในระดับ ดี ในปี 2554  และดีมาก และดีเยี่ยมในปีต่อๆ มา ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับประเทศ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ในปี 2554 -2556 มีค่าเฉลี่ยของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สูงกว่าระดับประเทศ สถานศึกษาผ่านการประเมินจาก สมศ.ในปี 2554 -2555  คิดเป็นร้อยละ 100 เปอร์เซ็นต์  รวมถึงได้รับรางวัลที่เกิดจากการประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ เช่น รางวัลทรงคุณค่า สพฐ  รางวัลสำนักงานที่มีการบริหารจัดการกลยุทธ์ของ สพฐ.ระดับดีเยี่ยม

///////////////

แสดงความคิดเห็น