รมว.เกษตรฯลงพื้นที่พิษณุโลกติดตามพื้นที่นำร่องทำนาเร็วขึ้น 1 เดือน

DSC_0079รมว.เกษตรฯลงพื้นที่พิษณุโลก ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง   การส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทาน เกษตรกรในเขตโครงการชลประทาน ยม-น่าน และเขื่อนนเรศวร พึงพอใจ กรมชลประทานขยับเวลาส่งน้ำเร็วขึ้น 1 เดือน เพื่อเริ่มทำนาปีนี้ให้เร็วขึ้น  หลีกเลี่ยงความเสียหายจากน้ำท่วม ขณะที่โครงการตำบลละล้านคืบหน้า โครงการผ่านการอนุมัติ จำนวน 6,598 โครงการ 3 พันล้านบาท DSC_0023

วันที่ 17 พฤษภาคม  2558 ที่บริเวณห้องประชุมเขื่อนนเรศวร อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก นาย ปีติพงศ์  พึ่งบุญ อยุธยา ณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางมาประชุมหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พร้อมลงตรวจติดตามโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน   ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง  ติดตามดูพื้นที่ลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่านตอนกลาง ในเขตของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนนเรศวร โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน ที่มักประสบปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว  เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่จะเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวนาปีในช่วงเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนสิงหาคม หรือบางปีหากมีการเลื่อนการเพาะปลูกก็อาจจะเก็บเกี่ยว ในเดือนกันยายนส่งผลให้ผลผลิตเสียหายจำนวนมาก จากสภาวะน้ำท่วมขัง

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา   นายปีติพงศ์  พึ่งบุญ ณ อยุธยา  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในที่ประชุมตอนหนึ่งว่า ว่า  ในปีนี้ ทางกรมชลประทานได้ดำเนินการปรับระยะเวลาการทำนาปี ในพื้นที่  จ.พิษณุโลก ให้เร็วขึ้น 1เดือน ตามความต้องการของเกษตรกรส่วนใหญ่ จากเดิมที่จะเริ่มต้นปลูกในเดือนพฤษภาคม เปลี่ยนเป็นเดือนเมษายน เพื่อให้เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จเรียบร้อยในเดือนกรกฏาคม ก่อนเข้าสู่ฤดูน้ำหลากที่มักเกิดในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคมของทุกปี ซึ่งการปรับระยะเวลาในการทำนาปีนี้นับเป็นครั้งแรกที่ได้ดำเนินการ โดยได้เริ่มส่งน้ำมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 เป็นต้นมา ทำให้ตลอดฤดูฝนนี้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนนเรศวรจะได้รับการจัดสรรน้ำทั้งสิ้น 94 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกได้ประมาณ 95,750 ไร่  ส่วนโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน ได้รับการจัดสรรน้ำจำนวนทั้งสิ้น 264 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วยพื้นที่เพาะปลูกได้ประมาณ 290,694  ไร่  DSC_0040

โดยปัจจุบันพื้นที่ลุ่มต่ำของโครงการฯเขื่อนนเรศวร ทำการเพาะปลูกแล้ว 43,000 ไร่ คิดป็น 72% จากพื้นที่ลุ่มต่ำ 60,000 ไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่กำลังเตรียมแปลงอีกจำนวน 17,000 ไร่  ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำของโครงการฯยมน่าน ทำการเพาะปลูกแล้วประมาณ 150,000 ไร่ คิดเป็น 73 % จากพื้นที่ลุ่มต่ำ 205,000 ไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่กำลังเตรียมแปลงอีกจำนวน 55,000 ไร่  ขณะที่พื้นที่ลุ่มต่ำของโครงการฯพลายชุมพล ทำการเพาะปลูกแล้วประมาณ 19,600 ไร่ คิดเป็น 78%จากพื้นที่ลุ่มต่ำ 25,000 ไร่  ที่เหลือเป็นพื้นที่กำลังเตรียม แปลงอีกจำนวน 5,400 ไร่DSC_0071

ด้าน ม.ล.อนุมาศ ทองแถม  ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่  3 กรมชลประทาน กล่าวเผยถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ชลประทานที่ 3 ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ประกอบด้วย จ.อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร  และนครสวรรค์ ว่า ขณะนี้สภาพน้ำท่า ในลำน้ำปิง ยม และน่าน มีปริมาณน้ำเฉลี่ยราวร้อยละ  15 ของลำน้ำเท่านั้น  ซึ่งน้อยกว่าแผนที่วางไว้ สวนปริมาณน้ำต้นทุนที่มาจาก 3 เขื่อนหลัก คือ เขื่อนภูมิพล ขณะนี้มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,140 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ  8 ของปริมาณการกักเก็บ เขื่อนสิริกิติ์  มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,612 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 17 ของปริมาณการเก็บกักและเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีน้ำใช้การ 179  ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของปริมาณการกักเก็บ

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้กล่าวถึงโครงการตำบลละล้านว่า  สำหรับผลการดำเนินโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ได้มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติทั้งหมด จำนวน 6,598 โครงการ งบประมาณกว่า 3,000 ล้านบาท มีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ 2,605,283 ครัวเรือน เกษตรกรที่ใช้แรงงาน 365,328 ราย ซึ่งลักษณะของกิจกรรมแบ่งเป็น กิจกรรมเพื่อจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของชุมชนจำนวน 3,331 โครงการ คิดเป็น 50.48 %  โดยในส่วนของความคืบหน้าโครงการสร้างรายได้ฯ สำหรับ จ.พิษณุโลก เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ทางการเกษตรที่กระทบภัยแล้ง จำนวน  6 อำเภอ 16 ตำบล  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามความต้องการของชุมชนจำนวน 28 โครงการ งบประมาณ 15,842,781 บาท คิดเป็นจำนวนครัวเรือนเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ 20,398 ครัวเรือน ค่าจ้างแรงงาน 8,340,028 บาท และค่าวัสดุ 7,502,753 บาท

 

//////

แสดงความคิดเห็น