เสวนาเจาะลึกประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์

0004วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2556 ที่พระราชวังจันทร์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก สถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดโครกงารบรรยายพิเศษและเสวนาในพื้นที่พระราชวังจันทน์  เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในโครงการ พระราชวังจันทน์ สถานภาพ องค์ความรู้ รูปลักษณ์สัณฐาน0003

0001

ศ.ดร.สุจินต์  จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยนเรศวรตระหนักถึงภารกิจด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการบริการวิชาการแก่สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยนเรศวร ใช้พระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงเป็นพันธกิจสำคัญในการรวบรวมภารกิจของพระองค์ท่าน ที่พระราชวังจันทน์เป็นสถานที่พระราชสมภพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และในอดีต ได้มีการศึกษาขุดค้นจำนวน 3 ครั้ง พร้อมมีแผนแม่บทพระราชวังจันทน์ในปีพ.ศ.2544 จากการศึกษาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าพระราชวังจันทน์ เป็นที่สนใจของนักวิชาการอย่างมาก ยังมีข้อถกเถียงในประเด็นต่าง ๆ อาทิ ลักษณะของพระราชวังจันทน์ การใช้พื้นที่ในพระราชวังจันทน์ ผลจากการขุดค้นของพระราชวังจันทน์ที่ค้นพบฐานพระราชวังจันทน์ทั้ง 3 ชั้น และฐานชั้นใดที่เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอย่างแท้จริง รวมถึงลักษณะรูปพรรณสัณฐานของพระราชวังจันทน์ในแต่ละยุคจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร0010

0005

ดร.วศิน  ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการสถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน มหาวิทาลัยนเรศวร กล่าวว่า โครงการพราชวังจันทน์ สถานภาพ องค์ความรู้ รูปลักษณ์สัญฐานกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2556 ประกอบด้วยการบรรยายพิเศษ และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เกี่ยวกับพระราชวังจันทน์ ราชสำนักเมืองพิษณุโลก พระราชวังจันทน์ในความทรงจำของคนพิษณุโลก การขุดค้น การขุดแต่ง แนวทางการพัฒนาและการบริหารจัดการ ตลอดจนภาพสัณฐานของพระราชวังจันทน์ โดยมีวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย อาจารย์พิเศษ  เจียจันทร์พงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี รศ.ดร.สมคิด  ศรีสิงห์ ผู้เชียวชาญด้านประวัติศาสตร์ไทย นางนาตยา  กรณีกิจ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย นายพีรพน  พิสณุพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย และศาตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ  เล็กสุขุม นักประวัติศาสตร์ศิลปะกด ระดับ ศ.11 สังกัดคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร0007

0008

ดร.วศิน เผยต่อว่า จากการจัดเสวนาประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ครั้งนี้ ทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระราชวังจันทน์ในอดีต และมีการเผยแพร่ข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบภาพ 3 มิติ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชวังจันทน์ในอดีตมากขึ้น โดยมีการเสวนาเชิงวิชาการ และลงพื้นที่จริง พร้อมกับชมศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์จังหวัดพิษณุโลก ที่ดำเนินการจัดสร้างในบริเวณศูนย์บริหารพื้นที่ป่านอนุรักษ์ที่ 11 พิษณุโลก ที่ปัจจุบันยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ก็เริ่มมีการจัดแสดงนิทรรศการด้านประวัติศาสตร์ของจังหวัดพิษณุโลก ข้อมูลการขุดค้นพระราชวังจันทน์ และแบบจำลองสัณฐานของพระราชวังจันทน์ในอดีต0006

0009

พระราชวังจันทน์ ตั้งอยู่ในกำแพงเมืองพิษณุโลก ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน  เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่ช่วงอยุธยาตอนต้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จพระราชสมภพที่พระราชวังจันทน์เมื่อพ.ศ.2098 กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อ 7 กันยายน 2539 โดยรวมโบราณสถานใกล้เคียง คือ วัดวิหารทอง วัดศรีสุคต วัดโพธิ์ทอง และสระสองห้อง รวมพื้นที่รวม 128 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา

แสดงความคิดเห็น