ราคาที่ดินรอบต.บึงพระพุ่งพรวดรับรถไฟเร็วสูง

2นายวิโรจน์ จิรัฐิติกาลโชติ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือกรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า รถไฟความเร็วสูงถือเป็นการขนถ่ายคนต้นทุนต่ำ ปัจจุบันยังไม่ชัดเจนว่า เส้นทาง 5ทางเลือกของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ที่เก็บข้อมูลไปฟันธงเลือกเส้นทางใดทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล ล่าสุดตนได้รับเรื่องจากประธานหอการค้าจังหวัดแพร่ ให้ช่วยสนับสนุนให้หอการค้าไทยสนับสนุนและผลัดดันเลือกเส้นทางรถไฟความเร็วสู่ผ่านจังหวัดแพร่ ตนมองว่า หากเส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่านภาคเหนือก็ดีแล้ว สมมุติว่า รถไฟความเร็วสูงไม่ผ่านแพร่จริง
แต่เชื่อว่ารัฐบาลควรจะต้องผลักดันรถไฟรางคู่จากสถานีเด่นชัยตัดใหม่ขึ้นไปจ.เชียงรายแทน เพื่อเชื่อม อ.เชียงของในเป็นเขตการค้าขายแดน

ฉะนั้นความเป็นไปได้สูงที่รถไฟความเร็วสูงจะผ่านเมืองนครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก และรอตัดเส้นทางไปเชียงใหม่ โดยผ่าน อ.ศรีสัชชนาลัย จ.สุโขทัยด้วยเหตุผล พัฒนาเมืองมรดกโลก ผุดเศรษฐกิจเมืองใหม่ อีกทั้งค่าก่อสร้างไม่ต้องข้ามภูเขาและคดเคี้ยวตามเส้นทางเดิมเป็นการตัดทางรถไฟสายเหนือใหม่ในเฟส 2
หากรถไฟความเร็วสูงปักหมุดลงพิษณุโลก ก็เชื่อว่าอยู่ตอนใต้ของเมืองพิษณุโลก ไม่น่าใช้สถานีรถไฟเดิมเพราะเป็นเขตชุมชุนโดยที่สถานีบึงพระ ถือว่าห่างจากตัวเมืองไม่เกิน 10 กิโลเมตรเท่านั้นใกล้กับสนามบิน ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อตัวเมืองพิษณุโลกที่กระจายความเจริญออกไปและจะมีความสะดวกมากขึ้น หากภาครัฐ เตรียมระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบรางหรือรถยนต์ขนถ่ายเข้าตัวเมืองพิษณุโลก3

ส่วนกรณีพื้นที่ของราชพัสดุที่กองบิน 46 ของใช้พื้นที่ทางทหารนั้นเชื่อว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ให้การต้อนรับกับนักลงทุนรายใหม่โดยไม่ต้องใช้พื้นที่ของราชการ โดยให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างสถานีโดยที่รัฐไม่จำเป็นต้องซื้อที่ดินจำนวนมากแทน

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า กระแสรถไฟความเร็วสูงผ่านตัวเมืองพิษณุโลกในช่วงแรกๆช่วง 4-6 เดือนที่ผ่าน
เคยทำให้ราคาที่ดินทั่วเมืองพิษณุโลกเก็งกำไรมาแล้ว เรียกว่าปรับราคาขึ้นต่อเนื่องทุกสัปดาห์ จนล่าสุดปัจจุบันราคาเริ่มทรงๆ ตัวหลังจากราคาที่ดินถูกปั่นขึ้นไปสูงจนเกินความเป็นจริงเดิมที่ดินแปลงย่อยๆ หลังสถานีรถไฟซื้อขายกันไร่ละ 6 แสนบาท แต่ปัจจุบันราคาดีดขึ้นไปอัตราไร่ละ 2-3 ล้านบาท
ขึ้นอยู่ใกล้หรือไกลจากตัวเมืองทั้งนี้บางแปลงทำเลใกล้ตัวเมืองก่อนขึ้นสนานบินราคาที่ดินพุ่งเกือบ 5
ล้านบาทต่อไร่ ส่วนที่ดินห่างจากถนนใหญ่หรือกลางนา แถบสถานีรถไฟบึงพระปัจจุบันซื้อขายอัตราไร่ละ 5 แสนบาท

นายวิโรจน์ จิรัฐติกาลโชติ  กล่าวอีกว่า ตนในฐานะคนพิษณุโลก มองว่าการผุดสถานีรถไฟความเร็วสูงลงพื้นที่ใดภาครัฐควรมีระบบรางหรือระบบรถยนต์รองรับเชื่อมต่อไปในเมืองวางระบบจราจรให้เตรียมพร้อม ส่วนปัญหาที่ดินตนมองว่า ปัจจุบันราคาที่ดินแถบ ต.บึงพระ ถูกปั่นขึ้นไปสูง อัตราไร่ละ 5 ล้านบาท ถือว่า
สูงเกินไป ควรเหมาะสมในระดับ 3ล้านบาทต่อไร่ก็เหมาะสมเมื่อเทียบกับแหล่งทำเลทองในย่านต่างๆ
ของตัวเมืองพิษณุโลก

ขณะที่ข้อมูลจากเว๊ปไซด์ชื่อดัง pantip.com สำรวจความคิดเห็นรถไฟความเร็วสูง มีโอกาสลงภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งแต่ละความคิดนั้นส่วนใหญ่เห็นด้วย ตัวอย่างความคิดเห็น เช่น ภาคเหนือตอนล่างมีสนามบินแค่พิษณุโลก และสุโขทัย โดย นกแอร์ผูกขาด ทุกวัน มีสี่เที่ยวบิน ยังเต็มรถทัวร์วิ่ง พิษณุโลก-กทม 4-5 ชั่วโมง (ยกเว้นบางสายวิ่งเกือบ7 ชั่วโมง)ราคาสามร้อยกว่าบาท รถไฟความเร็วสูงน่าจะวิ่งสัก2-3 ชั่วโมง
และราคาไม่สูงมาก ถ้าแพงเกิน เพิ่มอีกไม่กี่ร้อยนั่งนกแอร์จะถึงเร็วกว่าค่าโดยสารควรอยู่ประมาณ 1,050บาทเพราะเครื่องบินกรุงเทพพิษณุโลก นกแอร์ปกติราคาประมาณ 1,200บาทหากต่ำกว่านกแอร์แล้วคนจะเลือกนั่งรถไฟความเร็วสูงเหตุราคาใกล้เคียงกันมาก ประเมินว่ารถไฟน่าจะใช้เวลาประมาณ2ชั่วโมง
ส่วนเครื่องบิน ใช้เวลาประมาณ40นาที (หากรวมเวลา check inด้วยก็ประมาณ1ชั่วโมง) ส่วนรถทัวร์กรุงเทพพิษณุโลก บขสVIP ราคาอยู่473บาท เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมงพิษณุโลกสรุปว่า คนพิษณุโลกมีกำลังซื้อสูง จนคาดไม่ถึง สายการบินนกแอร์เต็มตลอดเกือบทุกวัน โดยเฉพาะวันอาทิตย์เที่ยวสุดท้าย  หากเป็นรถทัวร์ VIPต้องจองแต่เนิ่นๆ ดังนั้น ถ้ารถไฟความเร็วสูงมา คนใช้บริการหนาแน่นแน่นอน ยกเว้น รถไฟความเร็วสูงไปสร้างสถานีไกลเกินไปคนพิษณุโลกชอบความสะดวกสบาย ขนาดรถทัวร์ ยังไม่ไปใช้ที่ บขส.
ยังมาขึ้นกันที่บริษัทเพราะมีข่าวว่า  1ใน 5 เส้นทางเลือก จะไปผ่านงที่อ.บางระกำ ถ้าไกลและเป็นจริงตามนั้น คงลำบาก รับรองอย่างไรไม่มีคนไปใช้บริการแน่ เชื่อมั่นว่า รถไฟความเร็วสูง
คงต้องอยู่ใกล้สนามบิน แถวๆย่าน ต.บึงพระอ.เมืองพิษณุโลกที่ห่างตัวเมืองออกไปเพียง 10 นาทีๅ

อย่างไรก็ตามการเลือกเส้นทางลงรถไฟความเร็วสูง คาดว่า เดือนกันยายนนี้การออกแบบเส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลกจะแล้วเสร็จพร้อมเสนอรายงาน EIA คาดว่าจะมีเมืองใหม่ 2 แห่ง คือ พิษณุโลกและนครสวรรค์ประเมินจากทั้งแนวทางเลือกทั้ง 5 แนว เส้นทางเลือกที่ 1 และ 2
มาผสมผสานกันมีความเป็นไปได้มากที่สุด คือสถานีบางซื่อ-พิษณุโลกใช้แบบเดียวกับแนวที่ 1 คือขนานไปกับแนวรถไฟเดิมช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ใช้แนวเดียวกันทางเลือกที่ 2 เมื่อผ่านจ.พิษณุโลกแล้ว จะตัดแนวใหม่ไปทางทิศตะวันตก มุ่งไป อ.ศรีสัชนาลัยจ.สุโขทัย บรรจบกับแนวรถไฟเดิมที่ ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลำปาง ผ่านจ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางรวม 669 กม. มี 12 สถานีได้แก่ บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลกสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ มีพื้นที่เวนคืน 2,700แปลง 7,724 ไร่ เงินลงทุน 431,393 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืน 10,814ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 420,579 ล้านบาทหากเป็นไปตามแนวดังกล่าวรถไฟจะใช้เส้นทางเดิมในเฟสแรกจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก
จะทำให้ก่อสร้างได้เร็ว ส่วนต่อขยายจากพิษณุโลก-เชียงใหม่เลือกตัดแนวใหม่เข้าไปยัง จ.สุโขทัย
เพราะอยากเปิดการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ และ อ.ศรีสัชนาลัยเป็นเมืองมรดกโลกจะหนุนการท่องเที่ยว

แสดงความคิดเห็น