ยกระดับภาคี “เครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนระดับแกนนำ” เพื่อช่วยเหลือและเข้าถึงประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติในพื้นที่ รวดเร็ว ปลอดภัย ลดอัตราการเสียชีวิต มีประชาชนที่ใช้วิทยุสื่อสารสมัครเล่น ทั้ง 17 ภาคเหนือ รวม 120 คนเข้าร่วมโครงการ ที่โรงแรมลาพาโลมา อ.เมือง จ.พิษณุโลก
เวลา09.00 น. วันที่ 22 ธ.ค.57 ที่โรงแรมลาพาโลมา อ.เมือง จ.พิษณุโลก ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จัดโครงการสร้าง“เครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนระดับแกนนำ” โดยที่ พล.ร.อ.เกาะหลัก เจริญรุกษ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดงานโดยมีประชาชนที่ใช้วิทยุสื่อสารสมัครเล่น ทั้ง 17 ภาคเหนือ รวม 120 คนเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ซึ่งโครงการสร้าง“เครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนระดับแกนนำ” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-23ธันวาคม 2557 โดยมีกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และภูมิปัญญาร่วมทั้งการมีส่วน ร่วมการแสดงความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์แก่การเตือนภัยและการฝึกซ้อมการ ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการและแผนเผชิญเหตุในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการ ทดสอบเครื่องมือสื่อสารแจ้งเตือนภัย
ขณะที่ นายมนัส ทองแสง ผู้ทรงคุณวุฒิศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่าการจัดโครงการสร้าง“เครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชน ระดับแกนนำ”มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและเสริมศักยภาพให้แก่“เครือข่ายศูนย์ เตือนภัยพิบัติแห่งชาติภาคประชาชน ระดับแกนนำ”ให้มีความเข้มแข็งและเตรียมความพร้อม ในการเผชิญเหตุการณ์โดยเฉพาะในการแจ้งเตือนและการกระจายข่าวภัยพิบัติให้ รูปธรรมนำไปปฏิบัติได้ในการแจ้งเตือนภัย และนำความรู้ด้านภัยพิบัติและการเตือนภัยไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับ สมาชิกอื่นได้รับทราบ พื้นที่ของภาคเหนือมีความเสียงต่อภัยพิบัติด้าน ดินโคลนถล่มสูง และส่งผลต่อความสูญเสียในทรัพย์สินและชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ทำให้ต้องมีการพัฒนาและให้ความรู้ในด้านของการสื่อสารเพื่อให้สามารถเข้า ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติได้อย่างรวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ยังได้นำ รถวิทยุสื่อสารโมบาย ที่ได้นำเครื่องมือวิทยุสื่อสารไปติดตั้งภายในตัวรถยนต์พร้อมกับติดตั้งเสา สัญญาณกระจายคลื่นความถี่ของวิทยุสื่อสาร เพื่อให้สามารถที่จะเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติได้รวดเร็วและนำ รถไปจอดใกล้พื้นที่ประสบภัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเป็นสื่อกลางการรับ-ส่งสัญญาณวิทยุสื่อสารพกพาระหว่าง ประชาชนที่ใช้วิทยุสมัครเล่น(เครื่องแดง) กับเจ้าหน้าที่ข้าราชการที่มีวิทยุราชการ(เครื่องดำ) เพื่อร่วมมือกันระหว่าง เจ้าหน้าที่รัฐ กับประชาชนในพื้นที่ในการติดต่อสื่อสารตามหาผู้ที่ตกค้างและให้การช่วยเหลือ ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บในพื้นที่ประสบภัย ได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ให้เกิดการสูญเสียทางชีวิตหรือเกิดการสูญเสียทางชีวิตของผู้ประสบภัย ให้น้อยที่สุด