วัดกำแพงมณีศูนย์รวมการเรียนรู้ทางโลกและทางธรรม

DSC_0382ในพื้นที่ อ.บางกระทุ่ม นั้น หากจะเอ่ยถึงวัดกำแพงมณี ซึ่งตั้งอยู่ใน ต.โคกสลุด อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก ต่างทราบกันดีว่าวัดกำแพงมณี เป็นศูนย์กลางแหล่งเพาะบ่มจริยธรรมและศีลธรรม รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของพุทธศาสนิกชน ที่จะเข้ามาเรียนรู้ศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมกันเป็นประจำ นอกจากจะเป็นวัดที่ส่งเสริมกิจกรรมทางพุทธศาสนาแล้ว วัดกำแพงมณียังเป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในด้านอื่นได้อีกมากมาย  ตลอดทั้งมีการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านภายในวัดกำแพงมณี  โดยใช้ศาลาการเปรียญหลังเก่า เป็นพื้นที่จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของเก่า  ซึ่งภายในจะมีการจัดสิ่งของโบราณ  มีทั้งคัมภีร์โบราณอายุนับร้อยปี บทสวดใบลาน  ข้าวของเครื่องใช้และเครื่องมือประกอบอาชีพของชาวบ้านในอดีต ถ้วยชามสังคโลก เครื่องมือหากินสมัยเก่า เครื่องทองเหลือง เครื่องบดยายุคเก่าที่หาดูยาก อุปกรณ์เครื่องมือล่าสัตว์ จับสัตว์น้ำ และสิ่งของอื่นๆอีกจำนวนมาก  DSC_0348ส่วนด้านนอกศาลายังมีการจัดแสดงเรือพื้นบ้าน เกวียน และวิธีการทอผ้าด้วย พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งนี้เกิดขึ้นจากความคิดของพระครูผาสุกิจวิจารณ์ เจ้าอาวาส ซึ่งภายหลังจึงได้รับการส่งเสริมตามโครงการศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนของกระทรวงวัฒนธรรม เพราะเป็นแหล่งสะสมของใช้สมัยก่อนที่หาดูได้ยากอีกแห่งหนึ่ง  เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เยี่ยมชมศึกษาหาความรู้  เพราะมีของเก่าแก่และของใช้โบราณหลากหลายชนิด และเป็นแหล่งศูนย์รวมให้ความรู้อีกจุดหนึ่งของวัดสำหรับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านภายในวัดกำแพงมณีแห่งนี้ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เกิดจากความร่วมมือกันของชุมชน ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา วัดและประชาชนที่ร่วมกันสืบค้นข้อมูลในท้องถิ่น และนำสิ่งของโบราณที่มีค่าและหายากมาเก็บเอาไว้รวมกัน อันเป็นการสร้างความสามัคคีและความภาคภูมิใจของท้องถิ่นเอง ตลอดทั้งประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น ในแต่ละยุคแต่ละสมัย สามารถจะเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้  เป็นสร้างแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชนที่พร้อมจะต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้มา เยือนด้วยความภาคภูมิใจ โดยเฉพาะผู้พิการทางวัดได้ให้ความสะดวกในเรื่องห้องสุขาที่สร้างรองรับโดยเฉพาะDSC_0447นอกจากนั้นวัดกำแพงมณียังมีจุดขายอีกหลายอย่าง อาทิ รูปปั้นยมบาลลงโทษผู้ก่อกรรมทำบาป ในรูปแบบต่างๆ และรูปเปรตผู้หญิงและเปรตผู้ชายที่ก่อกรรมทำเข็ญเอาไว้มาก จนต้องเกิดมาเป็นเปรต ทางวัดปั้นขึ้นเอาไว้เตือนสติผู้คนที่ชอบสร้างแต่ความชั่ว ตายไปเกิดเป็นเปรตรับเวรกรรม เป็นสิ่งเตือนสติให้ผู้ที่เข้ามาในวัดได้รู้จักบาปบุญคุณโทษ  เพราะหากก่อกรรมทำเข็ญกับคนอื่นจะได้รับโทษอย่างไรเมื่อตายไปแล้ว ซึ่งเป็นรูปปั้นที่สร้างความน่ากลัวเอาไว้ได้ไม่น้อย  และส่วนบริเวณรั้วโบสถ์ยังได้มีมุมปริศนาธรรม ที่หลายคนเข้ามาภายในวัดแล้วจะเห็นพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ตั้งรายรอบกำแพงโบสถ์ ซึ่งไม่เคยเห็นมีที่วัดไหนมาก่อน นับได้จำนวน 22 ปาง  เป็นอีกมุมหนึ่งของวัดที่ปั้นพระพุทธขึ้นมาเป็นปริศนาธรรม ก่อให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมพระพุทธรูปแต่ละปางจึงไม่เหมือนกัน และมีความเป็นมาอย่างไร  เพื่อคลายความสงสัย จึงต้องเข้าไปศึกษาและสอบถามที่มาที่ไปจากพระครูผาสุกิจวิจารณ์ เจ้าอาวาสวัด ผู้ที่อยู่เบื้องหลังทุกอย่างของวัด ซึ่งจะทราบรายละเอียดทุกอย่างโดยไม่ต้องสงสัย DSC_0406แม้ภายในวัดจะแหล่งได้ศึกษาธรรมะและเรียนรู้สิ่งต่างๆแล้ว วัดกำแพงมณียังมีห้องไอที สำหรับผู้ที่สนใจในการไขว้คว้าศึกษาด้านอินเตอร์เน็ต ซึ่งทางวัดได้จัดห้องคอมพิวเตอร์เอาไว้ให้เด็กนักเรียนที่ขาดแคลนด้านเทคโนโลยี เพื่อให้รู้ทันเหตุการณ์การณ์ในยุคปัจจุบัน เป็นหนึ่งเป้าหมายที่ทางวัดต้องการให้เยาวชนมีส่วนร่วมกับวัดมาขึ้น เพื่อให้เยาวชนของชาติ มีความรู้ทางด้านการศึกษา และยังเป็นส่วนสำคัญ ในการดึงเด็กและเยาวชนเข้าวัด เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังให้เยาวชนมีจริยธรรมและศีลธรรมอันดีงาม ตลอดทั้งผู้คนในชุมชนที่ต้องการเรียนรู้เทคโนโลยีสามารถเข้ามาได้เรียนรู้และศึกษาได้เช่นกันสิ่งสำคัญของพระครูผาสุกิจวิจารณ์ เจ้าอาวาสวัดกำแพงมณี มองเห็นว่าความสำคัญในการส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีความรู้ในด้านการศึกษาและเป็นอยู่ที่ดีจึงได้ เข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาวัดและชุมชน DSC_0439โดยมีการประสานงานร่วมมือกันกับหน่วยราชการ คณะสงฆ์ภายใน วัด และประชาชนที่อยู่รอบๆวัด ร่วมจัดกิจกรรมด้านๆต่างขึ้นภายในวัด จนหน่วยงานเห็นความสำคัญในบทบาทพระครูผาสุกิจวิจารณ์ เจ้าอาวาสวัดกำแพงมณีที่ทุ่มเทและเป็นกำลังสำคัญ ในจัดกิจกรรมส่งเสริมเกี่ยวกับพุทธศาสนาในด้านต่างๆ  จนวัดกำแพงมณีเป็นศูนย์กลางระหว่างวัดกับชุมชน โดยตั้งอยู่ในหลักเดียวกัน คือ ความเป็นอยู่ที่ดีตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักธรรมคำสั่งสอนพระพุทธศาสนา ประชาชนมีคุณธรรมและจริยธรรมที่สมบูรณ์ส่งผลให้สังคมชุมชนสงบสุขอยู่กันอย่างพอเพียง  มีความเอื้ออาทรต่อกัน สามารถพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้ DSC_0394อีกส่วนหนึ่งของวัดกำแพงมณีก็ คือ สำนักปฏิบัติธรรม ซึ่งห่างจากสถานที่วัดกำแพงมณีไปประมาณ 800 เมตร  เริ่มแรกมีนายทนง กลั่นกลาย นางสุภา กลั่นกาย เป็นผู้บริจาคที่ดิน เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ให้กับวัดกำแพงมณี  และนางรำพึง ภูมิผล ข้าราชการบำนาญ กรมไปรษณีย์ จังหวัดนนทบุรีได้ถวายพื้นที่ให้วัดที่บ้านโฉงใต้อีกจำนวน 2 ไร่ ต่อมา คุณจำนง อินพลอย ได้ถวายให้อีก จำนวน 3 ไร่ และทางวัดได้ซื้อเพิ่มอีก จำนวน 3 ไร่ จนสามารถสร้างเป็นสำนักปฏิบัติธรรมมาจนถึงทุกวันนี้  ซึ่งเป็นศูนย์ประพฤติปฏิบัติธรรมของประชาชน หรือนิสิต นักเรียนนักศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนโรงเรียนต่างๆในพื้นที่ใกล้เคียง จนทำให้พระครูซึ่งเป็นผู้ก่อผู้สร้างสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ 2 ของจังหวัดพิษณุโลก จึงได้มีการมอบปริญญากิตติมาศักดิ์ เป็น ดร.พระครูผาสุกิจวิจารณ์ ที่สร้างคุณงามความดีต่อสังคมส่วนรวมDSC_0356โดยภายในสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ 2 ของวัดกำแพงมณี  เมื่อเข้าไปสัมผัสด้านแรกจะพบกับคำสั่งสอนปริศนาธรรมนานาชนิด ที่ ดร.พระครูผาสุกิจวิจารณ์ จัดสร้างเอาไว้ อาทิ ” เราตายแล้ว “ซึ่งเป็นรากไม้ที่ตายแล้วถูกนำมาตั้งเอาไว้เตือนสติกับพุทธศาสนิกชน ว่าทุกคนจะตายเหมือนรากไม้รากนี้เช่นกัน หรือการนำตอไม้มาตั้งเอาไว้ และมีข้อความเขียนว่า “คนตายเหมือนดั่งตอไม้เช่นนี้” ภายในจะมีศูนย์ปฏิบัติธรรม จะมีพระพุทธาอิทธิฤทธิ์ขนาดใหญ่ตั่งตระหง่านอยู่กลางลานปฏิบัติธรรม ด้านข้างจะมี กุฏิ และที่พักปฏิบัติธรรม รวม 80 หลังไว้รองรับพระภิกษุและพุทศาสนิกชนที่จะมาร่วมปฏิบัติธรรม และรอบศูนย์ปฏิบัติธรรมจะมีสวนสมุนไพร ผักผลไม้กินได้DSC_0358ส่วนบริเวณริมแม่น้ำน่านด้านหน้าวัด ยังมีศูนย์การเรียนรู้เป็นเรือห้องสมุด ซึ่งเป็นเรือเอี้ยมจุ๊นที่พบจมอยู่ในแม่น้ำยมบริเวณบ้านกำแพงดินห่างจากวัดกำแพงมณีไปทางตะวันตกราว 2 กิโลเมตร ทางวัดจึงได้ให้ช่างไปชักลากขึ้นมา ก่อนบูรณะแล้วดัดแปลงเป็นห้องสมุด  ใช้เป็นสถานที่ค้นคว้าหาความรู้ และเป็นห้องเรียนพระพุทธศาสนาในวันอาทิตย์ของชุมชนDSC_0354ในอีกด้านหนึ่งของกลุ่มชาวบ้าน คืออาชีพจักสาน เพื่อสร้างรายได้จากการจักสานไม้ไผ่เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน โดยใช้เวลาว่างจากการทำไร่ทำนาหรือทำสวน ฝึกอาชีพจักสาน โดยมีนายทองสืบ ขำดำ อายุ 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 24/1 ม.6 ต.โคกสลุด อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก  ที่มีความรู้ในเรื่องจักสาน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยก่อนแนะนำในการจักสาน  สำหรับเครื่องจักสานที่ทำขึ้นจะมีทั้ง กระติ๊บ กระด้ง  สวิงจับปลา กะโล่  ตะแครง สุ่มปลา และไม้กวาดทางมะพร้าว และเครื่องใช้อื่นๆมาก DSC_0386สำหรับประวัติความเป็นมาของวัดกำแพงมณี  ในสมัยก่อนทางสัญจรไปมาสะดวกเพราะวัดอยู่ไกลกันมาก ชาวบ้านจึงได้ร่วมใจกันก่อสร้างวัดขึ้น มีชื่อเรียกว่า “ วัดสะพัดแกง ”  ซึ่งความเป็นมาของวัดสะพัดแกงนั้น สันนิษฐานว่า พระวัดด้านเหนือ และ พระวัดใต้ มาบิณฑบาตไม่ค่อยได้กับข้าว เนื่องจากพระวัดกำแพงดิน ได้บิณฑบาตข้าวและแกงไปหมด จึงเป็นที่มาของ “ วัดสะพัดแกง ” ในตอนนั้น วัดกำแพงมณี หรือ “ วัดสะพัดแกง ” เริ่มก่อสร้างและบูรณะใหม่ เมื่อวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 4 ปี กุน พ.ศ. 2491 ซึ่งมีพระครูสุตการวินิจ ( หลวงปู่ตุ๊ ) เจ้าอาวาสวัดโคกสลุด เป็นประธาน และกำนันสมบูรณ์ สังเที้ยม ได้ชักชวนประชาชนให้มาช่วยสร้าง โดยใช้ชื่อว่า “ วัดกำแพงมณีศรีสุทธาราม ” (ในตอนนั้นยังเป็นแค่สำนักสงฆ์)DSC_0376วัดกำแพงมณีเดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดกำแพงมณีศรีสุทธาราม” โดยการขอหนังสืออนุญาตให้สร้างวัด อาศัยความตามข้อ 3. แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 กรมการศาสนา ด้วยความเห็นชอบของกระทรวงศึกษาธิการ และ มหาเถรสมาคม อนุญาตให้ นายน้อย เนียมจันทร์ อยู่บ้านเลขที่ 23 หมู่ที่ 10 ตำบลโคกสลุด อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก สร้างวัดขึ้นที่บ้านโฉงใต้ หมู่ที่ 6 ตำบลโคกสลุด อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ภายในกำหนดตั้งแต่วันที่ 29 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ถึงวันที่ 28 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 โดยอธิบดีกรมการศาสนาเป็นผู้ออกหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดต่อมา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศตั้งวัดเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2524ตามที่นายน้อย  เนียมจันทร์ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด ณ หมู่ที่บ้านที่ 6 ตำบลโคกสลุด อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก นั้น บัดนี้ ผู้รับอนุญาตได้สร้างเสนาสนะขึ้นสมควรเป็นที่พักของพระภิกษุสงฆ์ได้แล้ว อาศัยความตามข้อ4 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 1  (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม  กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนามีนามว่า “วัดกำแพงดิน” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมีนายขุนทอง ภูมิรเดือน รัฐมนตรีช่วยการปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ออกหนังสือให้ เรื่อง ตั้งวัดในพระพุทธศาสนา และได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมา เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2535DSC_0373

ต่อมา ได้ขอเปลี่ยนแปลงชื่อ “ วัดกำแพงดิน ” ตั้งอยู่ที่บ้านโฉงใต้ หมู่ที่ 6 ตำบลโคกสลุด อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เป็น “ วัดกำแพงมณี ” เพราะชื่อวัดซ้ำกับ วัดกำแพงดินที่มีอยู่แล้ว ในตำบลกำแพงดิน อ.สามง่าม จ.พิจิตร ซึ่งอาณาเขตติดต่อกัน ทำให้เกิดความสับสนในการติดต่อราชการ และด้วยความเห็นชอบของเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงประกาศเปลี่ยนแปลงชื่อ “ วัดกำแพงดิน ” เป็น “ วัดกำแพงมณี ” ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยมีรองศาสตราจารย์ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามรับรอง ในการออกประกาศสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อวัดปัจจุบัน เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ปี พ.ศ. 2550 มีมติจากเถรสมาคม ครั้งที่ 9/2550 สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติ ที่ 230/2550 เรื่องขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพิษณุโลก มีด้วยกันทั้งหมดจำนวน 3 แห่งDSC_0369ในการประชุมมหาเถรสมาคม โดยเลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า “ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ ” ได้มีลิขิต ที่ จญ.น. 37/2550 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2550 แจ้งตามรายงาน พระธรรมปัญญาภรณ์ ปัจจุบัน พระพรหมโมลี เจ้าคณะภาค 5 ว่า พระราชธรรมคณี เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ได้พิจารณาคัดเลือกวัดที่เหมาะสม เพื่อขออนุมัติจัดตั้งเป็น สำนักปฏิบัติธรรมประจำหวังพิษณุโลก ตามระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดตั้งDSC_0429สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด พ.ศ. 2543 รวม 3 แห่ง คือ 1.สำนักปฏิบัติธรรมธรรมประจำจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ 1 ชื่อว่า สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ 1ตั้งอยู่ วัดสันติวัน ตำบลบึงพระ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก โดยมี พระครูสันติจันทคุณ เป็นเจ้าอาวาสวัดสันติวัน เป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ 2 ชื่อว่า สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ วัดกำแพงมณี หมู่ที่ 2 บ้านโฉงใต้ ตำบลโคกสลุด อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก โดยมี พระครูผาสุกิจวิจารณ์ เจ้าอาวาสวัดกำแพงมณี เจ้าคณะตำบลสนามคลี เป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม ส่วนสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ 3 ชื่อว่า สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ 3 ตั้งอยู่ที่ วัดสุดสวาสดิ์ ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก โดยมี พระครูประภัศร์โสตถิคุณ เจ้าอาวาสวัดสุดสวาสดิ์ เป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมDSC_0432

 

 

 

 

 

 

แสดงความคิดเห็น