ผสมพันธุ์เทียมปลาเค้าขาวสำเร็จแห่งแรกของไทย

DSC_0109

เมื่อเวลา 10.00 น. ของวันนี้( 22 เม.ย.) ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก นายอุดมชัย อาภากุลอนุ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก พร้อมด้วย นายเมธา คชาภิชาติ นักวิชาการประมงชำนาญการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก ได้พาผู้สื่อข่าวชมบ่อเพาะเลี้ยงปลาเค้าขาวที่ ทางศูนย์ฯประสบความสำเร็จในการผสมพันธุ์เทียมปลาเค้าขาวแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีพ่อพันธุ์แม่พันธุ์รวมกันกว่า 22 ตัว จากนั้นได้พาชมบ่ออนุบาลปลาเค้าขาวที่ผสมเทียมสำเร็จ โดยใช้เวลาในการฟักเพียง 1 วัน

DSC03160

DSC02965
โดย นายอุดมชัย อาภากุลอนุ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก กล่าวว่า ทรัพยากรปลาเค้าขาวในแม่น้ำของจังหวัดพิษณุโลก กำลังประสบปัญหาจำนวนปลาที่ลดลงเนื่องจากปัจจุบันพื้นที่น้ำท่วมหลากลดน้อยลงส่งผลต่อการกระตุ้นปลาให้ผสมพันธุ์วางไข่ อีกทั้งเรื่องของสิ่งแวดล้อมและปลาเค้าขาวในธรรมชาติเป็นที่นิยมรับประทานมากขึ้น จึงมีการจับมาก ส่งผลให้จำนวนปลาเค้าขาวจึงลดลง ดังนั้นทาง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก จึงได้ทำการวิจัยเพาะพันธุ์ปลาและผสมเทียมปลาเค้าขาว จนในที่สุดประสบความสำเร็จ สามารถเพาะพันธุ์ปลาเค้าขาวด้วยวิธีผสมพันธุ์เทียมแห่งแรกของไทย และปล่อยคืนแหล่งน้ำ โดยเฉพาะที่เขื่อนแควน้อย และเขื่อนนเรศวร

DSC_0221

DSC_0227
ด้าน นายเมธา คชาภิชาติ นักวิชาการประมงชำนาญการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก กล่าวว่า ปลาเค้าขาว ที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด รสชาติดี มีราคาค่อนข้างสูง ลักษณะส่วนหัวมีขนาดใหญ่และยื่นแหลม ความยาวของหัวมากกว่าความยาวครีบอกและครีบก้น ตามีขนาดเล็กไม่มีเยื้อปิดตา ปากกว้าง มุมปากยาวเลยหลังตา ขนาดปกติจะมีขนาด 70-80 ซ.ม. จะผสมพันธุ์วางไข่ช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ซึ่งทางศูนย์ฯได้ออกทำการศึกษาและนำปลาเค้าขาวมาเลี้ยงจนมีความสมบูรณ์แข็งแรงและเริ่มผสมเทียมจนสำเร็จ สามารถผลิตลูกปลาความยาว 2 นิ้ว จากนั้นได้นำไปปล่อยลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก จำนวน 2,500 ตัว และมีแผนที่จะผลิตปล่อยปลาเค้าขาวภายใต้โครงการฟื้นฟูทรัพยากรพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำจืดของไทยปีละ 5.000 ตัว นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาวิธีเลี้ยงเพื่ออนาคตส่งเสริมเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ช่วงนี้ยังต้องศึกษาเพราะขั้นตอนการเลี้ยงปลาเค้าขาวจะลำบากมากในช่วงอนุบาล เริ่มแรกเตรียมส่งเสริมโครงการเพาะและอนุบาลปลาเค้าขาวในกระชังเพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาอาชีพเกษตรกร 11 หมู่บ้านรอบอ่างเก็บน้ำเพื่อเป็นรายได้และแหล่งโปรตีนแก่ประชาชน 1,400 ครัวเรือน

DSC_0135

DSC_0123
พร้อมกันนี้ ยังได้ทำการเพาะพันธุ์ปลาเค้าดำอีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันจำนวนปลาเค้าดำตามธรรมชาติเริ่มลดลงเช่นกัน ดังนั้นศูนย์วิจัยและพัฒนา

ประมงน้ำจืดพิษณุโลกก็ได้พัฒนาผสมพันธุ์เทียมด้วยเช่นกัน

DSC_0116

////

แสดงความคิดเห็น