ทีมวิจัยมน.ได้รางวัลนำหญ้าแฝกฟื้นฟูดินและน้ำปนเปื้อน

_5060551หญ้าแฝก เป็นหญ้าที่มีประสิทธิภาพป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ในประเทศไทยมีการนำหญ้าแฝกมาช่วยป้องกันดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลันในบางพื้นที่ โดยน้อมนำพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดำเนินการนำประโยชน์ของหญ้าแฝกมาใช้ในพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ  ทั้งมีการส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยการใช้หญ้าแฝก เพื่อพัฒนาประโยชน์การลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ นำมาสู่การเปิดตัวเวทีนำเสนองานวิจัยด้านหญ้าแฝกในระดับนานาชาติ  _5060440

ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 – 8 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะองค์อุปถัมภ์ของเครือข่ายหญ้าแฝกโลก ทรงเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาหญ้าแฝกนานาชาติครั้งที่ 6 โดยมีนายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา หม่อมหลวงจิรพันธุ์ ทวีวงศ์ เลขาธิการ กปร. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากประเทศไทย และต่างประเทศ และผู้เข้าร่วมประชุม เฝ้าฯ เสด็จกว่า 180 คน จาก 30 ประเทศ ร่วมศึกษาดูงานระหว่างวันที่ 9 – 12 พฤษภาคม ภายใต้หัวข้อ “Vetiver System: Empowering Sustainable Development”  ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีดานัง เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม  _5060440

ในการประชุมปีนี้ มีผู้ร่วมนำเสนองานวิจัยระดับนานาชาติจากผลงานวิจัยและใช้งานหญ้าแฝกจาก 26 ประเทศ 5 ทวีป โดยทีมวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) โดย ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ นางสาวพิมพวัฒน์ ธีรฐิตยางกูร นิสิตปริญญาเอก คณะวิศวกรรมศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ วิชัย  คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ และทีมงานวิจัย นำเสนองานวิจัย โครงการ “การสาธิตและประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์หญ้าแฝก ในการบำบัดฟื้นฟูดินและน้ำที่ปนเปื้อนสารฟีนอลจากการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมในตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา อย่างครบวงจร”_5060325 รับรางวัลชนะเลิศ 2 รางวัล ได้แก่ รางวัล The King of Thailand Vetiver Awards (รางวัลงานวิจัยหญ้าแฝกในหลวง) ประเภท Non Agricultural Application (การวิจัยการใช้งานที่นอกเหนือจากเกษตรกรรม) และรางวัล TVNI (The Vetiver Network International Award (เครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติ) สาขา Mitigation of Contaminated Land & Water Research (การวิจัยด้านการลดผลกระทบจากการปนเปื้อนสารอันตรายในดินและน้ำ) จากการนำเสนอบทความวิจัยเรื่อง Laboratory-scaled Developments and Field-scaled Implementations of Using Vetiver Grass to Remediate Water and Soil Contaminated with Phenol and Other Hazardous Substances from Illegal Dumping at Nong-Nea Subdistrict, Phanom Sarakham District, Chachoengsao Province, Thailand _5060489ซึ่งในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะองค์อุปถัมภ์ของเครือข่ายหญ้าแฝกโลก ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัล ประกาศนียบัตร และ เงินรางวัล สำหรับรางวัล The King of Thailand Vetiver Awards จากมูลนิธิชัยพัฒนาunnamed (2)

ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ กล่าวว่า หญ้าแฝก เป็นพืชที่มีความมหัศจรรย์ งานวิจัยที่คณะได้ศึกษาการใช้หญ้าแฝก เริ่มวิจัยตั้งแต่กลไกการสลายสารฟีนอล โดยพบว่า รากของหญ้าแฝกจะหลั่งเอนไซม์ Peroxidase และสาร H2O2 ซึ่งสามารถเปลี่ยนสารฟีนอล ซึ่งเป็นสารอันตรายให้เป็นสารโพลีฟีนอล ที่ไม่มีพิษได้ ก่อนจะถูกย่อยสลายโดยจุลชีพที่ราก (Rhizomicrobes) ของหญ้าแฝก จึงเป็นกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างพืชและจุลชีพนับเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ไม่เคยมีการตีพิมพ์มาก่อน กลไกที่หญ้าแฝกสามารถสลายสารฟีนอลและ Total Petroleum Hydrocarbon อันเป็นสารอันตรายที่ปนเปื้อนดินและน้ำในต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา จากการลักลอบทิ้งน้ำเสียอุตสาหกรรม ได้ประยุกต์ใช้งานการฟื้นฟูดินและน้ำที่ปนเปื้อนสารอันตรายดังกล่าวในพื้นที่จริงจนประสบความสำเร็จ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงานราชการ และสื่อสารมวลชน งานวิจัยชิ้นนี้ ถือเป็นกรณีแรกในโลกที่นำเสนอกลไกการสลายสารฟีนอลโดยหญ้าแฝกอย่างสมบูรณ์และเป็นกรณีแรกที่ใช้หญ้าแฝกฟื้นฟูการปนเปื้อนสารฟีนอลและ Total Petroleum Hydrocarbon จนประสบความสำเร็จในพื้นที่จริง_5060490

อนึ่ง ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ ยังเป็นคนไทยคนแรก ที่ชนะเลิศการประกวดผลงานวิจัยนานาชาติ จากงานวิจัยวิศวกรรมการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนสารอันตราย คือ รางวัล The Best Entrepreneur Award 2014 จาก Takeda Foundation ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในต้นปีที่ผ่านมา และรับรางวัลชนะเลิศ The ProSPER.Net-Scopus Young Scientist Award in Sustainable Development (Category: Sustainable Infrastructure) ประจำปี 2012 โดย the ProSPER.Net, Elsevier, และ United Nation University ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

แสดงความคิดเห็น