เชิญชวนชาวพิษณุโลกแสดงความคิดเห็นแผนจัดการน้ำ

0001เวลา 09.00 น. วันที่ 7 พ.ย. 56 ที่โรงแรมวังแก้ว อ.เมือง จ.พิษณุโลก นายวัฒนะ กันนะพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดการสัมมนา รับฟังความคิดเห็นของสื่อมวลชนในจังหวัดพิษณุโลก ในโครงการเพื่อการออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุกภัยของประเทศไทย ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งทางสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพิษณุโลกจัดขึ้น โดยมีสื่อมวลชนในจังหวัดพิษณุโลกกว่า 70 คน มาร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ ทั้งนี้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถ่ายทอดสู่ประชาชน

นายวัฒนะ กันนะพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้นอกจากสร้างความรู้ความเข้าใจของสื่อมวลชนที่จะมีส่วนถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวให้กับประชาชนในวงกว้าง ยังจะได้เผยแพร่เชิญชวนให้ประชาชน มาร่วมประชุมในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 16.30 น.ที่หอประชุมศรีวชิรโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 1,400 คน ทั้งหน่วยงานระดับจังหวัด อปท ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สถาบันการศึกษา องค์กรภาคเอกชนทั้งนี้เพื่อนำเสนอรายละเอียดเนื้อหาแผนงานหลัก โครงการเพื่อการออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุกภัยของประเทศไทย ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้ง 9 โมดูล จะได้มีความเข้าใจตรงกัน การที่นำสื่อมวลชนมาทำความรู้ความเข้าใจจะช่วยให้มีการเผยแพร่ไปในแนวทางที่ภาครัฐจะจัดการบริการจัดการน้ำทั้ง ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อย่างเป็นระบบต่อไป

0002

นายบรรดิษฐ์  อินต๊ะ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลก เปิดเผยว่า การรับฟังความเห็นแผนบริหารจัดการน้ำที่พิษณุโลกและทั่วประเทศเป็นการดำเนินงานโดยคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ หรือ กบอ. ที่ให้บริษัทที่ปรึกษาออกแบบและรับฟังความคิดเห็นการบริหารจัดการน้ำท่วมอย่างยั่งยืนในพื้นที่ทั่วประเทศ ในส่วนของพิษณุโลกนั้น มีอยู่ในส่วนของโมดูล A ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่อยู่ในส่วนของลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน เฉพาะจ.พิษณุโลกมี 3 โมดูลหลัก ได้แก่ โมดูล A0 อ่างเก็บน้ำคลองวังชมพู ต.ชมพู อ.เนินมะปราง โมดูล A 2 พื้นที่ปิดล้อม 2 แห่ง คือ เทศบาลนครพิษณุโลก และเทศบาลตำบลพรหมพิราม โมดูล A3 พื้นที่แก้มลิงใน 5 อำเภอ ได้แก่ อ.บางกระทุ่ม 8 ตำบล อำเภอบางระกำ 5 ตำบล อำเภอพรหมพิราม 9 ตำบล อำเภอเมือง 9 ตำบล และอำเภอวัดโบสถ์ 2 ตำบล

 

นายบรรดิษฐ์ เผยต่อว่า แผนงานทั้งหมด ชลประทานก็ทราบข้อมูลเท่าที่ประชาชนจะได้รับทราบ เป็นการวางแผนแนวทางบริหารจัดการน้ำโดยกบอ. เฉพาะจุดที่ชลประทานเคยศึกษาไว้แล้ว คือ อ่างเก็บน้ำคลองวังชมพู อ.เนินมะปราง ที่กบอ.มีแผนสร้างขนาดความจุอ่างเก็บน้ำ 87.23 ล้านลูกบาศก์เมตรนั้น ใกล้เคียงกับที่กรมชลประทานเคยออกแบบศึกษาไว้ที่ 86 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นจุดเดียวกัน ในอดีต กรมชลประทานเคยจัดทำรายงานผลกระทบส่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ และนำเสนอผ่านคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมมาแล้วเมื่อปี 2548 แต่เนื่องจากอีไอเอมีอายุ 5 ปี ถ้าจะดำเนินการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองวังชมพู ก็จะต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่0003

 

อ่างเก็บน้ำคลองวังชมพูมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ลุ่มน้ำคลองวังชมพูแต่ละปี มีปริมาณน้ำท่า 150 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และสภาพหน้าฝน ก็จะประสบปัญหาน้ำหลากล้นตลิ่งเป็นประจำ ในฤดูแล้ง ก็จะมีผลกระทบด้านภัยแล้ง ถ้าสร้าง ก็จะช่วยเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ประมาณ 90,000 ไร่ ในเขตอ.เนินมะปราง อ.วังทอง แต่เนื่องจากอ่างเก็บน้ำคลองวังชมพูตั้งอยู่ในเขตป่า ถ้าสร้างก็จะส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ก็ต้องพิจารณาดูว่า เสียป่า แล้วประโยชน์ได้รับเป็นอย่างไร ถ้าเสียป่าแล้วผลประโยชน์มันได้น้อยก็ไม่ต้องสนับสนุน แต่ถ้าเสียป่า แล้วได้ผลกระโยชน์มาก ก็น่าสนับสนุน ขึ้นอยู่กับประชาชน ขอให้มาแสดงความคิดเห็นในเวทีนี้

 

ขณะที่ในพื้นที่บ้านชมพู ต.ชมพู อ.เนินมะปรางนั้น กลุ่มชาวบ้านต่างให้ความสนใจกับการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นการบริการจัดการน้ำในวันที่ 20 พย.นี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ได้คัดค้านมาตลอดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ชลประทานเริ่มออกแบบและศึกษามานานแล้ว นายโม  คำคูน ประธานเครือข่ายอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำชมพู เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 พย.นี้ อำเภอเนินมะปราง ได้มาขอรายชื่อประชาชนที่บ้านชมพู ที่จะเข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นเรื่องจัดการน้ำ และสรุปว่าพวกเราจะไปเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น 10 คน ขณะที่ชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองชมพูนั้น ก็อาจจะเดินทางไปกันเองอีกจำนวนมาก  __Page_04 __Page_06

 

ประธานเครือข่ายอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำชมพู เผยว่า พวกเราคัดค้านการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองชมพูอย่างเต็มที่ เพราะส่งผลกระทบกับทุกสิ่ง ทั้งความหลากหลายทางธรรมชาติ พื้นที่ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงต้องสูญไป กระทบกับแหล่องอาศัยของสัตว์ป่า โดยเฉพาะจระเข้สายพันธ์น้ำจืดที่พบบริเวณที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำ และกระทบกับวิถีชุมชนชาวชมพู ที่อาศัยหากินกับผืนป่าบริเวณนี้ ทั้งหน่อไม้ เห็ด ผักหวาน ดอกกระเจียว และยังกระทบกับที่ทำกินที่อยู่อาศัยของชาวบ้านอีกร่วม 150 หลังคาเรือน ที่ทำกินและอยู่อาศัยบริเวณนั้น เรียกว่ากลุ่มบ้านเหนือ ไก้แก่กลุ่มผาขาม กลุ่มผาแก้ว กลุ่มน้ำดั้น และกลุ่มคลองหินฝน ที่สำคัญคือ พวกเราแทบไม่ได้รับทราบข้อมูลการดำเนินการใด ๆ ของภาครัฐเลย

 

แสดงความคิดเห็น