เวลา 13.30 น.วันที่ 18 พฤศจิกายน 2556 ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหนือ จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2556 เรื่องเจาะลึกเศรษฐกิจปีม้า โอกาสมา และความท้าทายมี ที่ห้องคอนเวนชั่นฮอล โรงแรมท็อปแลนด์พลาซ่า อ.เมือง จ.พิษณุโลก โดยเชิญนักธรกิจ นักการธนาคารในเขตจังหวัดภาคเหนือเข้าร่วมสัมมนาจำนวนมาก โอกาสนี้ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษหัวข้อ แนวโน้มเศรษฐกิจการเงินกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจ
ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2556 ชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับปี 2555 ได้ปรับตัวเลขการเติบโตลง 3 ครั้งแลว เพราะปี 2555 ยังมีการลงทุนของภาคเอกชน ภาครัฐในการฟื้นฟูกิจการน้ำท่วมมหาอุทกภัยปี 2554 ขณะที่ผู้บริโภคได้ชะลอการใช้จ่ายลง ภาคธุรกิจก็ระมัดระวังการลงทุน ขณะที่อุปสงค์ตลาดต่างประเทศมีจะมีแนวโน้มฟื้นฟูแต่ก็ไปอย่างช้า ๆ ไม่เข้มแข็ง และปัจจัยการเมืองในประเทศ ก็มีผลต่อความเชื่อมั่นการลงทุนภาคธุรกิจชะลอการลงทุน
ส่วนปี 2557 ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยแนวโน้มจะเติบโตมากกว่าปี 2556 เศรษฐกิจยุโรป สหรัฐและญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้น แต่การคาดหวังพึ่งสินค้าส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเหล่านี้คงยากขึ้น การฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ง สหรัฐมีปัญหาด้านการคลัง ยุโรปก็ต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเสริมความเข้มแข็งทางการเงิน ส่วนญี่ปุ่นก็ยังต้องดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจให้ฟื้นฟูต่อเนื่อง ประกอบกับอัตราความว่างงานในสหรัฐและยุโรปมีสูง ความต้องการซื้อสินค้าก็มีจำกัด สินค้าส่งออกด้านเทคโลโลยีชิ้นส่วนอิเลคทรอนิค ประเทศฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ก็อยู่ในกลุ่มSUNSET ไปแล้ว การส่งออกของไทยไม่ได้อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของโลกที่มีความต้องการสมาร์ทโฟนมากกว่า
ดร.ประสาร เผยต่อว่า อยากให้ภาคธุรกิจมีความคาดหวังกับความเป็นจริง ไทยเราพึ่งเศรษฐกิจจากสหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่น แต่ต้องหาโอกาสใหม่ ๆ มาชดเชย โดยเฉพาะการลงทุนในอนุภูมิภาค ภาคเหนือนั้น โอกาสและความท้ายทายยังมี จุดยุทธศาสตร์ของพิษณุโลกและภาคเหนืออยู่ในเส้นทางระเบียงการเศรษฐกิจของอนุภูมิภาค เป็นจุดเชื่อมเส้นทางการค้าอิสต์-เวสต์ อิคอนิมิกคอริเดอร์ ยังสามารถทำการค้าและการลงทุนกับกลุ่มประเทศอาเซียนและจีนตอนใต้ที่มีประชากร 300 ล้านคน และมูลค่าการค้าชายแดน เป็นชี้ให้เห็นแล้วว่า การค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านเติบโตต่อเนื่อง ในปี 2552 มีมูลค่าการค้าชายแดน 41,000 ล้านบาท ปี 2555 มีมูลค่าการค่าถึง 79,000 ล้านบาท
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเผยต่อว่า ภาคธุรกิจนักลงทุน ยังมีโอกาสในการเตรียมความพร้อมและก้าวสู่ความสำเร็จ ได้แก่ การสร้างแบรนด์สินค้า การเดิมที่ไทยเป็นฐานในการรับจ้างผลิต ได้เกราะสิทธิประโยชน์ทางภาษี ค่าจ้างแรงงานถูก ที่ไม่สามารถเป็นจุดแข็งได้ ควรพัฒนาสินค้าสร้างแบรนด์ของตนเอง สินค้าของไทยได้รับการยอมรับจากประเทศเพื่อนบ้านสูงอยู่แล้ว มองหาแหล่งทรัพยากรการลงทุนในต่างประเทศที่เหมาะสม ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา นักธุรกิจไทยออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น ในหลากหลายอุตสาหกรรม และขนาดการลงทุนที่เล็กลง ไม่ใช่เฉพาะธุรกิจใหญ่ ๆ เท่านั้น ทั้งอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้า อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ บีโอไอก็มีมาตรการส่งเสริมให้ไปลงทุนต่างประเทศ แบงก์ชาติเองก็ผ่อนคลายกฎระเบียบให้ภาคธรกิจได้ไปทำการค้าในต่างประเทศได้มากขึ้น เช่น บุคคลธรรมดา เดิมจำกัดการลงทุนในต่างประเทศวงเงิน 100 ล้านบาท ก็ได้ผ่อนคลายลง สนับสนุนให้ภาคธรกิจใช้เงินสกุลท้องถิ่นและเงินบาทในการทำธุรกิจกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น สัปดาห์ที่ผ่านมาก็ออกกฏเกณฑ์ให้สามารถนำเงินบาทออกไปได้ 2 ล้านบาท จากเดิม 500,000 บาท นอกจากนี้ ภาคธุรกิจควรสร้างเครือข่ายธุรกิจร่วมกันเป็นเชิงกลยุทธ ช่วยสร้างจุดแข็งในการเจาะตลาดต่างประเทศ ทั้งธุรกิจเดียวกันและต่างธุรกิจ นอกจากจะช่วยรักษาฐานตลาดเดิมได้แล้วยังสามารถแข่งขันกับภาคธุรกิจจากต่างประเทศได้ด้วย เช่น ธุรกิจเครือข่ายโรงพยาบาล ทำธุรกิจร่วมกับธุรกิจท่องเที่ยวและสายการบิน