เปิดตัว ”สภาฅนเหนือล่าง” เป็นกลไกขับเคลื่อนตรวจสอบระยะสั้นระยะยาว

ๅๅวันที่ 18 ธันวาคม 2557  ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก นายสาคร สงมา คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเหนือตอนล่าง นายสณัฐวุฒิ อุปปะ เครือข่ายทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ภาคเหนือตอนล่าง  เปิดเวทีเสวนา “เสียงคนเหนือล่างกับการปฏิรูป”โดยประชาชนเข้าร่วมประมาณ 100 คน

นายบุญยืน วงศ์สงวน หนึ่งในคณะกรรมการฯกล่าวว่า  เสียงประชาชนบนเส้นทางปฏิรูป” จาก ๓๘๐ คน ๖๐ องค์กรภาคประชาชน ต้องการขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิรูปประเทศไทย  จึงได้เปิดตัว” สภาฅนเหนือล่าง”เป็นกลไกขับเคลื่อน ตรวจสอบระยะสั้น ระยะยาว

ระยะสั้น ติดตามข้อเสนอ เชื่อมร้อยกันภายในภาคเหนือตอนล่างและเชื่อมโยงกับองค์กรที่เกี่ยวข้องในการปฏิรูปประเทศ พัฒนาสู่กลไกการติดตามตรวจสอบนโยบายและแผนของภาครัฐในอนาคต

ระยะยาว เป็นกลไกตรวจสอบ ติดตามนโยบาย แผนงานพัฒนาของรัฐที่จะมีผลกระทบที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคเหนือตอนล่าง และร่วมขับเคลื่อนนโยบายของสาธารณะเชิงสร้างสรรค์ที่จะเป็นการ “ปกป้องแหล่งผลิตอาหารเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชน สังคมภาคเหนือตอนล่างๅ

นายมะลิ ทองคำเปลว ประธานเครือข่ายทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ภาคเหนือตอนล่าง  ได้แถลงข่าวถึง ข้อเสนอต่างๆ อาทิ

 

  1. ยุติการจับกุมดำเนินคดีกับประชาชน และทบทวนการดำเนินการตามคำสั่งคณะรักษความสงบแห่งชาติที่ 64/2557 และคำสั่งที่ 66/2557 และพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ในการดำเนินงานโดยมีการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการร่วมเป็นคณะกรรมการในทุก ๆ ระดับ  สอดคล้องกับหลักสิทธิชุมชน
  2. ให้ยกเลิกการสัมปทานเหมืองที่จะมีขึ้นในอนาคต และไม่ต่อสัญญาอาชญาบัตรพิเศษเหมืองทอง เหมืองแร่ และบ่อน้ำมันในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง
  3. ให้นำสาระเรื่องสิทธิชุมชน สิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่เคยมีการรับรองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาบรรจุในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และให้บทบัญญัติดังกล่าวมีสภาพบังคับทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีกฎหมายระดับรอง
  4. หากมีการดำเนินการจัดตั้งสภาเพื่อการปฏิรูปแห่งชาติเป็นที่เรียบร้อย พวกเราจะจัดตั้งให้มีสภาประชาชนภาคเหนือตอนล่างร่วมขับเคลื่อนการปฏิรูปขึ้น 1 คณะเพื่อดำเนินการประสานงานรวบรวมข้อเสนอความต้องการของประชาชน  เพื่อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติอย่างเป็นระบบ  ทั้งนี้โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

แสดงความคิดเห็น