เล็งสถานีรถไฟพิษณุโลกจุดจอดรถไฟเร็วสูง

DSC_0395วันที่   19 มิถุนายน 2556 พลตำรวจเอก วิเชียร  พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม  กล่าวในโอกาสเดินทางมาเป็นประธาน เปิดการสัมมนา “Thailand 2020 ก้าวใหม่ เชื่อมไทยสู่โลก” ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก ภายใต้แนวคิด “Thailand 2020 ก้าวใหม่ เชื่อมไทยสู่โลก” โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมทุกรูปแบบให้สามารถเชื่อมต่อระหว่างเมืองเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว และมีต้นทุนต่ำที่สุด โดยจัดนิทรรศการ และ การสมัมนา ในการจัดงานวันที่ 19-21 มิถุนายน 2556 หลังพิธีเปิดงาน มีเวทีสัมมนา “Thailand 2020 ก้าวใหม่ เชื่อมไทยสู่โลก” 0002

นายวัฒนา พัทรชมม์ รองอธิบดี ฝ่ายวิชาการ  กรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า  ในส่วนของกรมการขนส่งทางบก เตรียมการพัฒนาด้านสถานีขนส่งสินค้าในภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งวางไว้ 15 แห่ง สำหรับในภูมิภาคพื้นที่ภาคเหนือ กำหนดสร้างสถานีขนส่งสินค้าไว้  5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิษณุโลก  จังหวัดชายแดน 2 จังหวัด คือ อ.แม่สอด จ.ตาก กับ จ.เชียงราย คาดว่าจะดำเนินการได้ในปีนี้  สำหรับจุดที่จะตั้งสถานีขนส่งสินค้าอยู่ระหว่างการศึกษา เพราะจุดเหมาะสมต้องติดกับถนนทางหลวง  และต้องส่งสินค้าผ่าน ระบบรางได้b01

 

นายสุรชัย ศรีเลณวัณวัติ ผอ.สำนักแผน กรมทางหลวง กล่าวว่า การคมนาคมทางหลวงมีโครงการ 377 โครงการ งบประมาณ 241,080 ล้านบาท แบ่งเป็นรูปแบบการขนส่งต้นทุนต่ำ 23,290 ล้านบาท ศูนย์กลางการคมนาคมและส่งสินค้า จำนวน  105,590 ล้านบาท  และโครงการยกระดับความคล่องตัว 112,210 ล้านบาท ปัจจุบันทางหลวงเร่งรัดแผนการขยายถนน 4 ช่องจราจร 5,425 กิโลเมตร ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้วกว่า  2,900 กิโลเมตร ซึ่งถ้าไม่ได้งบประมาณเราจะใช้เวลาดำเนินการอีก 10 ปี

 

 

นายสิรภพ จึงสมาน ผอ.สำนักแผน กรมทางหลวงชนบท   กล่าวว่า โครงการที่อยู่ในงบ 2 ล้านล้านบาท ทางหลวงชนบท ได้รับงบประมาณ 58 โครงการ 34,309 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจร โครงการเชื่อมถนนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ ทางท่าเรือเชียงแสน ท่าเรือแหล่มฉบัง ส่วนพื้นที่ภาคเหนือมีเพียงโครงการที่ จ.อุตรดิตถ์ แผนการลงทุนทำสะพานและอุโมงค์ลดอุบัติเหตุ             25 แห่ง 5,771,250 ล้านบาท ซึ่งการก่อสร้างตามแนวทางรถไฟความเร็วสูง

0006

นายประเสริฐ อัตตะนันทน์ หัวหน้าธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาราชการแทนผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สถานีรถไฟความเร็วสูง เดิมกำหนดไว้จะสร้างที่บริเวณกองบิน 46 แต่กรมธนารักษ์ปฏิเสธไม่ให้ใช้พื้นที่อ้างว่า กระทรวงกลาโหม กองบิน 46 ใช้สถานที่ดังกล่าว 3,000 ไร่  เวลานี้ได้เตรียมแผนสำรอง โดยอาจใช้พื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงบริเวณจุดก่อสร้างรถไฟเดิม ซึ่งอาจมีข้อจำกัดเร่องพื้นที่และระบบการจราจรอยู่บ้าง หรืออาจใช้พื้นที่ร่นจากกองบิน 46 ลงไปทางทิศใต้ออกไปอีก 2 กิโลเมตร เป็นจุดตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงแทน อย่างไรก็ตาม จากนโยบายนายกรัฐมนตรี จะพิจารณาใช้ที่ดินของรัฐ เช่นกรมธนารักษา หรือที่สาธารณะในการตั้งสถานที่รถไฟความเร็วสูง พยายามเลี่ยงการเวนคืนที่ดินจากประชาชนให้ได้มากที่สุด

แสดงความคิดเห็น