รพ.พุทธชินราช รณรงค์ป้องกัน H1N1 หลังมีผู้เสียชีวิต 2 ราย

6

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 28 มี.ค. ที่ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพุทธชินราช อ.เมือง จ.พิษณุโลก เจ้าหน้าที่ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก ร่วมกับโรงพยาบาลพุทธชินราช จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 (H1N1) ให้แก่ประชาชนที่มาใช้บริการเพื่อเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจ และรู้จักวิธีการป้องกันอย่างถูกต้อง คือ ให้ล้างมือบ่อยๆ จนเป็นนิสัยก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่าย หรือหลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลีกเลี่ยงการใช้มือที่ไม่ได้ล้างสัมผัสบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะตา จมูก ปาก หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยและอยู่ในสถานที่มีคนอยู่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก

1

2

ทั้งนี้ จากรายงานพบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 H1N1 ทั้งประเทศแล้ว 18 ราย ในส่วนของจังหวัดพิษณุโลก มีผู้ป่วย จำนวนทั้งสิ้น 4 ราย และผู้เสียชีวิต 2 ราย ล่าสุดมีผู้ป่วย เป็นเจ้าหน้าที่งานเวชระเบียน โรงพยาบาลพุทธชินราช เสียชีวิตด้วยโรค H1N1 เมื่อวันที่ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา และขณะนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วยที่ยังรักษาตนเองอยู่ในโรงพยาบาล แพทย์ต้องเฝ้าระวัง ด้วยการนำผู้ป่วยแยกไปรักษาในห้องปลอดเชื้อ

9

สำหรับการจัดกิจกรรมดังกล่าว มีการประชุมบุคลากรทางการแพทย์ ให้ตระหนักและเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคไข้หวัดใหญ่ H1N1 เนื่องจากเป็นโรคที่ติดต่อกันง่ายมาก อีกทั้งรณรงค์ให้ประชาชนและผู้ป่วยที่มาใช้บริการ ได้รู้ถึงวิธีการป้องกันตนเองจากโรค ด้วยการกินของร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย หากเป็นไข้หวัด ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ของ สคร.9 และเจ้าหน้าที่ รพ.พุทธฯ มาร่วมทำกิจกรรมและให้ความรู้แก่ประชาชน

8

5

ทางด้าน นพ.สุชาติ พรเจริญพงษ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปี 2557 พบการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่กระจายในหลายจังหวัด โดยที่การป่วยเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่พบจำนวนผู้เสียชีวิตสูงขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจากผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วๆ ไป และไม่ได้ไปรับการรักษาในโรงพยาบาล หรือไม่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ จึงไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ดังนั้นควรให้แพทย์ผู้รักษาต้องเริ่มให้ยาต้านไวรัสเร็วขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และหอบเหนื่อย โดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ ถึงแม้ว่าอาจตรวจไม่พบความผิดปกติในปอดชัดเจน และไม่มีโรคประจำตัว เนื่องจากผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจพัฒนาไปสู่ภาวะปอดบวมรุนแรงและเสียชีวิตในเวลาต่อมาได้.

แสดงความคิดเห็น