ภาพจิตรกรรมที่ยิ่งใหญ่ วัดนางพญา

IMG_0880วัดนางพญา จ.พิษณุโลก ได้นำเอาภาพเขียนสีน้ำมันเรื่องจากพระราชพงศาวดารสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นภาพจากวัดสุวรรณดาราราม ราชวรวิหาร พระอารามแห่งแรกของราชวงศ์จักรีโดยแท้ เดิมเป็นวัดของพระราชบิดา ในรัชการที่1 ชื่อวัดทอง ต่อมาสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325 ได้3ปีรัชกาลที่1 ทรงโปรดให้ ปฏิสังขรณ์ วัดทองที่ถูกทิ้งร้างหลังจากกรุงแตก ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเป็น

“วัดสุวรรณดาราราม” ตามชื่อพระราชบิดา(ทองดี)พระราชมารดา(ดาวเรือง)

ต่อมา พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ได้ทรงพระ ปฏิสังขรณ์ ในทุกๆรัชกาลIMG_0865

การนำภาพจำลองจากวัดพระอารามหลวงชั้นเอกดังกล่าวมิได้นำประวัติศาสตร์ของสมเด็จพระนเรศวรมาเล่าให้คนรุ่นหลังได้ทราบพระเกียรติคุณที่เกรียงไกรเพียงอย่างเดียว แต่หากศึกษาให้ดีจะได้รู้ประวัติศาสตร์ราชวงศ์จักรีของไทย รู้ถึงแนวคิด ความตั่งใจในผู้ริเริ่ม มุมมองของคนในสมัยนั้นที่ให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์และความถูกต้อง ของเรื่องราวและรายละเอียดของภาพแต่ละภาพ ทั้งยังนำเทคนิคการวาดภาพเหมือนที่มีหน้าตาลายเส้น,กล้ามเนื้อฯลฯ เขียน ด้วยสีน้ำมัน อิทธิพลจากตะวันตกมาผสมผสานเป็นจิตรกรรมไทยสมัยนั้นพระนเรศวร

สรุปความยิ่งใหญ่เพื่อเข้าใจง่ายๆตามข้อมูลจากแหล่งต่างๆดังนี้

–          การควบคุมปฏิสังขรณ์ ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องโดยสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ด้วยความพยายามให้เหมือนจริง การแต่งกายการทำศึก รายละเอียดต่างๆฯลฯ เช่นการทำศึกยุทธหัตถีบนหลังช้าง ไม่ควรมีผูกพระคชาธาร ควรผูกเครื่องมั่นหลังเปล่า มี3คน คนขี่คอถือของ้าว,คนกลางถือทวนเป็นผู้ช่วย ,ควาญท้ายถือของ้าวเป็นเป็นคนขับช้าง ผิดกับสมัยนี้ที่มีทรงเครื่องคชาธารมีพระแสงของ้าว,หอก,ทวน ศาสตราวุธ,มีเศวตฉัตร ทำเพื่อให้ดูยิ่งใหญ่สวยงาม ผิดจริงไม่ปลอดภัย

–          ในยุคสมัยนั้นได้ให้ความสำคัญต่อพระมหากษัตริย์และให้ภาพ

ตอนทำยุทธหัตถีพระนเรศวรเป็นหนึ่ง เขียนเหนือประตูทางออก แทนที่พุทธประวัติตอน“ชนะมาร”  แต่สมัยปัจจุบันนี้ให้ความสำคัญกับการประกาศอิสรภาพ ที่มักเขียนเหนือประตูออก

IMG_0885    เขียนภาพโดย พระยาอนุสาสน์จิตรกร(จันทร์ จิตรกร)โดยใช้สีน้ำมันแห่งแรกของไทย เทคนิคการวาดภาพเหมือนแบบตะวันตกสื่อถึงความพัฒนางานศิลปะไทย

ภาพนี้มีความสำคัญเปรียบเสมือนพงศาวดารที่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินทรงให้ความสำคัญและบันทึกบนผนังในพระอุโบสถ์ ในพระอารามหลวงของราชวงศ์จักรี แต่วัดนางพญา ของพิษณุโลกของเราได้จำลองมา เชื่อว่าคงไม่ง่ายที่จะขอพระราชทานอนุญาตหรือขั้นตอนคงต้องมี กว่าที่จะได้นำมาเขียนถ่ายทอดที่ผนังของอุโบสถ์ ด้วยผีมือช่างอีกยุคประมาณ   30ปีที่ผ่านมา จำลองเขียนได้เหมือน ผิดเพียงตำแหน่งภาพที่นำภาพตอนประกาศอิสรภาพไว้เหนือประตูกลางทางเข้า-ออก ทำอย่างสมเกียรติ เมืองพระราชสมภพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดของพระราชมารดาของพระองค์ พระวิสุทธิกษัตริย์

เรื่องราวที่คนไทยรุ่นหลัง โดยเฉพาะคนพิษณุโลกทุกๆคนควรบันทึก เข้าใจและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ  หากทางวัดนำความหมายหรือบันทึกผู้ริเริ่ม วัตถุประสงค์การนำมาของภาพจะช่วยเสริมเรื่องราวความยิ่งใหญ่ สื่อผ่านจิตรกรรมฝาผนัง ให้วัดนางพญา พิษณุโลกได้เป็นอย่างดีภาพรามในวิหารครบ

กล้าณรงค์  ภักดิ์ประไพ

รถรางนำเที่ยวเมืองพิษณุโลก

25 พฤศจิกายน 2556

 

แสดงความคิดเห็น