พุทธศาสนิกชนร่วมถวายเทียนจำนำพรรษาวัดท่ามะปราง

DSC_0685เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 57 ที่วัดท่ามะปราง อ.เมืองพิษณุโลก พระธรรมมาธร อุดมศักดิ์ อุตมสักโก รักษาการเจ้าอาวาสวัด เป็นประธานสงฆ์  ในพิธีถวายเทียนจำนำพรรษาจากพุทธศาสนิกชน โดยในช่วงเช้ามีผู้สูงอายุในชุมชนท่ามะปราง และคณะครูและเด็กนักเรียนจากโรงเรียนสิ่นหมิน  ได้ร่วมกันนำเทียนจำนำพรรษามาถวาย พร้อมเครื่องไทยธรรม และกองผ้าป่าสามัคคี  เนื่องในวันเข้าพรรษาDSC_0684วันเดียวกันคณะครูอาจารย์ และนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 ได้ร่วมกันนำเทียนจำนำพรรษามาร่วมถวาย และปัจจัยไทยธรรม ทั้งนี้เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของชาวพุทธ และยังเป็นการสร้างให้เด็กรุ่นใหม่ สนใจในการประพฤติปฏิบัติตนเป็นพุทธมามะกะอยู่ในศีลในธรรมและความดีงาม ซึ่งเป็นประเพณีอันดีงามที่สืบทอดกันมานDSC_0678สำหรับความเป็นมาของวันเข้าพรรษา กล่าวเอาไว้ว่า ในยุคต้นพุทธกาลยังไม่มีการเข้าพรรษา ตลอดทั้งปีจะมีพระภิกษุไปเทศน์ ไปสอนญาติโยมที่ไหนก็ได้ หรือไม่ได้ไปเทศน์ไปสอนใคร  หรือว่าเห็นว่าที่ไหนมันเงียบสงัดดี เหมาะในการที่จะไปบำเพ็ญภาวนา ทำสมาธิก็จะไปที่นั่น ซึ่งอยู่ในเขตที่เป็นป่าเป็นเขา จึงต้องผ่านไปในชนบทโดยเฉพาะในฤดูฝน มีทำไร่ทำนาหว่านกล้า หรือลงพืชไร่เอาไว้ พระภิกษุเดินผ่านไป ย่ำกล้าพืชไร่  ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน   ทราบถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงกำหนดให้พระภิกษุ เมื่อเข้าพรรษา หรือเมื่อเข้าฤดูฝน ให้พระอยู่กับที่ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8 จนกระทั่งขึ้น 15 ค่ำเดือน11 ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ไม่ไปทำภาวนาที่ไหน ไม่ไปเทศน์โปรดใคร ถ้าใครต้องการให้โปรด เพื่อตัดปัญหาไม่ให้ชาวบ้านเดือดร้อนDSC_0686อีกมุมหนึ่ง พระองค์ทรงถือโอกาสที่เกิดเป็นปัญหานี้ ได้ทรงให้พระภิกษุอยู่ในวัดวาอาราม เพื่อที่จะให้พระใหม่ได้รับการอบรมจากพระเก่าได้เต็มที่ เพราะว่าจริงๆ แล้ว ในการอบรมถ่ายทอดศีลธรรม ถ่ายทอดธรรมวินัยให้แก่กันและกันนั้น ถ้าทำอย่างต่อเนื่อง ทำเป็นที่เป็นทางต่อเนื่องกันทุกวันทุกวัน อย่างนี้จะเป็นการดี การศึกษาธรรมะอย่างต่อเนื่องมีผลดีDSC_0683เพราะฉะนั้น พระองค์ก็เลยทรงกำหนดขึ้นมาว่า ให้พระภิกษุอยู่กับที่ในช่วงเข้าพรรษาอยู่ในวัด แล้วพระใหม่ก็ศึกษาหรือรับการถ่ายทอดธรรมะจากพระเก่า ส่วนพระเก่าก็ทำหน้าที่เป็นครูบาอาจารย์สอนพระใหม่อีกด้วย

 

แสดงความคิดเห็น