ในเมืองพิษณุโลกของเรามีวัดเก่าเล่ากาลในประวัติศาสตร์ที่เหลือสถาปัตยกรรมเช่นโบสถ์,วิหาร,ศาลาฯลฯ เก่าๆอายุเป็นร้อยๆปีอยู่หลายวัดและมีหลายวัดที่สร้างวิหารหรืออุโบสถ์ขึ้นใหม่ หรือบูรณะใหม่ก็อีกหลายวัด ทำให้ศิลปะหลายๆยุคสมัยมาผสมอยู่ในองค์ประกอบสถาปัตยกรรมของวัดนั้นจนบางทีคนรุ่นหลังหรือบางท่านอาจลืมคิดไปว่า นี่คนไทยทุกคนควรรู้หรือเปล่า เราจะไม่มีความภาคภูมิใจ ความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทยก็จะไม่มีเหลืออีกถ้าไม่มีใครสักคนช่วยถ่ายทอดและเรียนรู้ ลองหันมาสนใจสักนิดจะดีไม่น้อย อย่างน้อยรู้จัก ภาษาศัพท์ชื่อเรียกสถาปัตยกรรมก็ยังดีครับ เริ่มจากลำยองละครดังก่อนเลยครับ
ลำยอง เป็นไม้ปิดปลายระแนงรับกระเบื้องหลังคา เรียกเฉพาะส่วนที่ประดิษฐ์ให้ดูเหมือนลำตัวพญานาคเลื้อยคล้องไม้หัวแป ทอดตัวห้อยลงเบื้องล่างเป็นรูปคล้ายกริชชวา ตัวลำยองนี้บางช่างเรียกว่า นาคลำยอง ตัวลำยองนี้จะอยู่ที่จุดต่อของไม้ที่เป็นนาคสะดุ้งต่อกับไม้ตัวรวย
ตัวรวย ชื่อส่วนที่เป็นตัวไม้ปิดปลายระแนงรับกระเบื้องหลังคา แผ่นไม้นี้จะว่างตามตั้งโค้งแอ่นไปตามความโค้งของขอบลาดหลังคา ตัวไม้นี้หากประกอบเรือนพักอาศัยเรียกว่า ไม้ปั่นลม
ตัวรวยนั้นบางช่างเรียกว่า นาคสำรวยหรือ รวยระกา
รูปภาพองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมไทยที่สวยงามของวัดพิษณุโลกบ้านเรา
กล้าณรงค์ ภักดิ์ประไพ
รถรางนำเที่ยวเมืองพิษณุโลก
10 พฤศจิกายน 2556