อบรมครูยางแนะเกษตรกรทำอาชีพเสริม

2bวันที่ 28 ส.ค.2557 ที่โรงแรมอมรินทร์ลากูน อ.เมือง จ.พิษณุโลก นายทรงธรรม  จั่นทรัพย์ ที่ปรึกษาด้านการเกษตร สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เป็นประธานในการสัมมนาครูยาง โดยมีนายชัยวุติ มากสังข์ ผอ.สกย.พิษณุโลก และ นายถวิล คงเคว็จ  ผู้ช่วย สกย.พิษณูโลก ให้การต้อนรับพร้อมกับผู้เข้าร่วมรับการครูยางจังหวัดพิษณุโลก เพื่อเป็นส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาเกษตรกรชาวสวนยาง ทั้งในมิติการผลิต การแปรรูป การตลาด และการบริหารจัดการ ซึ่งการจัดการอบรมครั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมเป็นครูยาง ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนมีความรู้ความสามารถในทุกๆ ด้านเกี่ยวกับยางพารา และเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน3b

นายทรงธรรม  จั่นทรัพย์ ที่ปรึกษาด้านการเกษตร สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กล่าวว่า ปัญหาราคายางที่ตกต่ำขณะนี้หลายหน่วยงานกำลังหามาตรการช่วยเหลือ แต่ทางเกษตรกรนั้นก็ต้องช่วยเหลือตนเองด้วย เนื่องจากปัญหาราคายางตกต่ำจะมีเป็นประจำทุกปี ซึ่งทางสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ได้เปิดให้เกษตรกรที่สนใจต้องการหาอาชีพเสริมระหว่างรอผลผลิต สามารถกู้ยืมกองทุนได้ ไม่ว่าจะเป็นการค้าขาย หรือช่วยเหลือด้านต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางมีเงินเพียงพอในการเลี้ยงชีพและครอบครัว ไม่ต้องรอเงินจากการขายผลผลิตเพียงอย่างเดียว

นายทรงธรรม เปิดเผยอีกว่า นโยบาย สกย คือ สร้างองค์ความรู้ อบรมครูยางเพื่อไปเผยแพร่แก่เกษตรกรรายใหม่ ปัจจุบันมีครูยางทั่วประเทศ 12,000 คน สร้างเครือข่ายให้เป็นนิติบุคคล ตั้งเป็นสถาบันเกษตรกรแล้วกว่า 3,000 กลุ่ม4b

ปัญหาราคายางตกต่ำมีหลายปัจจัยประการแรก หากมองผิวเผินดูเหมือนว่า ปริมาณยางจะมีมากกว่าความต้องการ แต่ความเป็นจริงแล้ว คือ มีแต่ภาวะผู้จะขายยาง ฉุดทำให้ราคาตกต่ำ ยิ่งยางราคาตกก็ยิ่งให้ขาย ถ้าผู้ผลิตไม่อยากขาย ราคายางก็ขึ้น แต่ความเป็นจริงวันนี้ เหมือนคนอยากขาย ราคายางดิ่งฮวบ

ทั้งๆที่ ไทยคือ ผู้ผลิตยางพารา ควรรวมตัวกับมาเลเชียและอินโดนิเชีย เพื่อต่อรองเจรจากับประเทศอุตสาหกรรมผู้ใช้ยางพารามากกว่า  1a

แนวคิดและความมุ่งมั่นของ สกย  คือ ต้องการรวบรวมสต๊อกยางพาราไว้ โดยที่ไม่มีใครรู้ว่า มีปริมาณยางในมือเกษตรกรจำนวนเท่าใด เพื่อที่มีโอกาสกำหนดราคาตลาดเองได้  ขณะที่ประเทศสิงคโปรกับญี่ปุ่น ไม่มีวัตถุดิบยางพารา แต่กลับมีตลาดซื้อขายใหญ่ แต่ทำไม ไทยไม่เป็นศูนย์กลาง โดยรวมทั้ง 3 ประเทศผู้ผลิต และขยายไป 7 ประเทศกลุ่มประเทศ AEC

คสช.อนุมัติเงินไปแล้ว เพื่อให้สถาบันเกษตรกรกู้เงินในวงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 3,500 ล้านบาทกู้ไปทำโรงงานยางแท่ง ยางรมควัน ฯลฯ อีก 1,500 ล้านบาทไปเป็นเงินทุนหมุนเวียน ทำระบบแปรรูปโรงงาน

นอกจากนี้ยังมีเม็ดเงินอีก 10,000 ล้านบาทใช้สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรดูแลราคายางพารา  โดยที่เม็ดเงินทั้ง 2ก้อนจะเน้นเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มสถาบันเกษตรกรยางพารา

ผู้สื่อข่าวถามว่า ราคายางพาราจะลงไปกว่านี้หรือไม่ นายทรงธรรม กล่าวทิ้งท้ายว่า นโยบาย คสช.อัดฉีดเม็ดเงินผ่านโครงการข้างต้นเพื่อต้องการพยุงราคายางแผ่นดิบไว้ไม่ต่ำกว่า 60 บาทต่อกิโลกรัม ฉะนั้นราคายางไม่ควรลงถึง 50 บาทต่อกิโลกรัม —-

แสดงความคิดเห็น