ชาวบ้านและกลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมภูร่วมกับนอภ.เนินมะปราง จนท.อช.ทุ่งแสลงหลวง ปล่อยจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทยกลับคืนสู่แหล่งอาศัยธรรมชาติดั้งเดิม ที่คลองชมพู บริเวณวังกาดำ ในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง สล.5 (วังแดง) ต.ชมพู อ.เนินมะปรางจ.พิษณุโลก หลังจระเข้ตัวนี้มาติดกับดักของชาวบ้านเมื่อ28 ตค.57และนำไปพิสูจน์สายพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด จ.นครสรรค์
เวลา 14.00 น. วันที่ 4 เมษายน 2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่คลองชมพู ภายในหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ( สล. 5 ) ต.ชมพู อ. เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ได้มีการทำปล่อยจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทยในลุ่มน้ำคลองชมพู ที่ปลายปี 2557 ที่ผ่านมา ชาวบ้านต.ชมพู ดักจับได้ในคลองชมพู ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด จังหวัดนครสรรค์และนำไปพิสูจน์สายพันธุ์ กระทั่งวันนี้ ได้มีการเคลื่อนย้ายจระเข้ตัวดังกล่าวจากนครสวรรค์เพื่อทำการปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของจระเข้ตัวนี้
ในการปล่อยจระเข้น้ำจืด สายพันธ์หายาก กลับคืนสู่ธรรมชาติ โดยช่วงเช้าที่ผ่านมา เจ้าหน้าอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลง สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่11พิษณุโลก และเครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำคลองชมภูได้เดินทางไปรับจระเข้ ที่ศูนย์วิจัยประมงน้ำจืดจังหวัดนครสวรรค์ และเดินทางนำกลับมาที่คลองชมพู ซึ่งชาวบ้านได้เตรียมทำพิธีบวงสรวงและตั้งศาลเจ้าพ่อกาดำตามความเชื่อว่าสายน้ำและผืนป่าแถบนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยปกปักษ์รักษา โดยมีนายสุริยา หาญไพบูลย์ นายกอำเภอเนินมะปราง ร่วมกับชาวบ้านตำบลชมพู เครือข่ายเครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมภู ได้ทำพิธีปล่อยจระเข้ปล่อยคืนสู่คลองชมภู บริเวณวังกาดำ ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง สล.5 (วังแดง)
ทั้งนี้ นายธีรเชษฐ์ โสทอง รองประธานเครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมภู กล่าวถึงการปล่อยจระเข้น้ำจืดยาว 2 เมตร ที่ติดลอบดักปลาของชาวบ้านบริเวณคลองชมพูใกล้หมู่บ้าน ในพื้นที่ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก และหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สล.5 (วังแดง) ได้นำจระเข้ไปไว้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด จังหวัดนครสรรค์ เพื่อทำการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอไปพิสูจน์สายพันธุ์ ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2557 จนกระทั่งได้ดำเนินการเสร็จสิ้น ในวันนี้ เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมภู กลุ่มเที่ยวไทยไปชมภู ชาวบ้าน พร้อมกับหน่วยงานราชการ องค์การบริหารส่วนตำบลชมพู อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง และฝ่ายทหาร จึงได้ร่วมกันนำจระเข้ป่าสายพันธุ์ไทยที่พบนำไปปล่อยคืนสู่คลองชมพูอันเป็นแหล่งอาศัยดั่งเดิมของจระเข้ต่อไป
…………………………………………………………………………………………………………………………