วัดท่ามะปราง

942841_527522793974979_1081651833_n
วัดท่ามะปราง ภาพจากมุมสูงพิษณุโลก
เครนยกพระ
เครนยกพระประธาน ขณะบูรณะอุโบสถ

วัดท่ามะปรางจากหลักฐานและเรื่องราวปากต่อปากในอดีตมีการกล่าวถึงที่มาของชื่อวัดมากมายเช่นคำว่า“วัดท่ามะปราง” อาจจะกร่อนมาจาก”ท่าพระปรางค์” เป็นเรื่องของภาษา ที่พูดกันจนผิดเพี้ยนไป เหตุที่คนทั่วไปในอดีตที่ไม่มีเครื่องสื่อสาร ประชาสัมพันธ์  แต่วัตถุมงคล ความดังของความศักดิ์สิทธิ์ของพระท่ามะปราง สมัยรัชกาลที่5 พุทธคุณของพระที่ไปปราบฮ่อชนกลุ่มน้อยมี พวกเงี้ยว ลั่นไกแล้วปืนไม่ดังทิ้งปืนวิ่งหนี จนแพ้พ่ายยอมแก่ทหารรัฐบาลในสมัยนั้น จึงเป็นที่รู้จักแก่ผู้คนทั่วไป และเรียกพระกรุนี้ว่า”พระเงี้ยวทิ้งปืน”หรือ “พระกรุวัดท่ามะปราง”  พูดกันมากๆจนติดคำนี้ไป

พระนเรศวรอุ้มไก่
พระนเรศวรอุ้มไก่

แต่ยังมีหลักฐานสนับสนุนมากมายว่าเดิมชื่อวัด “ท่าพระปรางค์” จากจารึกหรือการเขียนชื่อวัดลงในภาชนะหรือของใช้ เช่น

– โอ่งดินเผาสีแดงที่สมบูรณ์จารึกชื่อบนขอบโอ่ง ว่า “…ปีพ.ศ.2496 วัดท่าพระปรางค์”

– ที่สำคัญปีพ.ศ.2475 มีการมอบแผ่นป้ายทำด้วยไม้สักทอง ป้านวงรีแกะอย่างประณีตยิ่ง แกะ ชื่อวัดท่าพระปรางค์ อยู่บนพานรัฐธรรมนูญ แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเป็นประชาธิปไตย ปัจจุบันยังมีป้ายนี้อยู่

– การออกหนังสือของทางวัดต่าง(ปี2511)ใช้คำว่า “ท่าพระปรางค์”

– ที่ชี้ชัดเจนว่าน่าจะชื่อ “วัดท่าพระปรางค์” คือการที่วัดได้มีพระปรางค์โบราณ(ปัจจุบันได้บูรณะฯ)ที่อยู่คู่มาแต่ดั้งเดิม

วิหารลื้อไป56 (1)
วิหารด้านหลังอุโบสถ ปัจจุบันได้รื้อออกไปแล้ว

มีอีกหลากหลายหลักฐานเรื่องรางเรื่องเล่าของที่มาของชื่อวัด ที่น่าศึกษาค้นคว้า และถือเป็นแหล่งเรียนรู้

หลักฐานที่เลือนหายไป ยังจะมีที่มาของประวัติฯความเก่าแก่ของวัดหรือบริเวณที่ตั้งวัดที่พอมีบันทึกอยู่ ซึ่งน่าคิด น่าศึกษาอาทิเช่น จากพระครูนิยมศีลาภรณ์ (อ.สำลี อดีตเจ้าอาวาสที่มรณะไปแล้ว)มีบันทึกว่าเมื่อครั้งสมัยสร้างอุโบสถ์หลังปัจจุบันนี้(พ.ศ.2511-12)บริเวณอุโบสถ์เดิมที่น่าจะมีความเก่าสมัยสุโขทัยตอนปลายจากเหตุที่อุโบสถ์เดิมชำรุดไม่สามารถบูรณะได้โดยทำการยกพระประธานเดิม ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย ที่ต้องใช้รถเครน ยกทำให้มีรอยร้าว กะเทาะองค์พระพุทธรูป มีการลอกเพื่อพอกปูนตกแต่งลงรักปิดทองใหม่ ปรากฏมีปูนลอกมาถึง2ชั้น ชั้นแรกลอก ชั้นสองมีสภาพผิวดีฟอก แต่ก็มีรอยกะเทาะให้พบชั้นในที่มีรากต้นไทรชอนไชห่อไว้แสดงถึงว่าเดิมที่นี่ต้องเคยเป็นวัดสร้างมาหลายยุคอาจเก่ากว่าสมัยสุโขทัย มีการบูรณะตามความเจริญของสมัยนั้นๆ

และมีการขุดใต้โบสถ์พบอิฐครึ่งวงกลมหนา3นิ้วกว้าง14นิ้ว น่าจะเป็นอิฐของเสายุคเดิมและบริเวณกำแพงแก้วพบกระเบื้องเคลือบที่มีการเคลือบที่ไม่เหมือน สมัยสุโขทัยน่าจะเก่ากว่า นี่คือเรื่องราวอารยะความเจริญของ

อุโบสถ์ก่อนติดเบญจรงค์
อุโบสถ์ก่อนติดเบญจรงค์

บริเวณวัด จวบจนมายุคปัจจุบันที่ทางวัดท่ามะปราง ได้พยายามบูรณะสร้างสิ่งต่างๆเพื่อความสะดวก,ให้ดีสวยงามตามยุคสมัยและกาลเวลา

 

ไม่ว่าวัดในยุคสมัยใดจะมีสิ่งปลูกสร้างสวยงามหรือยิ่งใหญ่แปลกหรือแตกต่างอย่างไร จะสร้างกันมาตามวัตถุประสงค์ใดเพื่อสิ่งใด แต่ในทางด้านศาสนามีวัตถุประสงค์การใช้อย่างชัดเจน คือการปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อการเผยแผ่ศาสนา วัดยุคใดก็ตามที่จะเป็นวัดได้อย่างสมบูรณ์คือ การที่มีพุทธศาสนิกชนเข้าไปทำกิจกรรมทางศาสนาและให้เค้าเหล่านั้นเข้าใจและปฏิบัติตามพุทธศาสนาด้วยความศรัทธา,ความมีสติและจากจิตใจอย่างบริสุทธิ์จริง

 

สิ่งที่สำคัญวัดปัจจุบัน

   พระปรางค์ขนาดย่อมคล้ายวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ ประดับกระเบื้องเบญจรงค์ที่หาชมได้ยากและได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากวัดบวรนิเวศวิหาร

โบสถ์ที่สร้างปี พ.ศ.2512 และปัจจุบันได้บูรณะ มีใบเสมาเก่า2ใบหน้าหลัง พระประธานที่สวยงาม กระเบื้องเคลือบเบญจรงค์ที่มีการเขียนเรื่องราวทศชาติ,เรื่องพุทธประวัติตอนปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ,ที่เสามีรูปนักษัตร,ด้านนอกมีเบญจรงค์ปั้นลายเรื่องพระนเรศวรทำยุทธ์หัตถี กระบวนท่าชองช้างศึก10 ภาพฯลฯ

อาคารอนุสรณ์72ปี พ.ศ.2547 พระครูนิยมศิลาภรณ์ฯมีรูปหล่อเจ้าอาวาสเดิมและพระเกจิหลวงตาขวัญดีที่โด่งดัง ,โบราณวัตถุมากมายที่รู้จักกันดีพระนเรศวรอุ้มไก่ที่มีความเก่าแก่,ชื่อเสียงพระกรุเงี้ยวทิ้งปืน,พระเครื่องบูชา ฯลฯ อนาคตทางวัดจะจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์

เจดีย์เก่า,ศาลาการเปรียญ,อาคารผลิตเครื่องเบญจรงค์และในบริเวณวัดเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเทศบาล3 วัดท่ามะปราง

 

วัดในปัจจุบัน
พระปรางค์ขนาดย่อมคล้ายวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ ประดับกระเบื้องเบญจรงค์ที่หาชมได้ยากและได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากวัดบวรนิเวศวิหาร

ขอขอบคุณ   ข้อมูลจาก เอกสารจากวัดท่ามะปรางและผู้ที่อยู่ในบักทึกอ้างอิง

เอกสารพิมพ์แจกในงานทอดกฐิน 2 พ.ย.2512 และคำบอกกล่าวผู้ให้ข้อมูลฯ

กล้าณรงค์  ภักดิ์ประไพ

รถรางนำเที่ยวเมืองพิษณุโลก

31 พฤษภาคม 2556

แสดงความคิดเห็น