ชาวบ้านวอนช่วยซ่อมฝายยางบ้านบางบ้า ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก รั่ว ชำรุดใช้งานไม่ได้มากว่า 3 ปีแล้ว หน้าแล้งไร้น้ำ ผอ.ชลประทานพิษณุโลกเผยชำรุดมานานและจะไม่เสนอซ่อมปล่อยทิ้งไว้ เสนอสร้าง 2 ประตูระบายน้ำใหม่ ประตูท่านางงามและประตูวังอิทก เก็บน้ำได้มากและประชาชนในพื้นที่ได้ประโยชน์มากกว่า
วันที่ 30 มกราคม 2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้าน หมู่ 1 บ้านบางบ้า ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ได้พาผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจความชำรุดทรุดโทรมของฝายยางของกรมชลประทานที่ก่อสร้างกั้นแม่น้ำยมที่บ้านบางบ้า ที่ปัจจุบันอยู่ในสภาพใช้งานไม่ได้แล้ว ทั้ง ๆ ที่ ตามโครงการน่าจะได้ใช้ประโยชน์ บรรเทาภัยแล้งที่ กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งโครงการฝายยางดังกล่าว ก่อสร้างโดย โครงการชลประทานพิษณุโลก สำนักงานชลประทานที่ 3 ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2543 แต่ปรากฏว่าในปัจจุบัน ฝายมีความเสียหาย ชำรุดทรุดโทรม ยางรั่วหลายแห่ง ไม่สามารถใช้งานได้
นาย ทองเสา แป้นลาภ อายุ 57 ปี อยู่บ้านเลขที่ 53 หมู่ 1 ต.บางบ้า ซึ่งเป็นชาวบ้านที่อยู่ใกล้ฝายยาง เล่าว่า ตนเองและชาวบ้านหลายหมู่บ้าน เคยได้ใช้ประโยชน์ จากฝายยางในการกักเก็บน้ำในช่วงฤดูแล้ง แต่ใช้ได้ไม่กี่ปี จากที่เคยมีเจ้าหน้าที่ดูแล อยู่ ๆ ก็ไม่มี หากชาวบ้านต้องการจะใช้งานฝาย ก็ต้องรวมเงินกัน หาเครื่องสูบน้ำ มาระดมสูบเข้าฝายยางเพื่อให้ฝายพองตัว เก็บน้ำได้ แต่พอหลังจากน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ฝายยางเสียหายหนัก มีรอยรั่วหลายแห่ง ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อีก สภาพของฝายยางปัจจุบันนี้จึงเป็นเหมือนฝายร้าง ใช้ประโยชน์เก็บกักน้ำไม่ได้
นายทองเสา ยังได้กล่าวอีกว่า อยากหน่วยงานเข้ามาดูแลซ่อมแซมฝายให้ใช้กักเก็บน้ำได้เหมือนเดิม เพราะใช้งบประมาณในการสร้างหลายล้านบาท หากมาดำเนินการซ่อมแซม ชาวบ้านก็จะได้ใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง
นายบรรดิษฐ์ อินต๊ะ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลก เปิดเผยว่า ฝายบางบ้ากรมชลประทานได้สร้างมานานแล้ว วัตถุประสงค์เดิมเพื่อกักเก็บน้ำหลังฤดูน้ำหลาก เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีน้ำไว้ใช้ โดยเฉพาะการเลี้ยงโค-กระบือ ที่สมัยก่อนมีการเลี้ยงกันมากในพื้นที่ แต่สภาพปัจจุบันได้เกิดปัญหารั่วและใช้งานไม่ได้มาหลายปีแล้ว ในส่วนนี้ ชลประทานคงต้องลกเลิกการใช้ประโยชน์จากฝายบางบ้า ไม่เสนอซ่อมปรับปรุง เนื่องจากจะได้ประโยชน์น้อย ระดับกักเก็บน้ำค่อนข้างต่ำ
นายบรรดิษฐ์ เผยต่อว่า ชลประทานพิษณุโลก กำลังเสนอการก่อสร้าง ประตูระบายน้ำในแม่น้ำยม 2 จุด ได้แก่ ประตูท่านางงาม ในเขตต.ท่านางงาม อ.บางระกำ อยู่ด้านทิศใต้ของฝายบางบ้าไปเล็กน้อย และ 2. ประตูวังอิทก ตัวโครงการอยู่ในเขตตำบลกำแพงดิน อ.สามง่าม จ.พิจิตร ทั้วง 2 ประตูระบายน้ำที่กั้นไม่น้ำยม จะได้ประโยชน์ต่อพื้นที่เกษตรของอำเภอบางระกำอย่างมาก ทั้งต.วังอิทก ต.บางระกำ ต.ท่านางงาม ต.ชุมแสงสงคราม และต.คุยม่วง โดยเฉพาะประตูท่านางงาม จะกักเก็บน้ำได้มากกว่า ยกระดับได้สูงกว่านำงบประมาณมาซ่อมฝายบางบ้า ขณะนี้ ประตูวังอิทกได้ออกแบบแล้ว ขณะที่ประตูท่านางงามกำลังออกแบบ และเนื่องจาก แม่น้ำยม เป็นลุ่มน้ำสายหลักของชาติ การก่อสร้างโครงการใด ๆ จะต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ใช้เวลาอย่างน้อย 18 เดือน และขณะนี้ เริ่มทำโครงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับประตู