วันนี้ 23 พ.ค. 2557 ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ทางมหาวิทยาลับนเรศวรได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงครามและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระดับชาติอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2557 ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการนำทรัพยากรทางชีวภาพที่เปรียบเสมือนทรัพย่ากรแหล่งสุดท้าย รวมทั้งทำการสำรวจค้นหาสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ท้องถิ่นของไทยไปใช้ประโยชน์สร้างมูลค่าเพิ่ม
ภายในงานนอกจากจะมีการจัดการสัมมนาแล้ว ยังจัดให้มีการจัดนิทรรศการ ที่รวบรวมการค้นพบสายพันธุ์มีชีวิตใหม่ๆของนักวิจัยของสถาบันต่างๆในประเทศไทยที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดสร้างประโยชน์ในอนาคต และมีการเปิดตัวการค้นพบไส้เดือนดินยักษ์ของจุฬาภรณ์มหาวิทยาลัย ขนาดใหญ่ 4 ชนิดของประเทศไทย ที่ค้นพบในพื้นที่ จังหวัดสุรินทร์ ชัยภูมิ เชียงราย และจังหวัดกาฬสินธุ์
ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา รองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การขนพบไส้เดือนดิน ขนาดใหญ่ 4 ชนิด ถือเป็นเรื่องใหม่ของประเทศไทย ซึ่งไส้เดือนขนาดใหญ่นี้จะมีประโยชน์อย่างมากในเชิงเกษตรกรรม และระบบนิเวศน์ที่จะช่วยในการปรับปรุงดินในการเพาะปลูก รวมทั้งยังมีประโยชน์อีกมากมาย นอกจากไส้เดือนดิน ขนาดใหญ่ 4 ชนิด ยังมีการจัดรูปแบบไส้เดือนอีก 100 ชนิดที่แปลกๆ มาให้ชมอีกด้วย โดยเฉพาะไส้เดือนมีปีก หากินตามนาข้าว เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงการค้นพบสายพันธุ์มีชีวิตใหม่ๆของสถาบันอื่นๆ อย่างการค้นพบสายพันธุ์หิ้งห้อยแปลกใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือ ของมหาวิทยาลัยนเรศวรจำนวน 20 กว่าสายพันธุ์ รศ.ดร.วันดี วัฒนชัยยิ่งเจริญ รักษาการผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ กล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ศึกษาค้นคว้าชนิดของหิ้งห้อยในพื้นที่ภาคเหนือ พบว่า มีอีกกว่า 20 สายพันธุ์ใหม่ และยังไม่ได้ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ ซึ่งหิ่งห้อย ถือว่า เป็นการแสดงถึงระบบนิเวศวิทยาที่อุดมสมบูรณ์ หากพื้นที่ใดพบว่ามีหิ้งห้อยเยอะ ก็ถือว่าพื้นที่นั้นมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติที่ดี
ขณะที่ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น นั้น ได้มีการค้นพบ ไรน้ำสิรินธรหรือไรน้ำนางฟ้า โดย ศ.ดร.ละออศรี เสนาะเมือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ไรน้ำสิริธร ได้ค้นพบไรน้ำชนิดนี้มาตั้งแต่ปี 2530 เป็นสัตว์น้ำจำพวกกุ้งที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด ซึ่งพบในแหล่งน้ำธรรมชาติมานานแล้ว โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวบ้านเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า “ ตัวเหนี่ยว ” หรือ “แมงอ่อนช้อย ” หรือ “ แมงหางแดง ” หรือ “ แมงแงว ” หรือ “ แมงน้ำฝน ” โดยสามารถนำไรน้ำนางฟ้ามาประกอบอาหารได้ แต่ก็รู้จักกันอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากไรน้ำนางฟ้ามีวงชีวิตที่ไม่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี และยังเป็นอาหารที่สัตว์น้ำต่างๆชอบกินรวมทั้งมนุษย์ ทำให้พบเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆในแหล่งน้ำธรรมชาติ
ผู้ที่สนใจสัตว์น้ำที่หายากและแปลก ก็สามารถไปชมได้ที่งานประชุมวิชาการระดับชาติอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2557นี้
/////