“อ่างเก็บน้ำคลองชมพู”

a03วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ถึงคิวของจังหวัดพิษณุโลก หนึ่งใน 35 จังหวัดที่คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำจะมาเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน ตามโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย ตามกำหนดการและเป้าหมาย ได้เชิญประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ เข้ามารับฟังแนวทางการวางระบบบริหารจัดการน้ำของจ.พิษณุโลกที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน และรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน ผู้อยู่ในพื้นที่ ที่หอประชุมศรีวชิรโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม อ.เมืองพิษณุโลก โดยคาดว่าจะมีชาวพิษณุโลกมาร่วมเทวีนี้ประมาณ 1,400 คน

a06

สำหรับพื้นที่ของจ.พิษณุโลกอยู่ในเขตลุ่มน้ำน่านและลุ่มน้ำยม ตามแผนออกแบบและก่อสร้างระบบบริหารจัดการน้ำ อยู่ในโมดูล A แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ได้แก่ โมดูล A 1 อ่างเก็บน้ำคลองวังชมพู ต.ชมพู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ความจุ 87.23 ล้านลูกบาศก์เมตร โมดูล A2 พื้นที่ปิดล้อม 2 แห่ง 1.เทศบาลนครพิษณุโลก 2.เทศบาลตำบลพรหมพิราม และ โมดูล A 3 พื้นที่แก้มลิงใน 5 อำเภอ ได้แก่ 1. อำเภอบางกระทุ่ม 6 ตำบล 2.อำเภอบางระกำ 5 ตำบล 3.อำเภอพรหมพิราม 9 ตำบล 4.อ.เมือง 9 ตำบล 5 อ.วัดโบสถ์ 2 ตำบล

 

ทั้ง 3 โมดูล ที่จะมาเปิดแนะนำและรับฟังความคิดเห็นจากชาวจ.พิษณุโลกนั้น ส่วนใหญ่แล้วยังไม่มีใครทราบข้อมูลที่แน่ชัด ว่ารูปร่างหน้าตา สิ่งก่อสร้าง และการออกแบบในแต่ละพื้นที่จะเป็นอย่างไร ด้วยดำเนินการโดยคณะบริษัทที่ปรึกษา ภาคเช้าจะมีการนำเสนอโครงการแต่ละจุด ภาคบ่ายจึงจะประชุมกลุ่มย่อยรับฟังความเห็นของภาคประชาชนa07

 

และดูเหมือนว่า อ่างเก็บน้ำคลองชมพู จะเป็นประเด็นที่ร้อนที่สุด สำหรับพื้นที่จ.พิษณุโลก เนื่องจากมีกระแสการต่อต้านของภาคประชาชนในพื้นที่ต.ชมพู มาอย่างต่อเนื่อง เมื่อภาครัฐตั้งเป้าจะสร้าง

 

คลองชมพู เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำน่าน มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ไหลลงผ่านหุบเขาและที่ราบของตำบลชมพู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ผ่านอ.วังทอง อ.บางกระทุ่ม และไหลลงสู่แม่น้ำน่าน เป็นลำคลองสายเล็ก สภาพโดยทั่วไปแล้ว ในช่วงหน้าฝนมักจะเกิดปัญหาน้ำป่าไหลหลากล้นตลิ่งคลองชมพู  สร้างผลกระทบในพื้นที่ต.ชมพู อ.เนินมะปราง ต.หนองพระ ต.ท่าหมื่นราม อ.วังทอง และต.เนินกุ่ม อ.บางกระทุ่ม ขณะที่ช่วงฤดูแล้งพื้นที่ปลายน้ำก็อยู่ในสภาพไม่มากนัก

0001

ในอดีต กรมชลประทาน ได้เคยศึกษาและออกแบบอ่างเก็บน้ำคลองวังชมพูมาแล้วร่วม 20 ปี บรรดิษฐ์  อินต๊ะ ผอ.โครงการชลประทานพิษณุโลก ระบุว่า แผนงานทั้งหมดที่บกอ.จะมาเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากประชาชนชาวพิษณุโลกในวันที่ 20 พย.นี้  ชลประทานก็ทราบข้อมูลเท่าที่ประชาชนจะได้รับทราบ เป็นการวางแผนแนวทางบริหารจัดการน้ำโดยกบอ. เฉพาะจุดที่ชลประทานเคยศึกษาไว้แล้ว คือ อ่างเก็บน้ำคลองวังชมพู อ.เนินมะปราง ที่กบอ.มีแผนสร้างขนาดความจุอ่างเก็บน้ำ 87.23 ล้านลูกบาศก์เมตรนั้น ใกล้เคียงกับที่กรมชลประทานเคยออกแบบศึกษาไว้ที่ 86 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นจุดเดียวกัน ในอดีต กรมชลประทานเคยจัดทำรายงานผลกระทบส่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ และนำเสนอผ่านคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมมาแล้วเมื่อปี 2548 แต่เนื่องจากอีไอเอมีอายุ 5 ปี ถ้าจะดำเนินการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองวังชมพู ก็จะต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่

 

อ่างเก็บน้ำคลองวังชมพูมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ลุ่มน้ำคลองวังชมพูแต่ละปี มีปริมาณน้ำท่า 150 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และสภาพหน้าฝน ก็จะประสบปัญหาน้ำหลากล้นตลิ่งเป็นประจำ ในฤดูแล้ง ก็จะมีผลกระทบด้านภัยแล้ง ถ้าสร้าง ก็จะช่วยเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ประมาณ 90,000 ไร่ ในเขตอ.เนินมะปราง อ.วังทอง แต่เนื่องจากอ่างเก็บน้ำคลองวังชมพูตั้งอยู่ในเขตป่า ถ้าสร้างก็จะส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ก็ต้องพิจารณาดูว่า เสียป่า แล้วประโยชน์ได้รับเป็นอย่างไร ถ้าเสียป่าแล้วผลประโยชน์มันได้น้อยก็ไม่ต้องสนับสนุน แต่ถ้าเสียป่า แล้วได้ผลกระโยชน์มาก ก็น่าสนับสนุน ขึ้นอยู่กับประชาชน ขอให้มาแสดงความคิดเห็นในเวทีนี้ ผอ.ชลประทานพิษณุโลก กล่าวa05

 

 

ขณะที่ในพื้นที่บ้านชมพู ต.ชมพู อ.เนินมะปรางนั้น กลุ่มชาวบ้านต่างให้ความสนใจกับการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นการบริการจัดการน้ำในวันที่ 20 พย.นี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ได้คัดค้านมาตลอดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ชลประทานเริ่มออกแบบและศึกษามานานแล้ว นายโม  คำคูน ประธานเครือข่ายอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำชมพู เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 พย.นี้ อำเภอเนินมะปราง ได้มาขอรายชื่อประชาชนที่บ้านชมพู ที่จะเข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นเรื่องจัดการน้ำ และสรุปว่าพวกเราจะไปเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น 10 คน ขณะที่ชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองชมพูนั้น ก็อาจจะเดินทางไปกันเองอีกจำนวนมาก

 

ประธานเครือข่ายอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำชมพู เผยว่า พวกเราคัดค้านการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองชมพูอย่างเต็มที่ เพราะส่งผลกระทบกับทุกสิ่ง ทั้งความหลากหลายทางธรรมชาติ พื้นที่ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงต้องสูญไป กระทบกับแหล่องอาศัยของสัตว์ป่า โดยเฉพาะจระเข้สายพันธ์น้ำจืดที่พบบริเวณที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำ และกระทบกับวิถีชุมชนชาวชมพู ที่อาศัยหากินกับผืนป่าบริเวณนี้ ทั้งหน่อไม้ เห็ด ผักหวาน ดอกกระเจียว และยังกระทบกับที่ทำกินที่อยู่อาศัยของชาวบ้านอีกร่วม 150 หลังคาเรือน ที่ทำกินและอยู่อาศัยบริเวณนั้น เรียกว่ากลุ่มบ้านเหนือ ไก้แก่กลุ่มผาขาม กลุ่มผาแก้ว กลุ่มน้ำดั้น และกลุ่มคลองหินฝน ที่สำคัญคือ พวกเราแทบไม่ได้รับทราบข้อมูลการดำเนินการใด ๆ ของภาครัฐเลย

 

a04

“ผลกระทบมันเยอะ อย่างไรผมก็ไม่ให้สร้าง มีมนุษย์หน้าไหนที่จะมาสร้างธรรมชาติทดแทนได้ จะย้ายธรรมชาติปลูกป่ามาทดแทน มันเป็นไปไม่ได้หรอกครับ” นายโม กล่าว

 

นายเชาว์  เย็นฉ่ำ เลขาธิการเครือข่ายอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำชมพู กล่าวว่า ถ้าเรารู้จักจัดการบริหารจัดการน้ำ มันไม่ต้องสร้างเขื่อนหรอก เขาน่าจะนำข้อแลกเปลี่ยนประชาพิจารณ์มาแลกเปลี่ยนกับชาวบ้าน นี่คิดจะสร้างอย่างเดียว ไม่เคยมีประชาพิจารณ์เลย อยากให้ทางจังหวัดส่งเจ้าหน้าที่ที่มาประชาพิจารณ์ชาวบ้านก่อน ถ้าสร้างเขื่อนแล้วได้ประโยชน์อะไร เสียประโยชน์อะไร จระเข้น้ำจืด ช้างป่า โป่งดิน จะไปอยู่ที่ไหน ระบบนิเวศน์เสียทั้งพื้นที่เลย เราต้องแลกเปลี่ยนกัน ถ้าสร้าง เราก็เผาเลย ไม่ยอม ชาวบ้านที่หากินในเขตนี้ 150 หลังคาเรือนจะไปอยู่ที่ไหน ที่อยู่ในเขตอุทยานฯ ควรตอบชาวบ้านให้ได้ก่อนa08

 

เครือข่ายอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำชมพู เป็นเครือข่ายชองกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ม. 3 ต.ชมพู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก มีประวัติการต่อสู้เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมายาวนาน ได้แก่ การต่อต้านโรงโม่หินในพื้นที่ตำบลชมพู กระทั่งมีเหตุการณ์รุนแรงยิงนายพิทักษ์  โตนวุธ เสียชีวิตที่ต.ชมพู เมื่อ 17 พฤษภาคม 2544 การต่อสู้ในอดีต ภาครัฐได้ยุติการดำเนินงานโรงโม่หินในพื้นที่ตำบลชมพู ไม่ต่ออายุสัมปทานบัตร และทุก ๆ ปี ในวันครบรอบการเสียชีวิตของนายพิทักษ์  โตนวุธ วันที่ 17 พฤษภาคม เครือข่ายฯและชาวบ้านตำบลชมพู จะมีนัดมาที่ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลกอย่างสม่ำเสมอ ทั้งเร่งรัดดคีติดตามจับผู้จ้างวานยิงนายพิทักษ์ การประกาศจุดยืน ไม่ต้องการให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองชมพู

อ่างเก็บน้ำคลองชมพู ตามข้อมูลของกรมชลประทานที่เคยศึกษาและออกแบบระบุว่า โครงการอ่างเก็บน้ำคลองชมพู   ที่ตั้งโครงการ ต.ชมพู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ( อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ) พิกัดโครงกา  : 47 QPU 830451 ระวาง 5142 พื้นที่รับน้ำฝน 342.50  ตร. กม.  ปริมาณน้ำท่า 150  ล้าน ลบ.ม./ ปี ปริมาณน้ำนองสูงสุด : 690  ลบ.ม./วินาที หัวงาน เขื่อนดินกว้าง 10 เมตร ยาว 1,100 เมตร สูง 49.50 เมตร ระบบส่งน้ำ  103,800 ไร่ (ฤดูฝน 103,800 ฤดูแล้ง 17,600) รายละเอียดดังนี้ พื้นที่ชลประทานตอนบน (ก่อสร้างระบบใหม่)จำนวน 35,500 ไร่  พื้นที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ จำนวน 1,800 ไร่ พื้นที่โครงการวัดตายม จำนวน 53,000 ไร่ และพื้นที่ท้ายโครงการ 13,500 ไร่ ความจุเก็บกัก  86.26 ล้าน ลบ.ม.ความจุใช้งาน  84.40 ล้าน ลบ.ม. ราคาค่าก่อสร้าง 1,302.71 ล้านบาท รายละเอียดดังนี้ เขื่อนและอาคารประกอบ  655.87 ล้านบาท  ระบบส่งน้ำ 400.85 ล้านบาท
ระบบระบายน้ำและป้องกันอุทกภัย   245.99 ล้านบาทa09

 

 

แสดงความคิดเห็น