บวงสรวงบูชาศาลหลักเมืองพิษณุโลกประจำปี 2558

10444421_10200317887746914_8632700367636874341_nจัดพิธีบวงสรวงบูชาศาลหลักหลักเมืองพิษณุโลกประจำปี 2558 จัดแสดงมังคละบรรเลง ใช้นางรำมากที่สุดเท่าที่เคยมีมามากถึง 350 คน 11100235_10200317887026896_2702853893511511531_n

     เช้าวันที่ 8 เม.ย.58  ที่ศาลหลักเมืองพิษณุโลก หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองพิษณุโลก นายจักริน  เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีบวงสรวงบูชาศาลหลักเมืองพิษณุโลก ประจำปี 2558 ซึ่งอำเภอเมืองพิษณุโลก ร่วมกับส่วนราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ของอำเภอเมืองพิษณุโลก จัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นหลักชัย หลักใจ แก่ชาวจังหวัดพิษณุโลก ตลอดจนเพื่อเป็นการสร้างความสมานฉันท์ของประชาชนในท้องถิ่น และเป็นศูนย์รวมน้ำใจให้เกิดความสามัคคีของชาวจังหวัดพิษณุโลก และเนื่องในโอกาสประเพณีสงกรานต์หรือเข้าสู่ปีใหม่ไทย 1122

       สำหรับอาคารศาลหลักเมืองพิษณุโลก ตั้งอยู่ที่บริเวณริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอเมืองพิษณุโลก ออกแบบอาคารโดยกรมศิลปากร เป็นแบบยอดปรางค์ มีฐานกว้าง 16.60 เมตร สูง 10.65 เมตร โดยจัดสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2540โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ มาทรงเปิดศาลหลักเมืองพิษณุโลก สำหรับเสาหลักเมืองพิษณุโลกทำจากไม้มงคลหลายชนิด ประกอบด้วยสามส่วน คือ ส่วนลำต้น จากโคนลำต้น ลำต้นถึงลูกฟัก ทำจากไม้ราชพฤกษ์ ส่วนที่สองเป็นท่อนลูกแก้วทำจากไม้ชิงชัน ส่วนที่สามเป็นส่วนยอด(ยอดบัวตูม)ประกอบด้วยลูกแก้วทำจากไม้สักทองตายพราย และได้นำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ดังนั้นในทุก ๆ ปี อำเภอเมืองพิษณุโลกจึงได้ร่วมกันจัดงานบวงสรวงสมโภช ในวันที่ 8 เมษายน ของทุกปี เพื่อความเป็นสิริมงคล และกระตุ้นให้ประชาชนในจังหวัดพิษณุโลกได้ตระหนักและเห็นคุณค่า ความสำคัญของศาลหลักเมืองพิษณุโลก ที่ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่เป็นที่เคารพสักการะของ ประชาชนและนักท่องเที่ยวโดยทั่วไป10155816_10200317889946969_6895591773160127184_n

โดยในปีนี้ถือว่ายิ่งใหญ่กว่าทุก ๆ ปีที่ผ่านมา เรืออากาศตรี ประโยชน์ ลูกพลับ ครูดนตรีมังคละของเมืองพิษณุโลก กล่าวว่าตนพร้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้พร้อมใจกัน ซักซ้อมและฟอร์มทีมนักดนตรีมังคละรุ่นใหม่ขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์เข้าไว้ ซึ่งดนตรีมังคละนี้เป็นดนตรีประจำเมืองพิษณุโลก โดยวันนี้ได้มาทำการบรรเลงถวาย พร้อมกับหญิงงามชาวตำบลบ้านกร่าง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 10 ปี – 70 ปี จำนวนเมื่อรวมกันแล้ว มากถึง 350 คน ซึ่งถือว่ามากที่สุดที่ตนเคยฝึกอบรมมา ได้มาร่วมกันฟ้อนรำ ตามแบบฉบับรำวงมาตรฐาน ประกอบเพลงดนตรีมังคละพิษณุโลก แต่ละคนก็สวมชุดพื้นบ้านของตน หรือชุดที่ใส่ไปทำบุญในวันพระ แต่ละคนต่างก็มีสีหน้าที่สดใส เบิกบาน ฟ้อนรำกันอย่างพร้อมเพรียง ท่ามกลางความสนใจจากประชาชนที่มากราบไหว้ศาลหลักเมือง และภูมิใจที่ได้สร้างประวัติศาสตร์ที่มีการแสดงดนตรีมังคละ ที่ใช้นักดนตรี และนางรำมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา มากถึง 350 คน10930993_10200317889066947_3199703908049453399_n

11110809_10200317888146924_8723929643571572538_n

22183_10200317889626961_1802636017198981215_n

 

ขอบคุณภาพข่าวประชาสัมพันธ์จังหวัดพิษณุโลกและคุณสุรเชษฐ์ มากร

แสดงความคิดเห็น