เปิดปฏิบัติการยึดคืนผืนป่าที่พิษณุโลก

DSC_2470อธิบดีกรมป่าไม้เปิดยุทธการพิทักษ์ไพรทวงคืนผืนป่าที่จ.พิษณุโลก ลุยยึดพื้นที่นายทุนปลูกยางพารารุกป่าสงวนฯลุ่มน้ำวังทองฝั่งขวา 2,070 ไร่ ที่ต.บ้านกลาง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก  ย้ำเอาจริงกับนายทุนรุกป่าทุกพื้นที่ นำเอากฎหมายฟอกเงินมาใช้ จะมีการติดตามยึดทรัพย์นายทุนรุกพื้นที่ป่า นำรายได้ที่มีการลักลอบปลูกยางพารายึดเข้าเป็นสมบัติของแผ่นดินDSC_2445

 

เวลา 13.00 น. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558 นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ อธิบดีกรมป่าไม้ ได้เดินทางโดยเฮลิตอปเตอร์มาลงที่สนามโรงเรียนบ้านหินประกาย ต.วังทอง จ.พิษณุโลก เพื่อเปิดยุทธการพิทักษ์ไพรทวงคืนผืนป่าต้นน้ำ ดำเนินการตรวจยึดพื้นที่บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติในพื้นที่ต.บ้านกลาง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ที่ประสบปัญหานายทุนจากภาคใต้มาบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำวังทองฝั่งขวาจำนวนมาก ในวันนี้ ได้มีพื้นที่เป้าหมายตรวจยึดในเขตต.บ้านกลาง 3 จุด เนื้อที่รวม 2,070 ไร่DSC_2432

คณะของนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ อธิบดีกรมป่าไม้ ได้ลงพื้นที่ บ้านสะพานสาม หมู่21 ตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก เป็นจุดแรก เป็นจุดที่จนท.ป่าไม้เข้าตรวจยึดพื้นที่สวนยางพารา อายุประมาณ 3 ปี เนื้อที่ 683 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำวังทองฝั่งขวา จากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศเปรียบเทียบระหว่างปี 2545 ที่พื้นที่เดิมเป็นป่าสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ กับภาพถ่ายทางอากาศในปี 2557 ที่ผืนป่าได้กลายสภาพเป็นสวนยางพารา พื้นที่แปลงนี้ เป็นพื้นที่ป่าที่อยู่ในหุบเขาและเนินเขา พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่ส่งมอบให้สปก.และดำเนินการเอกสารสิทธิ์สปก.ให้ประชาชนโดยรอบไปแล้ว ในวันนี้ได้ทำการตรวจยึดและปักหลักเขตเสาปูน ว่าเป็นแนวเขตพื้นที่ตรวจยึดโดยรอบบริเวณ

DSC_2434

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ อธิบดีกรมป่าไม้  เปิดเผยว่า ในวันนี้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ อาทิเช่น กอ.รมน.จว.พิษณุโลก ฝ่ายทหาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ตำรวจพื้นที่ ผู้นำชุนชน ร่วมกันทำการเปิดปฏิบัติการต่อเนื่องตามนโยบายของนายกรัฐตรี ให้ดูแลผืนป่าให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยมอบหมายให้ติดตามดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันการดูแลรักษาผืนป่าของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกรมป่าไม้ได้นำเอาแนวทางการดำเนินงานตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า “แอเรีย ออพเพอเรชั่น” หรือ เอโอ ที่มีอยู่ 4 ประเภท คือ 1.เอโอ 1 พื้นที่ที่เสร็จสิ้นคดีเรียบร้อยแล้วพร้อมที่จะทำตามมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 2. เอโอ 2 พื้นที่ที่มีการดำเนินคดีอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน อัยการ หรือศาล 3.เอโอ 3 พื้นที่ที่มีการบุกรุกป่าใหม่ รวมถึงพื้นที่ที่มีการดำเนินการตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ต่างๆ และป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกเพิ่มใหม่ และ 4. เอโอ 4 เป็นพื้นที่ที่เป็นป่าสมบูรณ์โดยทางกรมป่าไม้ได้ซักซ้อมการทำงาน โดยเฉพาะ เอโอ 4 ที่ต้องป้องกันให้ได้โดยในปัจจุบันมีพื้นที่อยู่ประมาณ 33 ล้านไร่ ที่ยังเหลือเป็นป่าอยู่ และทางกรมป่าไม้ได้ดูแล

DSC_2453

สำหรับภาพรวมวันนี้ได้เดินทางมาตรวจสอบพื้นที่ที่มีการลักลอบปลูกยางพาราในเขตป่าสงวนแห่งชาติฯ ตอนนี้ที่มีการปลูกอยู่ทั่วประเทศ 4 ล้านไร่ รวมในเขตป่าอนุรักษ์ที่เป็นอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีกประมาณ 1 ล้านไร่ โดยพยามควบคุมพื้นที่ตรงนี้ไม่ให้มีการขยายการปลูกยางพาราที่มากเกินไป โดยเริ่มต้นที่ จ.พิษณุโลก เป็นจังหวัดแรก เพราะมีข้อมูลรายงานว่ามีกลุ่มนายทุนจากภาคใต้มาบุกรุกพื้นที่หลายพื้นที่ ตามขอบชายป่าสมบูรณ์ในหลายจุด ทางกรมป่าไม้ได้เข้ามาตรวจสอบหลายครั้งแล้ว และได้ยึดไปแล้วบ้างตามการทำงานในภาวะปกติของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ แต่ในวันนี้จะเป็นการเปิดยุทธการ “พิทักษ์ไพร” เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันที่ได้มีบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติฯ ซึ่งเดิมเป็นป่าที่สมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของ จ.พิษณุโลก เนื่องจากที่ผ่านมาพื้นที่ตรงนี้อยู่ตรงกลางเรียกว่า “จุดไข่แดง” ทำให้การดูแลของเจ้าหน้าที่เข้าไม่ถึง ผู้ไม่หวังดีจึงลักลอบเข้ามาตัดป่าไม้แล้วจึงแอบมาปลูกเป็นสวนยางพาราดังกล่าวขึ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เข้ามาดูแลและสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดแล้วในขณะนี้

DSC_2464

ทางกรมป่าไม้จะได้ประสานไปยัง สำนักงาน ปปง. ในการนำเอากฎหมายฟอกเงินมาใช้ด้วย ซึ่งกลุ่มนายทุนที่เข้ามาลักลอบหาประโยชน์กับพื้นที่ป่าที่เป็นสมบัติส่วนรวม จะมีการติดตามยึดทรัพย์จากรายได้ที่มีการลักลอบปลูกยางพาราโดยยึดเข้าเป็นสมบัติของแผ่นดิน นำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ จึงขอแจ้งไปยังกลุ่มนายทุนที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ในพื้นที่ จ.พิษณุโลก หรือจังหวัดใกล้เคียงและทั่วประเทศ ทางกรมป่าไม้จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดอย่างแน่นอน

DSC_2475

ส่วนป่าที่ยึดคืนได้จะมีการปรับรูปแบบในการดูแลรักษาป่าให้เป็นป่าชุมชนต่อไป โดยได้มีการพูดคุยกับผู้นำชุมชนในพื้นที่และเสนอที่กรมป่าไม้ มีแนวทางเพิ่มเติมจะได้มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันหลังจากนี้จะเพิ่มเติมเป็นป่าครอบครัวด้วย โดยสามารถที่จะมาขอรับต้นไม้กับทางกรมป่าไม้ซึ่งในปี พ.ศ. 2558 นี้ กรมป่าไม้ได้เตรียมกล้าไม้ไว้สำหรับให้ประชาชนได้ปลูก ไม่ต่ำกว่า 45 ล้านกล้า โดยพันธุ์ไม้หลักที่เน้นให้ประชาชนปลูก คือ ต้นพะยูง ต้นสัก และไผ่ ให้มีการปลูกในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หรือพื้นที่เอกสารสิทธิ์ และสวนป่าต่างๆ ส่วนในอนาคตเรื่องการทำไม้ซึ่งได้ปิดป่ามาเป็นเวลา 25 ปี ทำให้ไม่สามารถเข้ามาหาประโยชน์ได้โดยตรงตามกฎหมาย กรมป่าไม้จึงสนับสนุนทำป่าชุมชนขึ้นมาเพื่อใช้สอย โดยให้ประชาชนเข้ามาขออนุญาตใช้พื้นที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมได้อีกด้วย

DSC_2441

ทั้งนี้ คณะของอธิบดีกรมป่าไม้ได้เดินทางไปตรวจสอบพื้นที่บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำวังทองฝั่งขวาในเขตต.บ้านกลางหลายจุด ส่วนใหญ่รุกจากชายขอบที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์สปก. ต่อเนื่องเข้าไปในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ละแปลงมีพื้นที่บุกรุกจำนวนหลายร้อยไร่ นอกจากนี้ ยังได้บินสำรวจพื้นที่ป่าบริเวณโดยรอบ ที่เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำแควน้อย และแม่น้ำวังทอง นอกจากนี้ คณะของอธิบดีกรมป่าไม้ ยังไปดูการบายพาสต้นสัก ที่ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ ที่ถูกผู้ไม่หวังดีลอบกานให้ต้นสักยืนต้นตาย โดยจนท.ของกรมป่าไม้ ได้ใช้วิธีบายพาส ต่อท่อน้ำเลี้ยงเพื่อช่วยให้ต้นสักมีชีวิตต่อไปได้ และมาช่วยที่ต.คันโช้งได้ผลดี  ท่อน้ำเลี้ยงจากโคนต้นได้เชื่อมโยงไปถึงยอดต้นไม้

แสดงความคิดเห็น