วันที่ 26สิงหาคม 2557 ที่ห้องประชุม กองพลทหารราบที่ 4 ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อ.เมืองพิษณุโลก พลตรีคู่ชีพ เลิศหงิม ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 4 ในฐานะประธานในที่ประชุมปัญหาแนวเขตที่ดินกำแพงเมืองเก่า – คูเมืองพิษณุโลก ร่วมกับนายประทีป ศิลปเทศ ปลัดจังหวัดพิษณุโลกพร้อมอัยการจังหวัดพิษณุโลกเพื่อหารือข้อปัญหาและข้อเสนอแนะต่ างๆ จากตัวแทนสำนักศิลปกรที่ 6 สุโขทัย, วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก, ธนารักษ์จังหวัดพิษณุโลก, ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก หลังจากได้เชิญตัวแทนประชาชนผู้ เดือดร้อนจำนวน 8 รายประชุมก่อนหน้า 2 วันที่ผ่านมา
การประชุมวันนี้หน่วยงานต่ างๆ ได้หยิบหยกข้อกฎหมายของหน่วยงานงขึ้นมา แจงในที่ประชุมถึงหลักการและเหตุผลและทางออกต่างๆตาม แนวเขตที่ดินกำแพงเมืองเก่า – คูเมืองพิษณุโลก อาทิ การแก้ไขปัญหาตรวจสอบสิทธิ์บุคคลที่อยู่ก่อนหรือหลังกำแพงเมื องเก่า ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5, การเสนอข้อยกเว้นโบราณสถาน พ.ศ.2479 การเยี่ยวยาและเงินหากเวนคืน, การชะลอบังคับใช้พรบ.โบราณสถาน โดยประธานได้สั่งการในที่ประชุมให้รวบรวมปัญหาและนัดทั้ง 2 ฝ่ายมาประชุมเร็วๆนี้ เพื่อหาข้อสรุปอีกครั้ง
พลตรีคู่ชีพ เลิศหงิม ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 4 เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า หลังจากที่เรียกประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากแนวกำแพงเมืองเก่าจำนวน 8 รายมาให้ข้อมูลความเดือดร้อนเมื่อ 2 วันก่อน และวันนี้ ก็เชิญหัวหน้าหน่วยงานราชการที่ กำกับดูแลมาให้ข้อมูลต่างๆ เบื้องต้นได้รวมรวมปัญหาข้อขัดแย้งและข้อเสนอต่างๆ โดยที่ยังไม่มีข้อสรุปหรือข้อยุ ติใดๆ จากนั้นจะนำเรื่องเสนอต่อผู้บังงคับบัญชา คือ แม่ทัพภาคที่ 3 ซึ่งมีตำแหน่งเป็น”สนช”อีกด้วย จากนั้นค่อยนำเข้าสู่ขบวนการพิจารณาของรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งอาจต้องไปดูข้อกฎหมาย พรบ.โบราณสถาน 2479 ว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบั นหรือไม่
อนึ่ง สืบเนื่องจาก เมื่อ 24 ส.ค. 57 ประชาชนในย่านเขตร้านค้า ตัวเมืองพิษณุโลก ที่มีตึกอาคารพาณิชย์ย่านเศรษฐกิจตัวเมืองพิษณุโลกได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่อยู่ ในแนวเขตที่ดินกำแพงเมืองเก่า – คูเมือง พิษณุโลก ซึ่งเรื้อรังมาตั้งแต่ปี 2551 โดยกรมศิลปกรเตรียมประกาศเขตแนวกำแพงเมือง-คูเมืองพิษณุโลก โดยออกมา นสล. หรือ หนังสือสำคัญที่หลวงแทนโฉนด จึงสำรวจรังวัดเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (นสล.) ในพื้นที่กำแพงเมืองเก่า คูเมืองพิษณุโลกพร้อมๆกันเกือบ 10 จังหวัดในเขตเมืองเก่าต่างๆทั่วประเทศ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ปี พ.ศ.2479
แต่ประชาชนคนพิษณุโลกมีผู้ที่อยู่บนแนวสีเหลือง หรือ แนวกำแพงเมือง-คูเมืองพิษณุโลก ที่ปัจจุบันไม่มีสภาพแนวกำแพงเมืองคูเมืองโบราณของเมืองพิษณุโลกหลงเหลือแล้ว และมีเอกสารสิทธิที่ดิน จำนวน433 โฉนด ไม่เห็นด้วย ที่รัฐจะออกเป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแล้ว(นสล.) แทนโฉนดที่ถือครองอยู่หลายสิบปี โดยเฉพาะร้านค้าต่างๆบนถนนมหาธรรมราชาทั้งเส้นที่อยู่ในแนวกำแพงเมืองเก่า ขณะที่แนวเขตกำงแพงเมืองและคูเมืองพิษณุโลกที่ยังคงมีหลักฐานร่องรอยอยู่ และเห็นเด่นชัดที่อยู่อยู่ที่แนวกำแพงเมืองที่บริเวณวัดโพธิญาณ เนินแนวกำแพงดินที่ศาลปู่ดำ ( ถนนมหาธรรมราชา ) แนวกำแพงเมืองหลังชุมชนวัดน้อย ( ติดกับแม่น้ำน่าน ตรงข้ามพระราชวังจันทน์ ) และแนวคูเมืองตั้งแต่หลังค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดคูหาสวรรค์ หลังม.ราชภัฏพิบูลสงคราม ( ส่วนวังจันทน์ ) และบริเวณป้อมเพชร
——————-