มน. มอบ 6 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

พลเอกอูเต็งเส่ง
พลเอก อู เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2555 โดยมีผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 6,763 คน ประกอบด้วย ระดับปริญญาเอก 114 คน ปริญญาโท 1,490 คน และปริญญาตรี 5,159 คน ในวันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2556 ณ อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) กล่าวว่า สภามหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ประกาศเชิดชูเกียรติบุคคลที่มีคุณูปการแก่ชาติ เข้ารับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 6 ราย ได้แก่ พลเอก อู เต็ง เส่ง เข้ารับพระราชทานปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ นายกีตาร์ เอราวัณ เวจาวัน เข้ารับพระราชทานปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ นายบาเธอร์ อามิน อาทามิราโน ลุสโตร, เอฟ เอส ซี     เข้ารับพระราชทานปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ศาสตราจารย์ ดร. นักสิทธิ์ คูวัฒนาชัย                         เข้ารับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพลังงานทดแทน รองศาสตราจารย์ ดร.ประภา                  ลิ้มประสูตร เข้ารับประราชทานปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เข้ารับพระราชทานปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

กีตาร์
นายกีตาร์ เอราวัณ เวจาวัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

พลเอก อู เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งเป็นพลเรือนคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เป็นผู้นำประเทศที่ใช้รูปแบบการปกครองผสมผสานแบบการใช้อำนาจและระบบประชาธิปไตย โดยเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2556 องค์กร International Crisis Group (ICG) มอบรางวัลสันติภาพ “In Pursuit of Peace” แก่ประธานาธิบดี อู เต็ง เส่ง และได้รับมอบตำแหน่งประธานอาเซียน เมื่อปี พ.ศ. 2557 ภายใต้แนวคิดสำคัญคือ การก้าวสู่การเป็นประชาคมที่มีเอกภาพ เปี่ยมไปด้วยสันติสุขและความเจริญรุ่งเรือง

บาเธอร์ อามิน
นายบาเธอร์ อามิน อาทามิราโน ลุสโตร, เอฟ เอส ซี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

นายกีตาร์ เอราวัณ เวจาวัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในฐานะผู้ทรงคุณูปการที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย โดยนำประสบการณ์ที่ได้สั่งสมในการช่วยผลักดันประเทศสู่การลงทุนระดับนานาชาติได้อย่างยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน

OLYMPUS DIGITAL CAMERA
ศาสตราจารย์ ดร. นักสิทธิ์ คูวัฒนาชัย

นายบาเธอร์ อามิน อาทามิราโน ลุสโตร, เอฟ เอส ซี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ผู้มีคุณูปการด้านการศึกษาที่มีต่อประชาชนชาวฟิลิปปินส์ ด้วยประสบการณ์อันยาวนานกว่า 23 ปี นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน โดยมีแนวความคิดอันถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศที่ว่า “การพัฒนาคุณภาพชีวิตต้องควบคู่ไปกับการให้ความเสมอภาคทางด้านการศึกษา” โดยปี พ.ศ. 2547 นายบราเดอร์ อามิน ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขา Humane Letters จาก La Salle University เมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการยืนยันถึงปณิธานอันแน่วแน่ในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศฟิลิปปินส์ที่ยั่งยืน

ประภา
รองศาสตราจารย์ ดร.ประภา ลิ้มประสูตร

ศาสตราจารย์ ดร. นักสิทธิ์ คูวัฒนาชัย เป็นผู้ปฏิบัติงานระดับชาติหลายตำแหน่ง ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ที่สำคัญคือตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการวิจัยพลังงานชีวมวล สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ผู้แทนประเทศไทยในคณะกรรมการวิจัยพลังงานหมุนเวียนของอาเซียน และที่ปรึกษาองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ด้านพลังงานหมุนเวียน โดยปฏิบัติหน้าที่ในแอฟริกา อเมริกาใต้ สหรัฐอเมริการ ยุโรป และหลายประเทศในเอเชีย ทั้งยังมีผลงานตำราและงานวิจัยเกี่ยวกับด้านพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง

        รองศาสตราจารย์ ดร.ประภา ลิ้มประสูตร เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่มุ่งมั่นอุทิศตนในสาขาวิชาการพยาบาล เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมพยาบาลสาธารณสุขไทย และดำรงตำแหน่งกรรมการอำนวยการสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยหลายสมัย รวมทั้งเป็นประธานกรรมการพัฒนาหลักสูตรพยาบาลทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท เช่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสยาม รวมทั้งพัฒนาหลักสูตร สาธารณสุขดุษฎีบัณฑิต สาขาการพยาบาลสาธารณสุขและพยาบาลดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล

สุรินทร์
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ

        ธรรมศาสตราภิชาน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ผู้มีความมั่นคงในอุดมการณ์มีผลงานได้รับเชิดชูเกียรติเป็นธรรมศาสตราภิชาน ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างประเทศสมาชิกอาเซียนให้เข้าใจบทบาทและความร่วมมือซึ่งกันและกัน ในตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ที่เพิ่งสิ้นสุดวาระเมื่อ พ.ศ. 2555ทั้งได้รับการยกย่องให้เป็นมุสลิมผู้ทรงอิทธิพลที่สุดผู้หนึ่งในจำนวน 500 คนจากมุสลิมทั่วโลก

         นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดให้มีคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกรางวัลนักวิจัยดีเด่น เพื่อรับเข็มพระรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 4 ประเภทรางวัล ดังนี้ รางวัลไชยานุภาพ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.สมยศ พลับเที่ยง คณะวิทยาศาสตร์ รางวัลนักวิจัยดีเด่น ด้านการวิจัยเชิงวิชาการพื้นฐานจำนวน 3 ราย ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ระเบียน วังคีรี คณะวิทยาศาสตร์ Dr. Antonio                 De Felice วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน และ รองศาสตราจารย์ ดร.จารุภา วิโยชน์ คณะเภสัชศาสตร์ รางวัลนักวิจัยดีเด่น ด้านการวิจัยเชิงประยุกต์และเทคโนโลยี จำนวน 1 ราย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมพร เรืองสินชัยวานิช คณะวิศวกรรมศาสตร์ และรางวัลนักวิจัยดีเด่น ด้านการวิจัยที่สร้างประโยชน์สู่เชิงพาณิชย์หรือสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน จำนวน 1 ราย ได้แก่ ดร.วิสาห์ สุพรรณไพบูลย์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

แสดงความคิดเห็น