เตรียมปล่อยพันธุ์ปลาเค้าขาว200,000ตัวลงสู่แหล่งน้ำ

DSC_0042ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก หลังประสบความสำเร็จเพาะพันธุ์ปลาเค้าขาวได้แห่งแรกในปีที่ผ่านมา พบว่าสามารถขยายพันธุ์เกินคาด ปล่อยลงแหล่งน้ำปีแรกกว่า 3 แสนตัว และในปี2558มีแผนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำทั่วพิษณุโลก จำนวนกว่า 200,000 ตัวDSC_0016

วันที่ 18 ธ.ค. 2557  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก นายเมธา  คชาภิชาติ นักวิชาการประมงชำนาญการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก กล่าวว่า หลังจากทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก ประสบความสำเร็จในการผสมพันธุ์เทียมปลาเค้าขาวแห่งแรกของประเทศไทยในปีที่ผ่านมา จนปัจจุบันมีพ่อพันธุ์แม่พันธุ์รวมกันกว่า 400 ตัว และที่บ่อดินที่เป็นลูกปลาจำนวนมาก พร้อมเตรียมนำไปกระจายตามแหล่งน้ำต่างๆ ในจังหวัดพิษณุโลกกว่า 200,000 ตัว ภายในปี 2558DSC_0114

นายเมธา  คชาภิชาติ นักวิชาการประมงชำนาญการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก กล่าวว่า หลังจากปลาเค้าขาวในแม่น้ำของจังหวัดพิษณุโลก ประสบปัญหาจำนวนปลาที่ลดลงเนื่องจากปัจจุบันพื้นที่น้ำท่วมหลากลดน้อยลง ส่งผลต่อการกระตุ้นปลาให้ผสมพันธุ์วางไข่ อีกทั้งเรื่องของสิ่งแวดล้อมและปลาเค้าขาวในธรรมชาติเป็นที่นิยมรับประทานจึงมีการจับมาก จำนวนปลาเค้าขาวจึงลดลง ดังนั้นทาง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก จึงได้ทำการวิจัยเพาะพันธุ์ปลาและผสมเทียมปลาเค้าขาว จนในที่สุดประสบความสำเร็จ สามารถเพาะพันธุ์ปลาเค้าขาวด้วยวิธีผสมพันธุ์เทียมแห่งแรกของไทย ตั้งแต่ปี 2556 ที่ผ่านมา และทำการเพาะพันธุ์ปล่อยคืนแหล่งน้ำทางธรรมชาติ โดยเฉพาะเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และลุ่มน้ำน่าน โดยได้ทำการปล่อยไปแล้วกว่า 300,000 ตัว ส่วนในปี 2558 นี้จะทำการปล่อยเพิ่มอีก 200,000 ตัวDSC_0027

นายเมธา  คชาภิชาติ นักวิชาการประมงชำนาญการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก กล่าวอีกว่า ปลาเค้าขาวที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด รสชาติดี มีราคาค่อนค้างสูง ลักษณะส่วนหัวมีขนาดใหญ่และยื่นแหลม ความยาวของหัวมากกว่าความยาวครีบอกและครีบก้น ตามีขนาดเล็กไม่มีเยื้อปิดตา ปากกว้าง มุมปากยาวเลยหลังตา ขนาดปกติจะมีขนาด 70-80 ซ.ม. จะผสมพันธุ์วางไข่ช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ซึ่งทางศูนย์ฯ ได้ออกทำการศึกษาและนำปลาเค้าขาวมาเลี้ยงจนมีความสมบูรณ์แข็งแรงและเริ่มผสมเทียมจนสำเร็จ ซึ่งตอนนี้สมารถผลิตลูกปลาได้จำนวนมากและที่เลี้ยงไว้มีความยาวกว่า 4-5 นิ้ว ส่วนใหญ่ประชาชนจะนิยมรับประทานปลาเค้าขาวมากกว่าปลาเค้าดำ เนื่องจากมีรสชาตที่อร่อย หอมหวานDSC_0056

DSC_0100

นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาวิธีเลี้ยงเพื่ออนาคตส่งเสริมเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ช่วงนี้ยังต้องศึกษาเพราะขั้นตอนการเลี้ยงปลาเค้าขาวจะลำบากมากในช่วงอนุบาล แต่ก็เริ่มสามารถเพาะเลี้ยงให้กินอาหารเม็ดได้ก็จะสามารถส่งเสริมให้เลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจต่อไป.

………………………………………………………………….

แสดงความคิดเห็น