พิษณุโลกวิปโยค 2 มกราคม พ.ศ.2500

0011วันนี้ในอดีต 57 ปีที่แล้ว ไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลก 2 มกราคม พ.ศ. 2500 ฝีมือดช.วัย 4 ขวบเล่นไม้ขีดไฟ ผลาญทั่วเมืองข้ามวันข้ามคืน

0004

สวัสดีปีใหม่ 2558 แฟน ๆ ผู้ติดตามเว็ปไซด์พิษณุโลกฮอตนิวส์  ตลอดปี 2557 ที่ผ่านมาพิษณุโลกฮอตนิวส์นำเสนอข่าวสารเรื่องราวเหตุบ้านการเมืองสังคมคนพิษณุโลกมากมายหลายประเด็น รอบปี 2557 เอง ก็เกิดเหตุไฟไหม้ในจังหวัดพิษณุโลกบ่อยครั้งมาก ทั้งในเขตอ.เมืองพิษณุโลกและอำเภอต่าง ๆ ความเสียหายมากบ้างน้อยบ้าง วันนี้ พาท่านย้อนรอยอดีต เหตุการณ์แห่งความทรงจำ บันทึกจากคำบอกเล่าของรุ่นปู่ย่าตายายคนพิษณุโลกบ้านเรา พิษณุโลกวิปโยค 2 มกราคม พ.ศ. 2500 เหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลก ไฟไหม้อาคารบ้านเรือนในเขตตลาดข้ามวันข้ามคืน ความสูญเสียมหาศาล และปัจจุบัน ยังพบเห็นภาพเหตุการณ์ไฟไหม้นี้ ตามพิพิธภัณฑ์  ร้านอาหาร ต่าง ๆ

0003

จากคำบอลเล่าและบันทึกที่เก็บมา พิษณุโลกวิปโยค เกิดขึ้นในเวลา 08.50 น.วันที่ 2 มกราคม 2500 ไฟไหม้บ้านเรือนร้านค้าประชาชนกินเวลา 24 ชั่วโมง ค่าเสียหาย 150 ล้านบาท ด้วยน้ำมือของเด็กวัย 5 ขวบ ต้นเพลิงร้านศิริวัลย์ ด้วยความซุกซน เอาแบบเสื้อที่ทำด้วยกระดาษ ไปเผาบนที่นอน จนลุกลามไฟไหม้บ้านตนเองและต่อเนื่องเกือบหมดตลาด ( ข้อมูลการเก็บภาพถ่ายเก่าในอดีตจากพิพิธภัณฑ์บัญชา )

00065

ปี 2557 ที่ผ่านมา พิษณุโลกฮอตนิวส์มีโอกาสได้ทำข่าวการยกเลิกกิจการรถเมล์บ้านเรา พบกับคุณนรินทร์ศักดิ์  บูรณะเขตต์ ผู้บริหารรถเมล์บ้านเราที่เลิกกิจการไปเมื่อ 30 พย.57 ทำให้คลายความสงสัยและได้รับฟังเหตุการณ์ เด็ก มือต้นเพลิงที่เล่นไม้ขีดไฟ คือ ดช.อู๊ด หรือ นายเชาวลิต  บูรณะเขตต์ น้องชายคนที่ 4 ของคุณนรินทร์ศักดิ์ บูรณะเขตต์  ต้นเพลิงคือร้านศิริวัลย์ ร้านสอนตัดเสื้อของแม่คุณนรินทร์ศักดิ์ ที่ปัจจุบันอยู่แถว ๆ บ้านพักอัยการ บริเวณร้านทันตแพทย์วิไลวรรณ ( ตรงข้ามกับพิษณุโลกยานยนต์แห่งเดิม )

0001

คุณนรินทร์ศักดิ์ เล่าให้ฟังว่า ในอดีตบ้านเรือนร้านค้าล้วนสร้างด้วยไม้เกือบทั้งหมด และสร้างติด ๆ กัน ถนนหนทางก็ไม่ได้กว้างเหมือนปัจจุบัน บ้านของคุณนรินศักดิ์ที่คุณแม่เปิดเป็นร้านสอนตัดเสื้อ ก็เป็นอาคารไม้ ชั้นล่างเป็นโรงเรียนสอนตัดเสื้อ ด้านบนเป็นที่พักอาศัย และมีนักเรียนที่มาเรียนตัดเสื้อพักอาศัยอยู่ด้วย ช่วงนั้นคุณนรินทร์ศักดิ์ เรียนอยู่ชั้นม. 1 โรงเรียนนวลนรผล อายุประมาณ 10 ขวบ และวันที่ 2 มกราคม 2500 ก็เป็นวันหยุดการเรียนการสอนและเพิ่งเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ ช่วงเกิดเหตุคุณนรินทร์ศักดิ์ออกไปยิงนกเที่ยวเล่นกับเพื่อน ๆ แถว ๆ บ้านเต็งหนาม ตำบลหัวรอ มองกลับมาในตัวเมืองเห็นควันไฟมาแต่ไกลจากตัวเมือง จึงรีบกลับบ้าน ปรากฏว่าเมื่อมาถึงไฟก็ลุกลามไหม้ตลาดไปเกือบหมดแล้ว บ้านก็ถูกไฟไหม้หมด ไม่มีเหลือ ตามหาพ่อแม่น้อง ๆ อยู่นาน แต่สุดท้ายก็เจอกัน ไฟไหม้ครั้งนั้นนานมาก รถดับเพลิงจากจังหวัดข้างเคียงมากันหมด ทั้งสุโขทัย พิจิตร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ แต่ก็ไม่สามารถสกัดเพลิงได้ เป็นหน้าหนาวด้วย ลมแรง จนไฟที่ลุกติดอาคารมอดไปเอง0004

คุณนรินทร์ศักดิ์ เล่าต่อว่า เป็นช่วงเวลาที่ครอบครัวยากลำบากมาก ตัวเราวัยรุ่นและเป็นเด็กก็ไม่ได้รู้สึกลำบากอะไร ตำรวจก็สอบสวนถึงบ้านต้นเพลิง จำได้ว่าตำรวจพาดช.อู๊ด และพ่อแม่ไปสอบสวนที่โรงพักอยู่หลายวัน ดช.อู๊ด ตอนนั้นอายุประมาณ 4 ชวบ ก็ทำท่าจุดไม้ขีดไฟให้ตำรวจดู โดยให้การว่าจุดไฟเล่นบนที่นอน และติดลามไปที่มุ้ง จนลามติดตัวบ้านที่ทำด้วยไม้และไหม้อย่างรวดเร็ว สุดท้ายตำรวจก็ไม่ได้ตั้งข้อหาอะไร เพราะคนจุดยังเป็นเด็ก จากนั้นครอบครัวตนก็ไปพักอาศัยอยู่บ้านญาติที่ตำบลหัวรอ ประชาชนจากทั่วประเทศก็มาบริจาคสิ่งของนำเงินมาช่วยเหลือ และสร้างบ้านแปลงเมืองกันใหม่ จนเป็นแบบแปลนที่ถนนหนทางกว้างขวางขึ้น จากนั้น ครอบครัวตนก็อพยพไปประกอบกิจการที่กรุงเทพฯ ส่วนน้องชายตน ดช.อู๊ด ได้ประสบอุบัติเหตุรถคว่ำเสียชีวิตไปแล้วที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2526 ส่วนตนเองก็ได้กลับมาพิษณุโลกอีกครั้ง เมื่อมาบริหารงานกิจการรถเมล์บ้านเราร่วมกับภรรยา

0009

ปัจจุบัน ย่านตลาดร้านค้าของเมืองพิษณุโลกบ้านเราได้กลายสภาพมาเป็นอาคารราชพัสดุเป็นส่วนใหญ่ จากข้อเขียนของ คุณกล้าณรงค์  ภักดิ์ประไพ รถท่องเที่ยวชมเมืองพิษณุโลก ที่เขียนเรื่อง 56 ปี อาคารราชพัสดุ ลงในเว็ปไซด์พิษณุโลกฮอตนิวส์ เมื่อ17 มกราคม 2556 ได้เล่าถึงเหตุการณ์ไฟไหม้พิษณุโลกครั้งใหญ่ว่า  ที่ 2มกราคม2500 อยู่ในช่วงเฉลิมฉลองปีใหม่ 25ศตวรรษ ต้นเพลิงเกิดที่บ้านประกอบอาชีพเย็บผ้าโดยเด็กชายอายุประมาณ4ขวบ ที่เล่นไม้ขีดไฟบนชั้นสองแม่เย็บผ้าด้านล่างบริเวณ  (ปัจจุบันเป็นบ้านพักอัยการหรือซอยหมอศิวะฤทธิ์ ถ.เอกาทศรถลุกลามไปถึง ถ.พุทธบูชาตลาดใต้เทศบาล1เพลิงดับที่ ถ.สุรสีห์  ศาลพ่อปุ่นเถ้ากง, ทิศเหนือสุดสถานีตำรวจ ถ.นเรศวร)  ตามผลสรุปของการสอบสวนในสมัยนั้น ความสูญเสียของคนสมัยนั้น ขาดที่อยู่อาศัย สิ้นเนื้อประดาตัวกว่า6,000คน ต้องนอนตามสถานที่ๆจัดให้,บ้านญาติ,โรงเรียนหรือวัดวาอาราม ฯลฯ0008

0010“อาคารราชพัสดุ” ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก ต้องย้อนไปครั้งเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2500  ผลอัคคีภัยครั้งนั้นก่อเกิดผังเมืองใหม่ ฝั่งค้าขายและฝั่งหน่วยงานข้าราชการ ,อาคารบ้านเรือนที่ทันสมัย,มีตราสัญลักษณ์และชื่อปีพ.ศ., ถนนที่มีชื่อเป็นเอกลักษณ์สะดวกในการจราจรยุคนั้น ,การเปลี่ยนแปลงการเมืองท้องถิ่น มีคณะ18อาสามาเป็นเทศบาล,ให้ชาวเมืองมีบทบาทมากกว่าข้าราชการของรัฐ  และที่สำคัญสุดคือการเกิดความสามัคคีมีน้ำใจของชาวเมืองมุ่งพัฒนาท้องถิ่น0005

 

2 มกราคม 2558

ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์บัญชา และคุณกล้าณรงค์  ภักดิ์ประไพ รถรางท่องเที่ยวชมเมืองพิษณุโลก

แสดงความคิดเห็น