ชาวตำบลหัวรอแห่เข้าร่วมประเพณีสลากภัต

3     

ที่ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก  พุทธศาสนิกชนแห่เข้าร่วมประเพณีสลากภัต ที่วัดใกล้บ้าน  โดยที่วัดบางพยอม ชาวบ้านกว่า 200 คน ได้จัดเตรียมได้จัดเตรียมอาหารคาวหวาน ผลไม้นำใส่สำรับอาหารหรือปิ่นโต เพื่อมาขอรับหมายเลขสลาก ก่อนนำอาหารที่เตรียมไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ตามหมายเลขที่ได้  ซึ่งการทำบุญดังกล่าวจะแตกต่างจากการทำบุญทั่วไป โดยประเพณีสลากภัต  เป็นประเพณีทำบุญที่คนในปัจจุบันไม่ค่อยรู้จักกันดีนัก  เพราะมิใช่ประเพณีใหญ่โตแบบตรุษหรือสารท มักจะทำตามบ้านที่นิยมเลื่อมใส หรือมีสิ่งของพอที่จะรวบรวมมาถวายพระหรือเข้าสลากภัตได้ก็จะจัดพิธีนี้ขึ้น โดยที่ผ่านมาวัดในพื้นที่ตำบลหัวรอมักจะจัดพิธีสลากภัตเป็นประจำทุกปี       4

     สำหรับ สลากภัต  หมายถึงอาหารที่มัคทายกถวายพระตามสลาก นับเข้าเป็นเครื่องสังฆทาน ในสมัยพุทธกาลพระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้ในคำสอนนิสสัยว่า  เป็นอดิเรกลาภส่วนหนึ่งถวายได้ไม่จำกัดกาล สุดแต่ศรัทธา สำหรับในปัจจุบันนิยมทำในฤดูที่มีผลไม้อุดมสมบูรณ์ ในระหว่างเดือน 6 จนถึงเดือน  เมื่อวัดใดจะจัดให้มีการถวายสลากภัต มัคทายกผู้เป็นหัวหน้าก็จะกำหนดวัดและหาเจ้าภาพด้วยวิธีการต่างๆเช่น ทำใบปิดไปปิดไว้หรือไปประกาศป่าวร้องหาเจ้าภาพร่วมผู้ใดต้องการเป็นเจ้าภาพก็แจ้งชื่อไว้ ครั้นถึงวันกำหนดผู้เป็นเจ้าภาพก็จะมีการเตรียมสำรับกับข้าว  และเครื่องไทยทานตามกำลังของตน เช่น หมาก เมี่ยง บุหรี่ ไม้ขีดไฟ หอม กระเทียม สบู่ แปรงสีฟัน  ข้าวสารน้ำตาล และน้ำอ้อย เป็นต้น ต่างก็จะนำมารวมกันไว้ในบริเวณวัดจากนั้นทายกผู้เป็นหัวหน้า ก็จะนำเบอร์มาติดที่สำรับกับข้าวของเจ้าภาพแต่ละรายแล้วเขียนเบอร์หมายเลขให้พระจับพระจับได้เบอร์อะไรของเจ้าภาพคนใดก็ไปฉันสำรับกับข้าวที่เจ้าภาพนำมา  ส่วนใหญ่ของที่เตรียมไว้จะพอดีระหว่างเจ้าภาพและพระที่นิมนต์มา ข้อสำคัญในการทำบุญสลากภัตก็คือ  เป็นการถวายทานแบบไม่เจาะจงตัวผู้รับเมื่อพระองค์ใดจับได้เบอร์ของเจ้าภาพ เจ้าภาพไม่ควรแสดงความยินดียินร้ายในผู้รับ   ก่อนที่จะมีการเส้นสลาก(จับสลาก)ก็จะมีการฟังเทศน์อย่างน้อย1กัณฑ์ต่อจากนั้นก็จะมีการยกของประเคนตามสลากเมื่อพระฉันเสร็จแล้วก็จะอนุโมทนาและให้พรเจ้าภาพก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเป็นอันเสร็จพิธี2

1

แสดงความคิดเห็น