เจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ วอนนักท่องเที่ยวช่วยกันดูแลจิตกรรมฝาพนังภายในอุโบสถ เก่าแก่ในรัชกาลที่ 2 หลังจากเริ่มชำรุด ผิวพนังหลุดลอก เนื่องจากถูกแดด ถูกฝน และสภาพอากาศ
วันที่ 4 มิ.ย.2558 พระครูสิทธิธรรมวิภัช เจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ ต.ในเมือง อ.เมืองพิษณุโลกได้พาผู้สื่อข่าวเยี่ยมชมภายใน พระอุโบสถ์วัดราชบูรณะซึ่งภายในมีภาพวาดจิตรกรรมฝาพนังสมัยรัชกาลที่ 2 อายุ กว่า 200 ปี ที่ถือว่าสมบูรณ์แห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือ ภาพวาดดังกล่าวเป็นภาพวรรณกรรมเกี่ยวกับรามเกียรติ์ ทั้ง 4 ด้าน โดนแต่ละด้านขณะนี้ภาพที่เกิดการชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา ทั้งจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดและความชื้นที่เกิดสภาพอากาศที่ร้อน และฝนตกที่ทำให้ผิวของภาพวาดหลุดลาก อีกทั้งยังเกิดจากฝีมือนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมและเอามือไปสัมผัสกับภาพทำให้สีเกิดความเสื่อมสภาพและใช้มือแกะสีที่ลอกผ่อนออกทำให้เกิดความเสียหายพระครูสิทธิธรรมวิภัช กล่าวว่า อุโบสถดังกล่าวสร้างขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 2 และสภาพภายในอุโบสถ ก็ถือว่าเป็นภาพที่สวยงามมาก ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร ได้เข้ามาบูรณะอุโบสถและภาพจิตกรรมฝาผนังเมื่อปี 2530 หลังจากนั้นจากสภาพอากาศร้อนจัด ฝนตก ทำให้ภาพเกิดการชำรุดตามสภาพและเกิดจากฝีมือนักท่องเที่ยวที่ชอบเอามือมาสัมผัสกับภาพและแกะสีที่ลอกร่อน จึงอยากวิงวอนนักท่องเที่ยวช่วยกันดูและสถาปัตยกรรมดังกล่าวให้คนรุ่นหลังได้มาศึกษาประวัติความเป็นมา อีกทั้งอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาบูรณะอีกครั้งเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สามารถมาเที่ยวชมได้อย่างตื่นตาตื่นใจ
“วัดราชบูรณะ เป็นวัดเก่าแก่โบราณวัดหนึ่งของจ.พิษณุโลก มีอายุถึงสมัยสุโขทัย วัดแห่งนี้เดิมมีอาณาเขตติดต่อกับวัดนางพญา ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2502 กรมทางหลวงได้ตัดถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก คือ ถนนมิตรภาพ ถนนสายนี้ได้ตัดผ่านเข้าไปในเนื้อที่วัดนางพญาและวัดราชบูรณะ ถนนมิตรภาพได้ตัดเฉียดพระอุโบสถไปอย่างใกล้ชิด จนต้องรื้อย้ายใบเสมามุมพระอุโบสถด้านตะวันออกเฉียงเหนือ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดราชบูรณะไว้เป็นโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53ตอน 34 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 และกรมศิลปากรได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ ดังนี้ คือ ปี พ.ศ. 2528 บูรณะวิหารหลวง ปี พ.ศ. 2530 อนุรักษ์ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ และปี พ.ศ. 2533 บูรณะเจดีย์หลวง โดยเสริมความมั่นคงทางรากฐาน และต่อยอดพระเจดีย์ทรงลังกาซึ่งหักชำรุดหายไปให้บริบูรณ์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นสันนิษฐานว่าได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เพราะได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ แล้วให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องรามเกียรติ์ และมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารแล้วให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องพระพุทธประวัติ โดยจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถนั้น ได้รับความเสียหายจากน้ำฝนและความชื้น จากสภาพหลังคาที่อายุเก่าแก่ จึงนำมาสู่การบูรณะครั้งหลังคาอุโบสถล่าสุดในปี 2556
/////////