ขอใช้ที่ราชพัสดุในกองบิน46สร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง

0001 วันที่ 3 พฤษภาคม 2556 เวลา 09.00 น. ที่ โรงแรมอมรินทร์ ลากูน จังหวัดพิษณุโลก นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีเปิดงาน  สัมมนา รับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ ฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพ ฯ – พิษณุโลก เพื่อนำเสนอสาระสำคัญคือรูปแบบแนวเส้นทางเลือก พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และภาคประชาชน จากจังหวัดพิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก เข้าร่วมการสัมมนากว่า 300 คน

0005

แนวเส้นทางเลือกการพัฒนารถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ ฯ – เชียงใหม่ ประกอบด้วย 5 ทางเลือก คือแนวทางเลือกที่ 1 ขนานไปตามแนวรถไฟเดิม จากสถานีกลางบางซื่อ ผ่าน จ.ปทุมธานี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ลพบุรี จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก จ.อุตรดิตถ์ จ.ลำปาง จ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 677 กม. แนวทางเลือกที่ 2  ขนานไปตามแนวรถไฟเดิมเหมือนกับแนวทางเลือกที่ 1 จนถึง จ.พระนครศรีอยุธยา แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ ไปทางฝั่งตะวันตกไปบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายเดิมที่ อ.พยุหะคีรี สถานีปากน้ำโพ แล้วช้แนวเส้นทางใหม่  ไปถึง อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก จากนั้นตัดเข้าแนวรถไฟเดิม มุ่งสู่ อ.เมืองพิษณุโลก แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ด้านทิศตะวันตก มุ่งไป อ.ศรีสัชชนาลัย  จ.สุโขทัย และบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายเดิมที่ ต.กล้วยแพะ อ.เมือง   จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 639 กม.0008 แนวทางเลือกที่ 3 ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือก   ที่ 2 จนถึง  อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ จะใช้แนวเส้นทางใหม่ออกไปทางด้านทิศตะวันตกของ จ.นครสวรรค์ ผ่าน อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร และมาบรรจบกับแนวทางเลือกที่ 2 ที่ อ.เมือง จ.สุโขทัย ระยะทางประมาณ 610 กม.   แนวทางเลือกที่ 4  ขนานไปตามแนวรถไฟเดิมจนถึงวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกทางพิเศษหมายเลข 9 จากนั้นเบี่ยงออกไปทางทิศตะวันตกของตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ผ่าน  จ.อ่างทอง         จ.สิงห์บุรี จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ แล้วขึ้นเหนือตัดไป จ.สุโขทัย แล้วเบนออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  เข้าสู่อ.สบปราบ อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน ไปสิ้นสุดที่ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 597 กม. แนวทางเลือกที่ 5  ช่วงบางซื่อ-พิษณุโลก ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือกที่ 1 และช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือกที่ 2 ระยะทางประมาณ 669 กม. โดยการคัดเลือกแนวเส้นทางจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก ควบคู่กับการพิจารณาความเหมาะสมทั้งทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจและการเงิน และสิ่งแวดล้อม

0009

ทั้งนี้ จ.พิษณุโลกมียุทธศาสตร์สำคัญ ในการพัฒนาเมืองให้เป็น Service City และ Safe City เมื่อมีการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของระบบโครงสร้างพื้นฐานนำไปสู่การสนับสนุนเมืองสองแควให้เป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่ง ได้เป็นอย่างดี และเมื่อเปรียบเทียบราคาค่าโดยสารของรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ – พิษณุโลก มีราคาเพียง 760 บาท/เที่ยว แต่ถ้าใช้บริการเครื่องบินโลว์คอร์สจะมีค่าใช้จ่าย 2,390 บาท/เที่ยว

0006

นายปรีชา  เรืองจันทร์ ผวจ.พิษณุโลก กล่าวว่า วันนี้สนข.มารับฟังความคิดเห็นมีหลังจากนำเสนอ 5 เส้นทางเลือก สำหรับตนมองเห็นว่า ทางเลือกที่ 1 ที่ขนานไปตามแนวรถไฟเดิมผ่านจ.พิษณุโลก มีความเหมาะสมที่สุด และสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจ.พิษณุโลก ที่ครม.มีมติให้เป็นจังหวัดศูนย์กลางการคมนาคมการขนส่ง0003

 

ดร.พิเชฐ  คุณาคุณธรรมรักษ์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาการขนส่งระหว่างเมือง สนข. เปิดเผยว่า เป็นการรับฟังความเห็นครั้งสุดท้ายของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง สำหรับโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก หลังจากนี้ สนข.ก็จะดำเนินการสำรวจความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมระยะที่ 2 ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ต่อไป และนำผลการศึกษาทั้งหมด ทั้งผลกระทบสิ่งแวดล้อม ความเหมาะสม ความเห็นของประชุม เสนอต่อสนข.เพื่อพิจารณาความเหมาะสม ก่อนนำเสนอครม.พิจารณาต่อไป0002

 

ดร.พิเชฐ  เผยต่อว่า สำหรับเส้นทาง 5 ทางเลือกที่ศึกษานั้น เกือบจะ 90 % รถไฟความเร็วสูง เส้นทางจำเป็นต้องผ่านจ.พิษณุโลก ซึ่งต้องพิจารณาจากความเหมาะสมสูงสุด โดยแนวทางเลือกที่ 1 เส้นทางรถไฟเดิม ไม่ต้องเวนคืนที่ดินมาก ขณะที่สถานีพิษณุโลก ได้ศึกษา 3 จุด ได้แก่ 1.สถานีรถไฟบึงพระ 2.สถานีรถไฟพิษณุโลก และ 3.ที่ราชพัสดุภายในบริเวณกองบิน 46 พิษณุโลก ความเป็นไปได้เราจัดลำดับความสำคัญและความเหมาะสม 0006 (2)

แสดงความคิดเห็น