ชาวแม่ตาวเฮ…ให้เป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม

0006เวลา 09.30 น.วันที่ 14 สิงหาคม 2556 ที่ห้องพิจารณาคดี 1 ศาลปกครองพิษณุโลก อ.เมือง จ.พิษณุโลก ศาลปกครองพิษณุโลกได้นัดหมายคู่กรณีมาฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 398/2552 ระหว่างสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ที่ 1 กับพวกรวม 32 คน ที่ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่ 1 คณะกรรมการควบคุมมลพิษที่ 2 คณะกรรมการพัฒนาที่ดินที่ 3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมที่ 5 อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ที่ 6 เป็นคดีฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ซึ่งคดีดังกล่าวได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองพิษณุโลกมาตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2552 หลังจากที่หน่วยงานภาครัฐที่ถูกฟ้องคดีดังกล่าว ปล่อยปละละเลย และใช้อำนาจอนุญาตให้มีเหมืองแร่สังกะสี ในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำของชาวบ้าน จนทำให้เกิดการแพร่กระจายของสารแคดเมียมกระจายไปในพื้นที่นาข้าวของชาวบ้านใน 3 ตำบล คือ ตำบลแม่ตาว ตำบลแม่กุ และตำบลพระธาตุผาแดง  อ.แม่สอด จ.ตาก ทำให้ผลผลิตนาข้าวของชาวบ้านปนเปื้อนด้วยสารแคดเมียม จนไม่สามารถทำนาได้ตามปกติ0002

 

กลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจาก 3 ตำบลในอ.แม่สอด ประมาณ 100 คน ได้เดินทางมารับฟังคำพิพากษา พร้อมกับนายนายศรีสุวรรณ  จรรยา  นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และสภาทนายความ ศาลปกครองพิษณุโลก ใช้เวลาอ่านคำพิพากษาตั้งแต่เวลา 09.30 น.-10.15 น. ได้อ่านคำพิพากษาระบุว่า ให้จำเลยที่ 1 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ดำเนินการกำหนดให้ พื้นที่ลุ่มน้ำแม่ตาว อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ภายใน 90 วัน นับแต่คดีถึงที่สุด ส่วนคำขอกรณีอื่นนั้นให้ยก ทั้งนี้ คำพิพากษาของศาลปกครองพิษณุโลก เป็นคำพิพากษาชั้นต้น ฝ่ายจำเลย สามารถใช้สิทธิ์ยื่นอุทรณ์ได้ภายใน 30 วัน

0005

หลังจากศาลปกครองอ่านคำพิพากษาเสร็จ กลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากสารแคดเมี่ยมปนเปื้อน ที่มาร่วมฟังคำพิพากษาวันนี้ ได้แสดงความยินดีกับนายศรีสุวรรณ  จรรยา  นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และสภาทนายความ หลังจากต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมมานาน

 

นายศรีสุวรรณ  จรรยา  นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และสภาทนายความ เปิดเผยว่า ถือเป็นชัยชนะชั้นต้นของชาวบ้านใน 3 ตำบล ในอ.แม่สอด จ.ตาก ที่วันนี้ ศาลปกครองพิษณุโลก ได้อ่านคำพิพากษาให้พื้นที่ลุ่มน้ำแม่ตาว เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม แม้ว่าคดีจะยังไม่สิ้นสุดก็ตาม เพราะคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ และอยากฝากขอวิงวอนให้ภาครัฐ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไม่ควรยื่นอุทรณ์ จะเป็นผลดีต่อชาวบ้าน หากเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม หากหน่วยงานยังจะอุทธรณ์ สมาคมโลกร้อน สภาพทนายความ และชาวบ้านจะต่อสู้ต่อ ต่อไป

0004

หากประกาศลุ่มน้ำแม่ตาวเป็นเขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หน่วยงานราชการทั้งหมด ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น ก็จะไปกำหนดแผน และมาตรการดูแลปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาคุณภาพชีวิต ตามพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 เป็นการเสริมสร้างให้เกิดความมั่นใจ อุ่นใจ ในการดูแลคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน

 

นายศรีสุวรรณ เผยต่อว่า คำพิพากษาวันนี้ เป็นผลดีชาวบ้านทั้ง 3 ตำบลกว่า 800 คนที่ได้ร่วมกันฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินกว่า3,000 ล้านบาทกับผู้ประกอบการเหมืองแร่ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ไว้แล้ว  บางคดีจะพิพากษาในวันที่ 29 กันยายน 2556 นี้

 

นายไพรัตน์  ยาเถิน ประธานกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากสารแคดเมี่ยม ต.แม่กุ ต.แม่ตาว ต.พระธาตุผาแดง เปิดเผยว่า วันนี้รู้สึกดี ที่ได้รับคำพิพากษาจากศาลปกครองพิษณุโลกวันนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อชาวบ้าน ที่ยื่นฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายที่จะมีการพิจารณาคดีที่ศาลกรุงเทพฯใต้ และหากประกาศเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมจะเป็นผลดีต่อชาวบ้านใน 3 ตำบล จะได้รู้ว่าพื้นที่ใดมีสารแคดเมี่ยมเท่าไหร่ อย่างใด ในพื้นที่ทำกิน ผู้ป่วย ก็จะได้มีโอกาสเยียวยาแก้ไขต่อไป

 

 

แสดงความคิดเห็น