หลวงพ่อเขียว วัดยาง

IMG_7847พระสัมฤทธิ์โกสีย์ นิยมเรียกกันว่า”หลวงพ่อเขียว” แห่งวัดยาง อ.เมือง จ.พิษณุโลก เป็นพระปางประทานอภัย สูง190 ซ.ม.เป็นศิลปะอยู่ในยุคอมราวดีเป็นสกุลช่างอินเดียผสมผสานกับสกุลช่างกรีก ช่วงระหว่าง พ.ศ. 663-863 ถือเป็นพระพุทธรูปยุคแรก(รวมยุคคันธาระ,ปาละและคุปตะ)จากสรุปพระพุทธรูปปฏิมากรรม ต่างๆมี9ยุค จึงเชื่อว่ามีความเก่าเป็นอย่างยิ่ง จากเนื้อพระที่เป็นสัมฤทธิ์ที่ผ่านกาลเวลาจนเกิดเป็นสนิมสีเขียวIMG_7860ขึ้นมา จึงเป็นที่มาของหลวงพ่อเขียวIMG_7859

พระสัมฤทธิ์โกสีย์ จากเอกสารเคยอยู่ในค่ายสมเด็จพระนเรศวรใต้ต้นโพธิ์เดิมมีซากปรักหักพังสัณฐานว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่พบพระ3องค์ปางมารวิชัย2องค์และปางยืนประทานอภัยชำรุดพระเกศดอกบัวตูมหลุดหายไปพระบาทสองข้างที่ยืนบนฐานหักจึงถูกจับพิงต้นโพธิ์ไว้ ภายหลังหม่อมเจ้าอลงกตให้ร้อยเอกพร้อม นำไปไว้ที่วัดยาง อ.เมือง จ.พิษณุโลก

ต่อมาทางวัดได้ทำการซ่อมพระบาทและฐานโดยเชื่อมเสริมเหล็กด้านหลังองค์พระ ทำพระเกศบัวตูมใหม่ใส่เข้าไป อาจทำให้ผิดจากศิลปะยุคอมรวดีไปบ้างIMG_7867

ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารขนาดย่อม ในวัดยาง จึงเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์จากอายุการสร้างพุทธศิลป์หรือตามความเชื่อของวัดว่าเกิดสมัยสมเด็จพระนเรศวรและความหมายของปางประทานอภัย ท่ายืนยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นหันไปด้านหน้าเสมอพระอุระ (คล้ายปางห้ามสมุทรมีความหมายเดียวกัน) ความหมายห้ามสรรพสิ่งชั่วร้ายเมื่อห้ามแล้วก็ให้อภัย หลวงพ่อเขียวยกพระหัตถ์ต่ำกว่าพระอุระจึงน่ามีความหมายว่าให้อภัยแล้วอย่ากังวลอย่าติดใจให้ลืมเสียเถอะ .IMG_7864

 

ปัจจุบันนี้ความศักดิ์สิทธิ์ที่มีคนที่ศรัทธาจากต่างจังหวัดมาสอบถามหาพระ”หลวงพ่อเขียว” เสมอๆมา

 

 

จากจดหมายระยะทางไปพิษณุโลกพระนิพนธ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  วันที่1มิถุนายน รศ.120 (พ.ศ.2444)  เช้า4โมง15นาที

ทรงขี่ม้าไปสุดถนนลงที่คลองบ้านคลอง

“… ที่ปากคลองมีวัดเรียกว่าวัดยาง แวะเข้าไปดูหน่อย ในหอไตรมีตู้4ใบ ใบหนึ่งรดน้ำเป็นเทวดายืน

ฝีมือเก่ามากหน่อย ใบหนึ่งรดน้ำเป็นเทวดาเดิน อีกใบรดน้ำเป็นเรื่องมือช่างทำที่กรุงเทพ อีกใบหนึ่งทองทึบ ตู้เหล่านี้ไม่มีฝีมือแปลกประหลาดอะไร แล้วไปดูโบสถ์และดูการเปรียญ ไม่มีอะไรแลการก่อสร้างก็ไม่สู้เก่า เป็นฝากระดานแปตะแคง…..”IMG_7833

นี่คือหลักฐานปักหมุดอย่างดีว่าวัดยางในครั้ง100กว่าปีมีสภาพเป็นอย่างไรแม้ว่าในข้อความว่าวัดนี้ไม่น่ามีอะไรที่น่าสนใจ แต่หากพินิจให้ดี สิ่งที่เจ้าฟ้าฯเจอผ่านกาลเวลามาเป็นถึงร้อยปี เป็นเอกสารประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลกของเราและควรตามหาและรักษาสิ่งที่ปรากฏในเอกสารทรงพระนิพนธ์

ไว้ นำมารักษาจัดแสดงให้ผู้สนใจและคนรุ่นต่อไปได้รู้จักประวัติฯ เพื่อบงบอกความยิ่งใหญ่ของพิษณุโลกบ้านเราIMG_7873

IMG_7870

สถานที่ตั้ง “วัดยาง”

ถ.ปราบไตรจักร อ.เมือง จ.พิษณุโลก  (ประตูหลัง โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวร)

การเดินทางจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ(หลวงพ่อพุทธชินราช) ข้ามสะพานนเรศวร(แม่น้ำน่าน)ไปทาง จ.สุโขทัย – ผ่านสีแยกวัดคูฯ -เลี้ยวขวาที่สี่แยกบ้านคลอง(สี่แยกไฟแดงที่สองจากสะพานนเรศวรฝั่งตะวันตก) ผ่านประตูค่ายทหารทางขวามือตรงข้ามโรงเรียนวัดยาง(มีมานะ)

 

ขอกราบขอบพระคุณ เจ้าฟ้า,เจ้าแผ่นดินฯที่บันทึกประวัติฯเมือง, เอกสารที่ได้จากวัด,หนังสือศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ พระราชวังจันทน์ ,หนังสือปางพระพุทธรูปและท่านที่บอกกล่าวเรื่องราวเก่าเล่ากาลให้กับกระผมทุกท่านที่ไม่สามารถเอยนาม

IMG_7894

กล้าณรงค์  ภักดิ์ประไพ

รถรางนำเที่ยวเมืองพิษณุโลก

31 ตุลาคม 2556

แสดงความคิดเห็น