ชาวนาบางระกำร้องขายข้าวไรท์เบอรี่ 5 เดือนแล้วไม่ได้เงิน

pp (14)ชาวนาอำเภอบางระกำ จ.พิษณุโลก กว่า 50 รายรวมตัวที่หน้าลานตากข้าววังเป็ดเกษตรยนต์  ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ หมู่ 2  ต.บาระกำ  อ.บางระกำ  จ.พิษณุโลก หลังจากขายข้าวไรท์เบอรี่ให้กับเอกชนและนำมาฝากไว้ที่ลานตากข้าวจำนวน 635 ตัน  โดยตกลงสัญญาขายข้าวในราคาตัน 13,000 บาท แต่หลังจากส่งมอบข้าวให้นานกว่า 5เดือนแล้วยังไม่ได้รับเงินแต่อย่างใด จังหวัดรุดช่วยเหลือ เอกชนถูกนายทุนปฏิเสธรับซื้อจึงกระทบกับที่ทำสัญญากับชาวนาไว้ เตรียมหาผู้ซื้อรายใหม่เพื่อนำเงินให้ชาวนาต่อไป

pp (11)

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่   18 มกราคม 2558  ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่ามีชาวนามารวมตัวอยู่ที่บริเวณหน้าลานตากข้าววังเป็ดเกษตรยนต์  ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ หมู่ 2  ต.บาระกำ  อ.บางระกำ  จ.พิษณุโลก เพื่อเรียกร้องเรื่องการขายข้าวไม่ได้เงิน หลังจากขายข้าวไรท์เบอรี่ให้กับนายอัมพร  หรือ นายธนะโชติ  พลท้าว  อายุ 47 ปี บ้านเลขที่  1044 หมู่ 2  ต.นิคมพัฒนาบาระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นเอกชนที่มาติดต่อให้ชาวนาปลูกข้าวไรท์เบอรี่และรับประกันจะรับซื้อข้าวในราคาตันละ 13,000 บาท โดยได้เข้ามารับซื้อข้าวจากชาวนา เมื่อสัญญาการเก็บเกี่ยวข้าวรอบแรก ช่วงเดือนสิงหาคม 2557และบอกว่า 1 สัปดาห์จะนำเงินมาจ่ายให้  ชาวนาก็รอเงินมานานกว่า    5  เดือน  นายอัมพร ก็ไม่นำเงินจากจ่ายให้ชาวนา จนกระทั่งชาวนาติดต่อให้โรงสีมารับซื้อข้าว แต่ก็ยังไม่สามารถขายข้าวได้อีก ชาวนาจึงรวมตัวมาเรียกร้องเพื่อขอข้าวไปจำหน่ายให้โรงสีเพราะต้องการเงินไปใช้หนี้สินpp (4)

pp (7)

นายวินัย  ครุธพาหะ อายุ 45 ปี ชาวนาต.หนองกุลา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก   กล่าวว่า ตนได้รับการเชิญชวนจากนายอัมพร ให้ปลูกข้าวไรท์เบอรี่เพราะจะรับซื้อในราคาเกวียนละ 13,000 บาท ได้มีการทำสัญญา ตนเห็นว่าราคาสูงอีกทั้งราคาข้าวขาว ปัจจุบันราคาอยู่ที่ 5,000-5,500 บาท จึงได้ตัดสินใจปลูกในเนื้อที่ 65 ไร่  จึงได้ลงมือปลูกข้าวไรท์เบอรี่ ขายให้นายอัมพร รวมจำนวน 16 ตัน  แต่เมื่อมาฝากขายบอกจะได้เงินภายใน  1 สัปดาห์จะได้เงิน แต่จนถึงปัจจุบันนานกว่า 5  เดือนแล้วก็ยังไม่ได้รับเงินแต่อย่างใด

pp (2)

ต่อมา ทางจังหวัดพิษณุโลก โดยนายพงษ์พัฒน์   วงศ์ตระกูล ปลัดจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย นายดิเรก  ยิ้มห้อย เกษตรอำเภอบางระกำ  เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และตัวแทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้เดินทางมารับฟังปัญหาจากชาวนา  โดยเบื้องต้นทราบว่า ชาวนาดังกล่าวได้นำข้างพันธุ์ไรท์เบอรี่ รวมจำนวน 635 ตัน ส่งให้นายอัมพร ขายตามสัญญาที่ได้ทำตกลงกันไว้ โดยนำข้าวมาตากและเก็บรักษาไว้ที่ลานตากข้าววังเป็ดเกษตรยนต์ ของ นายเชาว์  ยาประเสริฐ  เจ้าของ นอกจากนี้ยังได้เชิญนายอัมพร ที่เป็นคนทำสัญญาซื้อขายข้าวไรท์เบอรี่มาประชุมแก้ไขร่วมกับกลุ่มเกษตรกรด้วย

pp (8)

เบื้องต้นนายอัมพร กล่าวว่า ตนได้เริ่มทดลองปลูกข้าวไรท์เบอรี่เมื่อปี 2551 ช่วงแรกก็ขายได้ไม่ดี แต่มั่นใจว่าอนาคต ข้าวไรท์เบอร์รี่ต้องขายได้แน่ และก็ปลูกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่มีปัญหาทางการตลาดแต่อย่างใด จากนั้นได้มารู้จัก ดร. รณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล ที่จังหวัดร้อยเอ็ด  เข้ามาแนะนำการปลูกข้าว จนได้ผลสำเร็จ จากนั้น ดร.ก็สั่งซื้อข้าวจากตน ซึ่ งเมื่อปีที่2557 ก็ทำผลผลิตและขายข้าวได้ราคาดี จากนั้น ดร. รณวริทธิ์ ก็บอกว่าต้องการออเดอร์ข้าวโดยให้ตนหาจำนวน 3,000 ไร่ ซึ่งตนเห็นว่าทำคนเดียวไม่ได้แน่จึงได้รวมกลุ่มขึ้นและทำสัญญากับทางกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางระกำ โดยตนเองได้เข้าไปติดต่อกับ ตัวแทนเหล่าเกษตรกรในพื้นที่ อ.บางระกำจนสามารถได้ พื้นที่ปลูกข้าวไรท์เบอรรี่ จำนวน กว่า 2,700 ไร่ สัญญาว่าจะรับซื้อข้าวไรท์เบอรี่ในราคา 13,000 บาทต่อ จนเมื่อถึงเวลากลุ่มเกษตรกรที่ตนทำสัญญาไว้ก็เริ่มนำข้าวมาส่งให้ตน ตนจึงได้ ติดต่อ กับ นาย เชาว์ เจ้าของลานตากไว้ให้ช่วยเก็บข้าวและตากจากนั้นจะนำไปข่ายให้กับ ดร. รณวริทธิ์เมื่อติดต่อไป ดร. รณวริทธิ์กลับบ่ายเบี่ยงปฏิเสธและบอกว่าข้าวที่ส่งไปมีกลิ่นเหม็น รับไม่ได้ ตนจึงรู้สึกตกใจก็หาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ได้พยายามติดต่อผู้ซื้อรายใหม่แต่ก็ไม่สำเร็จ ก็ไม่รู้จะหาทางอย่างไร ทำได้แต่พยายามหาผู้ซื้อ มารับซื้อข้างไรท์เบอรี่ ทางกลุ่มเกษตรกรก็มาทวงสัญญา เบื้องต้นก็ได้นำข้าวบางส่วนไปขายให้กับผู้ซื้อ52 ตัน 970 กิโลกรัม แต่ที่เหลือจำนวนมากยังหาตลาดไม่ได้pp (5)

 

ด้านนายเชาว์  เจ้าของลานตากข้าว กล่าวว่า ตนได้รับการติดต่อจากนายอัมพรว่าจะนำข้าวไรท์เบอรี่ของเกษตรกรมาฝากเก็บและช่วยตากข้าวให้เรียบร้อย ซึ่งเบื้องต้นมีเกษตรกรนำข้าวมาฝากทั้งสิ้น  635 ตัน และนายอัมพรได้มาเอาออกจากโกดังไป  52 ตัน 970 กิโลกรัม เบื้องต้นก็เคยเตือนนายอัมพรแล้วว่าการรับซื้อข้าวสดในราคา 13,000 บาท เป็นไปไม่ได้มีแต่ขาดทุน จนมาเกิดปัญหา อีกทั้งข้าวที่นำมาฝากขายเป็นข้าวสดเมื่อนำมาตากแห้งน้ำหนักที่ชั่งไว้ที่แรกย่อมขาดหายไปทางกลุ่มเกษตรกรต้องยอมรับว่าเมื่อขายข้าวจะต้องเป็นข้าวแห้งและหักจากน้ำหนักที่หายไปด้วย ในเบื้องต้นทางกลุ่มเกษตรยอมรับโดยให้ทางลานตากข้าวชั่งน้ำหนักข้าวที่เหลือในปัจจุบัน โดยจะหักจากน้ำหนักข้าวสดที่นำมาชั่งที่แรกประมาณ 30-35 % และจะจำหน่ายให้กับผู้ที่มารับซื้อในราคา 11,000 บาท ซึ่งได้รับการติดต่อมาแล้ว

pp (3)

โดยนายพงษ์พัฒน์ วงศ์ตระกูล ปลัดจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่นายอัมพร ไปทำสัญญาว่าจะรับซื้อข้าวไรท์เบอรี่ในราคา ละ 13,000 บาท แต่เมื่อไม่สามารถขายได้อีกทั้งเกษตรกรก็ไม่ยอม ทำให้ต้องเร่งแก้ปัญหาเบื้องต้นก็ได้มีการตกลงกับกลุ่มเกษตรกรที่มาชุมนุมว่าทุกวันนี้ข้าวที่เก็บไว้เป็นข้าวแห้งแล้วต้องนำน้ำหนักข้าวที่เก็บไว้มาชั่งเพื่อจะได้ทราบว่าน้ำหนักข้าวเหลืออยู่เท่าไรและหายไปจากเดิมเท่าไร ซึ่งเบื้องต้นน่าจะประมาณ 35% จากนั้นก็จะได้ขายข้าวที่เหลือให้กับผู้ที่มารับซื้อในราคาเกวียนละ 11,000 บาท ซึ่งขณะนี้มีผู้มารับซื้อไปแล้ว 100 ตันและจะรับซื้อเพิ่มอีก 100 ตัน ในเบื้องต้น ส่วนในอีก 52 ตัน ที่นายอัมพรนำออกไปก็ต้องติดตาม แต่อย่างไรก็ต้องทำความเข้าใจกับชาวนาที่นำข้าวมาฝากขายกับนายอัมพรให้เข้าใจตรงกันทั้งหมดก่อนโดยให้เกษตรอำเภอบางระกำนัดประชุมกับชาวนาทั้งหมดอีกที พร้อมทั้งจะได้ให้ส่งตัวแทนมาร่วมประชุมกับทางจังหวัดพิษณุโลก การค้าภายใน เกษตรจังหวัด และพาณิชย์ เพื่อหาทางช่วยเหลือชาวนาและวิธีการขายข้าวที่ยังเหลือให้หมดไป

 

แสดงความคิดเห็น